Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 ร่าง พ.ร.บ.พัฒนาดิจิทัล เตรียมเข้า สนช. "ครม." ตีกรอบเงินกองทุนไม่เกิน 5 พันล้านซึ่งจะมีรายได้จากเงินอุดหนุนของรัฐบาล เงิน 25% ที่ได้จาก กสทช. และ เงินรายได้ของสำนักงาน(กสทช.) อีก 25%

ประเด็นหลัก







โดยการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ตามที่กฤษฎีกาเสนอมีดังนี้

1. การส่งเงินกองทุนเป็นรายได้แผ่นดินตามร่างมาตรา 22 วรรคสอง ได้กำหนดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้กองทุนมีเงินและทรัพย์สินในแต่ละปีงบประมาณไม่เกิน 5 พันล้านบาท เงินและทรัพย์สินของกองทุนที่เกินจากวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ ให้กองทุนนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจในการปรับเพิ่มวงเงินสูงสุดของกองทุนได้



2. องค์ประกอบคณะกรรมการบริหารกองทุนตามร่างมาตรา 25 ได้กำหนดองค์ประกอบให้เป็นไปตามร่างเดิมที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฤษฎีกา (คณะที่1) แล้ว

3. กำหนดกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุน ได้เพิ่มบทบัญญัติให้มีการเปิดเผยรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

การแก้ไขดังกล่าว เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่า การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับการใช้เงินตามกองทุนดังกล่าว อาจจะเกิดความไม่เหมาะสมได้ และอาจเกิดการแทรกแซงของภาคการเมือง จึงได้มีการกำหนดเพดานเงินกองทุน  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำกับกองทุนหน่วยงานอื่นๆ ที่มีการนนำเงินไปใช้โดยไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจนหรือส่อไปในทางทุจริตได้









____________________________



ร่าง พ.ร.บ.พัฒนาดิจิทัล เตรียมเข้า สนช. "ครม." ตีกรอบเงินกองทุนไม่เกิน 5 พันล้าน



พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(21 ก.ค. 2558) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ปรับปรุงแก้ไขร่างมาตรา 22 วรรคสอง และร่างมาตรา 25 ให้เป็นไปตามหลักการที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสังเกต ตลอดจนได้เพิ่มกลไกการตรวจการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ตามที่กฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

โดยการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. ตามที่กฤษฎีกาเสนอมีดังนี้

1. การส่งเงินกองทุนเป็นรายได้แผ่นดินตามร่างมาตรา 22 วรรคสอง ได้กำหนดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โดยกำหนดให้กองทุนมีเงินและทรัพย์สินในแต่ละปีงบประมาณไม่เกิน 5 พันล้านบาท เงินและทรัพย์สินของกองทุนที่เกินจากวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ ให้กองทุนนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจในการปรับเพิ่มวงเงินสูงสุดของกองทุนได้



2. องค์ประกอบคณะกรรมการบริหารกองทุนตามร่างมาตรา 25 ได้กำหนดองค์ประกอบให้เป็นไปตามร่างเดิมที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฤษฎีกา (คณะที่1) แล้ว

3. กำหนดกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุน ได้เพิ่มบทบัญญัติให้มีการเปิดเผยรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

การแก้ไขดังกล่าว เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่า การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับการใช้เงินตามกองทุนดังกล่าว อาจจะเกิดความไม่เหมาะสมได้ และอาจเกิดการแทรกแซงของภาคการเมือง จึงได้มีการกำหนดเพดานเงินกองทุน  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำกับกองทุนหน่วยงานอื่นๆ ที่มีการนนำเงินไปใช้โดยไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจนหรือส่อไปในทางทุจริตได้

สำหรับร่าง พ.ร.บ. นี้ มีสาระสำคัญคือจะมีการตั้งคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล พร้อมกับกำหนดให้ตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะมีรายได้จากเงินอุดหนุนของรัฐบาล เงิน 25% ที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เงินรายได้ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อีก 25%

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437550530

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.