Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 'เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล'ให้ถ้อยคำศาลปกครอง คดีฟ้องกสทช. ระบุ การมาวันนี้ไม่ได้มาเพื่อปิดทาง กสทช. แต่ให้ กสทช.เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาทั้งหมด เพราะเชื่อว่าไม่มีใครรอดหาก กสทช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ และสิ่งที่เลวร้ายคือ ประเทศไทยจะไม่ได้รู้จักทีวีดิจิตอลเพราะตอนนี้มีแต่ประเทศไทยที่มีการติดเสา 6 เมตร – 15 เมตรทั้งที่ความจริงไม่จำเป็น

ประเด็นหลัก












นางพันธุ์ทิพา กล่าวอีกว่า การไต่สวน จะแถลงต่อศาล 5 หมวด ถึงความผิดของ กสทช. เช่น ความผิดต่อแผนแม่บท ซึ่งแผนแม่บทเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดตาม และความผิดในการเชิญชวนสื่อต่างๆ ร่วมประมูลผ่านช่องทางการสื่อสาร ทำให้ผู้ลงทุนอยากร่วมลงทุน และให้คำมั่นว่าทั้งประเทศจะสามารถเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบบดิจิตอลได้ภายใน 1 ปี เป็นต้น ซึ่งเราได้จัดทำเอกสารส่งศาลแล้ว

"การมาวันนี้ไม่ได้มาเพื่อปิดทาง กสทช. แต่ให้ กสทช.เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาทั้งหมด เพราะเชื่อว่าไม่มีใครรอดหาก กสทช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ และสิ่งที่เลวร้ายคือ ประเทศไทยจะไม่ได้รู้จักทีวีดิจิตอลเพราะตอนนี้มีแต่ประเทศไทยที่มีการติดเสา 6 เมตร – 15 เมตรทั้งที่ความจริงไม่จำเป็น หากมีคำตอบที่ดีจาก กสทช.ทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ ในแง่ของธุรกิจ ก็สามารถทำต่อได้ " นางพันธุ์ทิพา กล่าว



____________________________



'เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล'ให้ถ้อยคำศาลปกครอง คดีฟ้องกสทช.


"พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย"พร้อมทนาย ให้ถ้อยคำศาลปกครอง ไต่สวนคำขอคุ้มครองชั่วคราวคดีฟ้อง"กสทช."

ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ-นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชยหรือติ๋ม ทีวีพูล กรรมการผู้มีอำนาจบริษัทไทยทีวี จำกัด ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ประเภทช่องรายการข่าวและสาระ เดินทางมาพร้อมกับนายสุชาติ ชมกุล ทนายความและคณะ เพื่อให้ถ้อยคำในคดีดำหมายเลข 1164/2558 ที่นายสุชาติ ศรีวรกร ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวนคดี ได้นัดไต่สวนบริษัท ไทยทีวีฯ ผู้ฟ้องคดี และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ถูกฟ้องคดี เพื่อพิจารณาคำร้องขอกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของบริษัท ไทยทีวีฯ ที่ผู้ฟ้องขอให้ศาลสั่ง กสทช. ผู้ถูกฟ้อง ระงับการดำเนินการใดๆ ตามหนังสือค้ำประกัน 16 ฉบับ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดี หรือมีคำสั่งจนถึงที่สุด เนื่องจากผู้ฟ้อง เกรงว่า บริษัท ไทยทีวีฯ ผู้ฟ้องจะต้องถูกบังคับเอาหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเป็นที่ดินของบริษัท และที่ดินอื่นอีกหลายแปลง นำไปขายทอดตลาด แล้วหากภายหลังศาลมีคำพิพากษาให้บริษัทชนะคดีที่ฟ้อง ก็ยากที่จะเยียวยาในการนำทรัพย์สินกลับคืนมาในภายหลัง

โดยคดีนี้ บริษัท ไทยทีวีฯ ได้ยื่นฟ้อง กสทช. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา เรื่อง กระทำการโดยมิชอบ ละเลยต่อหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหาย จากกรณีที่ กสทช.ละเลยต่อหน้าที่ในการปฏิบัติตามแผนแม่บทแม่บทกิจการวิทยุโทรทัศน์ ทั้งเรื่องการขยายโครงข่ายสัญญาณทีวีดิจิตอลที่ล่าช้า รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ และผิดต่อ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 บริษัท ไทยทีวีฯ ผู้ฟ้อง จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนหนังสือของ กสทช. เรื่องการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และห้ามกสทช.ดำเนินการใดๆ เพื่อบังคับตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 10 ก.พ. 57 รวม 16 ฉบับ และให้ กสทช. คืนหนังสือค้ำประกันให้กับ บริษัท ไทยทีวีฯ ด้วย รวมทั้งให้ กสทช.คืนค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่พร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวน 365,512,000 บาท และค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยอีกจำนวน 713,828,282.94 บาท และขอศาลมีคำสั่งให้การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลประเภทบริการธุรกิจระดับชาติของ กสทช. เป็นโมฆะ

ก่อนการไต่สวนนางพันธุ์ทิพา หรือติ๋ม ทีวีพูล กรรมการผู้มีอำนาจบริษัทไทยทีวี จำกัด กล่าวว่า กสทช. ให้เวลาขึ้นตัวหนังสือวิ่งเรื่องการยุติการออกอากาศของบริษัท ไทยทีวีฯ 30 วันก่อนการยุติออกอากาศเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับประชาชน ซึ่งจะครบกำหนดการออกอากาศในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 25ก.ค. นี้ ถือเป็นการยุติการออกอากาศของช่องไทยทีวีในระบบดิจิตอลในส่วนของกฎมัสแครี่ แต่ในส่วนของดาวเทียมและเคเบิลช่อง 7 ยังคงออกอากาศเหมือนเดิมเพื่อให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด ซึ่งการยุติการออกอากาศดังกล่าวเป็นคำสั่งของ กสทช.วันนี้ในการไต่สวนรอฟังว่า กสทช.จะเปิดโอกาสหรือไม่อย่างไร เพราะเราเองก็ไม่ได้อยากฟ้อง แต่มีความเสียหายเกิดขึ้น และไม่ได้สู้เพื่อตัวเอง แต่อยากให้ กสทช.รู้จักหน้าที่และบทบาทของตนเอง เพราะตนเชื่อว่าไม่ใช่แค่ช่องไทยทีวีช่องเดียวที่เสียหาย ยังมีเจ้าอื่นที่เสียหายอีก โครงการดิจิตอลที่เกิดขึ้นส่วนตัวเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี หาก กสทช.สามารถปฏิบัติตามที่ข้อตกลงที่ให้ไว้ ส่วนข้อเสนอที่ กสทช.เคยเสนอเรื่องการปรับลดสัดส่วนการถือหุ้น หรือการชวนพันธมิตรร่วมลงทุน ก็ต้องให้ กสทช.เป็นผู้เชิญชวนมาเพราะไม่ใช่หน้าที่ของเรา ตนไม่ได้มีอำนาจในการสร้างบทบาทของวงการดิจิตอลได้อย่างเต็มที่ แต่ กสทช.คือหน่วยงานที่มีอำนาจใหญ่จึงควรปฏิบัติตามที่เคยให้แนวทางไว้

นางพันธุ์ทิพา กล่าวชี้แจงด้วยว่า ในวันที่ตัดสินใจลงทุนทำทีวีดิจิตอล ตนมีเงิน 2,000 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินทั้งชีวิตและก่อนลงทุนทำธุรกิจ มีการศึกษาแล้ว ทำงานในวงการมา 38ปี มีการศึกษาและวิเคราะห์อย่างดีแล้วก่อนที่จะลงทุน มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ถึงการลงทุนดังกล่าวแล้ว แต่ปัจจุบันธุรกิจก็ยังไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะ กสทช.ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ สำหรับแนวทางต่อไป หากเจรจา กับ กสทช.ไม่สำเร็จ ก็ต้องยุติการออกอากาศ หากบริษัท ไทยทีวี ฯ หรือตนเองล้มละลายก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะเรายังมีทีวีพูลอยู่ แต่เป็นห่วงคนไทยว่าจะไม่ได้รูจักทีวีดิจิตอลที่แท้จริงเป็นอย่างไร ตนลุกขึ้นสู้ เป็นตัวแทนประชาชน เพื่อให้ กสทช.ทบทวนการทำหน้าที่ของตัวเองว่าได้ทำครบหรือยัง

นางพันธุ์ทิพา กล่าวอีกว่า การไต่สวน จะแถลงต่อศาล 5 หมวด ถึงความผิดของ กสทช. เช่น ความผิดต่อแผนแม่บท ซึ่งแผนแม่บทเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดตาม และความผิดในการเชิญชวนสื่อต่างๆ ร่วมประมูลผ่านช่องทางการสื่อสาร ทำให้ผู้ลงทุนอยากร่วมลงทุน และให้คำมั่นว่าทั้งประเทศจะสามารถเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบบดิจิตอลได้ภายใน 1 ปี เป็นต้น ซึ่งเราได้จัดทำเอกสารส่งศาลแล้ว

"การมาวันนี้ไม่ได้มาเพื่อปิดทาง กสทช. แต่ให้ กสทช.เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาทั้งหมด เพราะเชื่อว่าไม่มีใครรอดหาก กสทช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ และสิ่งที่เลวร้ายคือ ประเทศไทยจะไม่ได้รู้จักทีวีดิจิตอลเพราะตอนนี้มีแต่ประเทศไทยที่มีการติดเสา 6 เมตร – 15 เมตรทั้งที่ความจริงไม่จำเป็น หากมีคำตอบที่ดีจาก กสทช.ทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ ในแง่ของธุรกิจ ก็สามารถทำต่อได้ " นางพันธุ์ทิพา กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไต่สวนวันนี้ ฝ่าย บริษัท ไทยทีวี ฯ ที่เดินทางมาให้ถ้อยคำ ประกอบด้วย นางพันธุ์ทิพา หรือติ๋ม ทีวีพูลกรรมการบริษัท , นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ ทนายความอาสา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, นายสุชาติ ชมกุล ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย และน.ส.ดลณภา คำสอน

ขณะที่ฝ่าย กสทช. ซึ่งเข้าไต่สวนประกอบด้วย พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช., น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. , นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการ รองเลขาธิการ กสทช. และ น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ ผอ.สำนักการอนุญาตการประกอบกิจการกระจายเสียง กสทช.

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/657483

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.