Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 AIS Fibre ตั้งเป้าฐานลูกค้าให้ได้ 83,000 รายในสิ้นปี / ปัญหาหลักขณะนี้ไม่ใช่การทำตลาด แต่เป็นการนัดหมายลูกค้าเพื่อเข้าไปติดตั้งบริการ เนื่องจากยอดขายไปเร็วมาก แต่ติดตั้งได้วันละ 100 กว่าราย จากที่อยากให้ได้ 200-300 ราย

ประเด็นหลัก




อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักขณะนี้ไม่ใช่การทำตลาด แต่เป็นการนัดหมายลูกค้าเพื่อเข้าไปติดตั้งบริการ เนื่องจากยอดขายไปเร็วมาก แต่ติดตั้งได้วันละ 100 กว่าราย จากที่อยากให้ได้ 200-300 ราย จึงต้องเร่งปรับปรุงการบริหารจำนวนงานติดตั้ง โดยเฉพาะวันธรรมดากับวันหยุด

ปัจจุบัน AIS Fibre ครอบคลุม 9 จังหวัด (ใช้เงินลงทุน 1,500 ล้านบาท จากงบประมาณที่ได้มา 4,600 ล้านบาท) ได้แก่ กรุงเทพฯและปริมณฑล, เชียงใหม่, โคราช, ชลบุรี, อุดรธานี, ขอนแก่น, ภูเก็ต, นครปฐม และสมุทรสาคร โดยในกรุงเทพฯเริ่มขยายพื้นที่บริการไปในกลุ่มคอนโดฯก่อน ขณะที่บ้านเดี่ยวจะเริ่มจากชานเมืองในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตบ้านยังไม่ดี เนื่องจากพื้นที่กลางเมืองลูกค้ามีทางเลือกเยอะอยู่แล้ว ตั้งเป้าฐานลูกค้าให้ได้ 83,000 รายในสิ้นปี

"ความแตกต่างระหว่างบริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ของเรากับรายอื่น อยู่ที่รายอื่นเดินสายตามดีมานด์ แต่เราปูพรมเต็มพื้นที่ก่อนโดยไม่รอว่ามีลูกค้าหรือเปล่า เหมือนทำบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย แต่ความท้าทายวันนี้ก็ยังอยู่ที่การบริหารการนัดหมายลูกค้าเพื่อไปติดตั้ง โดยมีเป้าให้ติดตั้งได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังลูกค้าขอใช้บริการ วันนี้ยังทำไม่ได้ ยังใช้เวลาประมาณ 3 วัน หรือบางที่นานกว่านั้น"


นายศรัณย์กล่าวต่อว่า แม้จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดไม่นาน แต่มีจุดแข็ง 3 ข้อ ข้อแรกคือ มีสายไฟเบอร์ที่ครอบคลุมอยู่แล้วด้วยการลงทุนมือถือ 3G ไปแล้วทำให้การต่อยอดมายังอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ลงทุนเพิ่มอีกไม่มาก ข้อที่สองคือ มีข้อมูลการใช้มือถือของลูกค้าจึงรู้ว่า บริเวณใดลูกค้าใช้บริการดาต้าเยอะ บริเวณไหนใช้น้อยจึงรู้ว่าควรลงทุนที่ไหน เช่น บริเวณไหนลูกค้าใช้มือถือเยอะหลังสองทุ่มไปแล้วทั้งที่ไม่ใช่ผับ ไม่ใช่ร้านอาหาร แต่เป็นบ้านคนแสดงว่าอินเทอร์เน็ตบ้านไม่ดี

และจุดแข็งสุดท้ายคือมีโปรดักต์ครบ (Quad-play) คือ 1.โทรศัพท์มือถือ 2.ฟิกซ์บรอดแบนด์ 3.โทรศัพท์บ้าน 4.โทรทัศน์ผ่านกล่องไอพีทีวี AIS Playbox ที่นอกจากฟรีทีวีกว่า 100 ช่อง ยังเล่นเกมและรับชมรายการบันเทิงต่าง ๆ แบบออนดีมานด์ได้

"ในแผนธุรกิจของเอไอเอส เรามองมือถือกับฟิกซ์เป็นแค่วิธีส่งผ่านคอนเทนต์ คือไปทางอากาศ และทางสาย ต่อไปจะทำอะไรได้อีกเยอะ เช่น ระบบซีซีทีวี เรียกช่างมาซ่อมบ้าน ทำธุรกรรมผ่านจอทีวี ความบันเทิงอย่างดูหนังหรือคาราโอเกะ ออนดีมานด์ เป็นตัวอย่างง่ายๆ"

นายศรัณย์กล่าวด้วยว่า ค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในไทยยืนอยู่ที่ 590 บาทมาหลายปี เมื่อ AIS Fibre เข้าสู่ตลาดจึงทำราคา 590 บาทออกมาสู้ โฟกัสเฉพาะกลุ่มคอนโดฯแล้วขยับมาที่ 750 บาท เพิ่มความเร็วเป็น 20/7 Mbps (ดาวน์โหลด/อัพโหลด) แต่มีเป้าหมายว่า ในสิ้นปีต้องการผลักดันให้มาตรฐานความเร็วขั้นต่ำเป็น 20 Mbps และปรับมาตรฐานความเร็วดาวน์โหลดต่ออัพโหลดจาก 10 : 1 เป็น 3 : 1

"ความเร็วในการอัพโหลดไม่ควรต่ำกว่า 1 ใน 3 ของการดาวน์โหลด เพื่อให้เหมาะกับยุคโซเชียลที่คนนิยมอัพรูปอัพคลิป เวลามือถือจับไวไฟที่บ้านจะซิงก์กับคลาวด์ คือการอัพโหลดทั้งสิ้น ทีนี้ถามว่าทำไมผู้ให้บริการบ้านเราทำอัพโหลดต่ำ เพราะใช้เทคโนโลยีADSLที่มีข้อจำกัดด้านเทคนิคที่จะทำได้ 1 ต่อ 10 แต่ไฟเบอร์ไม่มีข้อจำกัดตรงนั้น"

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในเดือน ส.ค.นี้จะมีแพ็กเกจพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอสออกมาอีก หลังจากช่วงเปิดตัวมีโปรโมชั่น "ดับเบิลสปีด" เช่น แพ็กเกจ 750 บาท ปกติความเร็วที่ 20/7 Mbps ลูกค้าเอไอเอสได้ 40/14 Mbps












____________________________



เปิดแผน"AISFibre" ระเบิดศึกไฮสปีดเจาะฐานADSL-อัดฉีดแคมเปญเอาใจลูกค้ามือถือ



"AIS Fibre" ลุยต่อจิ๊กซอว์ Quad-play สลัดภาพยักษ์มือถือมุ่ง "ดิจิทัล เซอร์วิส โพรไวเดอร์" หลังติดตั้งโครงข่ายครอบคลุม 9 จังหวัด ดีมานด์พุ่งขยายบริการเข้าบ้านไม่ทัน เร่งปรับปรุงระบบบริหารจัดการคิวติดตั้งหวังปิดยอดลูกค้าแตะ 8.3 หมื่นรายในสิ้นปี โชว์โครงข่าย"ไฟเบอร์" ท้าชนคู่แข่งอัพ สปีดขั้นต่ำเป็น 20 Mbps ขยับมาตรฐาน "ดาวน์โหลด-อัพโหลด" ระเบิดโปรโมชั่นพิเศษเอาใจลูกค้ามือถือ ส.ค.นี้


การเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของ "เอไอเอส" ไม่เพียงมาช้ากว่าใครในตลาด หากยังมาในจังหวะที่คู่แข่งทุกรายมีฐานลูกค้าทะลุหลักล้านรายกันแล้ว โดย "เอไอเอส ไฟเบอร์" (AIS Fibre) มาพร้อมยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ที่ต้องการเป็น "ดิจิทัล เซอร์วิส โพรไวเดอร์"

นายศรัณย์ ผโลประการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แม้ตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ปัจจุบันจะมีผู้ให้บริการ 3 ราย มีมาร์เก็ตแชร์รวมกันกว่า 95% แต่กว่า 90% ให้บริการบนเทคโนโลยี ADSL บนสายทองแดง จึงมีข้อจำกัดด้านความเร็ว มีลูกค้าไม่ถึง 10% ใช้บริการ "ไฟเบอร์" แต่พื้นที่จำกัด ฉะนั้น ลูกค้าของ AIS Fibre จึงอยู่กลุ่มที่ใช้ ADSL รวมถึงบ้านที่ยังไม่มีการใช้งาน

"เรามองว่าตลาดADSLทั้งหมดพร้อมเปลี่ยนมาเป็นไฟเบอร์ ที่ผ่านมาเรามีแอร์เน็ตแต่ไม่ได้ลากสายไฟเบอร์ สมัยก่อนโฟกัสในโมบายเมื่อขยับมาลงทุนลากสายจึงปรับโพซิชันนิ่งแอร์เน็ตเป็นบริการสำหรับนอกเมือง แอร์เน็ตใช้เวลา 2 ปี มีลูกค้า 3.6 หมื่นราย AIS Fibre เปิด 2 เดือนมีลูกค้าเกินหมื่นแล้ว"

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักขณะนี้ไม่ใช่การทำตลาด แต่เป็นการนัดหมายลูกค้าเพื่อเข้าไปติดตั้งบริการ เนื่องจากยอดขายไปเร็วมาก แต่ติดตั้งได้วันละ 100 กว่าราย จากที่อยากให้ได้ 200-300 ราย จึงต้องเร่งปรับปรุงการบริหารจำนวนงานติดตั้ง โดยเฉพาะวันธรรมดากับวันหยุด

ปัจจุบัน AIS Fibre ครอบคลุม 9 จังหวัด (ใช้เงินลงทุน 1,500 ล้านบาท จากงบประมาณที่ได้มา 4,600 ล้านบาท) ได้แก่ กรุงเทพฯและปริมณฑล, เชียงใหม่, โคราช, ชลบุรี, อุดรธานี, ขอนแก่น, ภูเก็ต, นครปฐม และสมุทรสาคร โดยในกรุงเทพฯเริ่มขยายพื้นที่บริการไปในกลุ่มคอนโดฯก่อน ขณะที่บ้านเดี่ยวจะเริ่มจากชานเมืองในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตบ้านยังไม่ดี เนื่องจากพื้นที่กลางเมืองลูกค้ามีทางเลือกเยอะอยู่แล้ว ตั้งเป้าฐานลูกค้าให้ได้ 83,000 รายในสิ้นปี

"ความแตกต่างระหว่างบริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ของเรากับรายอื่น อยู่ที่รายอื่นเดินสายตามดีมานด์ แต่เราปูพรมเต็มพื้นที่ก่อนโดยไม่รอว่ามีลูกค้าหรือเปล่า เหมือนทำบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย แต่ความท้าทายวันนี้ก็ยังอยู่ที่การบริหารการนัดหมายลูกค้าเพื่อไปติดตั้ง โดยมีเป้าให้ติดตั้งได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังลูกค้าขอใช้บริการ วันนี้ยังทำไม่ได้ ยังใช้เวลาประมาณ 3 วัน หรือบางที่นานกว่านั้น"



นายศรัณย์กล่าวต่อว่า แม้จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดไม่นาน แต่มีจุดแข็ง 3 ข้อ ข้อแรกคือ มีสายไฟเบอร์ที่ครอบคลุมอยู่แล้วด้วยการลงทุนมือถือ 3G ไปแล้วทำให้การต่อยอดมายังอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ลงทุนเพิ่มอีกไม่มาก ข้อที่สองคือ มีข้อมูลการใช้มือถือของลูกค้าจึงรู้ว่า บริเวณใดลูกค้าใช้บริการดาต้าเยอะ บริเวณไหนใช้น้อยจึงรู้ว่าควรลงทุนที่ไหน เช่น บริเวณไหนลูกค้าใช้มือถือเยอะหลังสองทุ่มไปแล้วทั้งที่ไม่ใช่ผับ ไม่ใช่ร้านอาหาร แต่เป็นบ้านคนแสดงว่าอินเทอร์เน็ตบ้านไม่ดี

และจุดแข็งสุดท้ายคือมีโปรดักต์ครบ (Quad-play) คือ 1.โทรศัพท์มือถือ 2.ฟิกซ์บรอดแบนด์ 3.โทรศัพท์บ้าน 4.โทรทัศน์ผ่านกล่องไอพีทีวี AIS Playbox ที่นอกจากฟรีทีวีกว่า 100 ช่อง ยังเล่นเกมและรับชมรายการบันเทิงต่าง ๆ แบบออนดีมานด์ได้

"ในแผนธุรกิจของเอไอเอส เรามองมือถือกับฟิกซ์เป็นแค่วิธีส่งผ่านคอนเทนต์ คือไปทางอากาศ และทางสาย ต่อไปจะทำอะไรได้อีกเยอะ เช่น ระบบซีซีทีวี เรียกช่างมาซ่อมบ้าน ทำธุรกรรมผ่านจอทีวี ความบันเทิงอย่างดูหนังหรือคาราโอเกะ ออนดีมานด์ เป็นตัวอย่างง่ายๆ"

นายศรัณย์กล่าวด้วยว่า ค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในไทยยืนอยู่ที่ 590 บาทมาหลายปี เมื่อ AIS Fibre เข้าสู่ตลาดจึงทำราคา 590 บาทออกมาสู้ โฟกัสเฉพาะกลุ่มคอนโดฯแล้วขยับมาที่ 750 บาท เพิ่มความเร็วเป็น 20/7 Mbps (ดาวน์โหลด/อัพโหลด) แต่มีเป้าหมายว่า ในสิ้นปีต้องการผลักดันให้มาตรฐานความเร็วขั้นต่ำเป็น 20 Mbps และปรับมาตรฐานความเร็วดาวน์โหลดต่ออัพโหลดจาก 10 : 1 เป็น 3 : 1

"ความเร็วในการอัพโหลดไม่ควรต่ำกว่า 1 ใน 3 ของการดาวน์โหลด เพื่อให้เหมาะกับยุคโซเชียลที่คนนิยมอัพรูปอัพคลิป เวลามือถือจับไวไฟที่บ้านจะซิงก์กับคลาวด์ คือการอัพโหลดทั้งสิ้น ทีนี้ถามว่าทำไมผู้ให้บริการบ้านเราทำอัพโหลดต่ำ เพราะใช้เทคโนโลยีADSLที่มีข้อจำกัดด้านเทคนิคที่จะทำได้ 1 ต่อ 10 แต่ไฟเบอร์ไม่มีข้อจำกัดตรงนั้น"

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในเดือน ส.ค.นี้จะมีแพ็กเกจพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอสออกมาอีก หลังจากช่วงเปิดตัวมีโปรโมชั่น "ดับเบิลสปีด" เช่น แพ็กเกจ 750 บาท ปกติความเร็วที่ 20/7 Mbps ลูกค้าเอไอเอสได้ 40/14 Mbps

"เราสนับสนุนนโยบายเรื่องบรอดแบนด์และดิจิทัลอีโคโนมี เพราะอินฟราสตรักเจอร์เน็ตบ้านของไทยล้าหลังเพื่อนบ้านมาก เกาหลี สิงคโปร์ มาตรฐาน 100 Mbps บ้านเรา 10 Mbps หรือต่ำกว่าเป็นเวลานานมากทำให้หลายธุรกิจไม่สามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ ถ้าเราดันสปีดขึ้นมาจะช่วยสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ ได้เยอะมาก เช่น ธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ให้บริการในระบบคลาวด์ หรืออุตสาหกรรมในการทำวิดีโอสตรีมมิ่ง"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438230953

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.