Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 Ericsson ระบุ โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เติบโตมากในอนาคต และสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการเข้าถึงโลกออนไลน์ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนราคาต่ำจะได้รับความนิยมมากในไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์

ประเด็นหลัก






โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนียเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เติบโตมากในอนาคต และสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการเข้าถึงโลกออนไลน์ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนราคาต่ำจะได้รับความนิยมมากในไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์



จากเหตุผลข้างต้นทำให้ภูมิภาคนี้เป็นผู้นำด้านการรับโซเชียลมีเดีย และบริการส่งข้อความออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊ก, วอตส์แอป, บีบีเอ็ม และไลน์ โดยการวิเคราะห์แอปพลิเคชั่นที่ใช้งานผ่านระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ เมื่อเดือน ก.พ. 2015 ที่ผ่านมา

สำหรับการใช้งานเครือข่ายเคลื่อนที่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เครือข่าย WCDMA/HSPA และ LTE ต่างเติบโตอย่างมากในภูมิภาคนี้ การใช้ LTE บุกเบิกโดยประเทศที่ตลาดไอซีทีพัฒนาแล้ว

อย่างสิงคโปร์และออสเตรเลีย ที่ซึ่งมีการนำนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เช่น FDD/TDD LTE Carrier Aggregation Voice Over LTE (VoLTE) และ LTE Broadcast มาทดลองใช้หรือใช้งานจริงแล้ว ในขณะนี้การเสริมประสิทธิภาพทำให้ความเร็วของเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย

และในประเทศเหล่านี้การใช้ LTE จะสูงขึ้นตลอดปี 2015 โดยเฉพาะในประเทศไทย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มใช้เครือข่าย LTE ขณะที่ประเทศอื่นรอการประมูลคลื่นความถี่










____________________________



เอเชียใช้ "ดาต้า" มากสุดในโลก "วิดีโอ-แอปโซเชียล" ครองใจคนไทย



การใช้เทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบันเติบโตก้าวกระโดดเมื่อ "สมาร์ทโฟน"เข้ามามีความสำคัญกับชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจ  รายงาน Ericsson Mobility Report นำเสนอแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี และการเติบโตโดยระบุว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีการเติบโตด้านการรับส่งข้อมูลมากที่สุดในโลก และในปี 2020 กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนียเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญตามทิศทางการเติบโตขึ้นของผู้ใช้สมาร์ทโฟน



สมาร์ทโฟนครองโลก

"โรแบร์โต้ บาร์เร็ตต้า" หัวหน้าฝ่ายขาย บริษัทอีริคสันกล่าวว่า ทั่วโลกมีการใช้งานเครือข่ายเคลื่อนที่ประมาณ 7,100 ล้านเครื่อง และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2020 จะเพิ่มเป็น 9,200 ล้านเครื่อง มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในปี 2014 ที่ประมาณ 2,600 ล้านเครื่อง เพิ่มเป็น 6,100 ล้านเครื่องในปี 2020 เป็นการใช้งานเครือข่ายเคลื่อนที่ WCDMA/HSPA หรือ 3G ประมาณ 2,000 ล้านเครื่อง และเพิ่มเป็น 3,800 ล้านเครื่องในปี 2020 มีการใช้งานเครือข่าย LTE จากปัจจุบันประมาณ 500 ล้านเครื่อง เพิ่มเป็น 3,700 ล้านเครื่องในปี 2020

เฉพาะในเอเชีย-แปซิฟิกจะมีการรับส่งข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 ของการส่งทั้งหมดเมื่อถึงปลายปี 2015

และในปี 2020 การบริโภคข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนแต่ละเดือนของผู้ที่ใช้งานเป็นประจำในอเมริกาเหนืออยู่ที่ 14 GB สูงกว่าในยุโรปตะวันตก 1.5 เท่า (9.5 GB) และสูงกว่าในเอเชีย-แปซิฟิก 3.5 เท่า (4 GB)

อย่างไรก็ตาม เอเชีย-แปซิฟิกมีส่วนแบ่งของการรับส่งข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนสูงที่สุดในปี 2020 เนื่องจากมีการเติบโตของจำนวนเครื่องที่ใช้ แค่จีนประเทศเดียวจะมีการใช้เครือข่ายเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นถึง 400 ล้านเครื่อง

รายงาน Ericsson Mobility Report ยังระบุว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียมีการใช้สมาร์ทโฟนกว่า 230 ล้านเครื่องในปี 2014 ที่ผ่านมา คาดว่าจะโตขึ้นเป็น 790 ล้านเครื่องในปี 2020 เฉลี่ยปริมาณการรับส่งข้อมูลต่อสมาร์ทโฟน1 เครื่อง (GB/เดือน) ปัจจุบันอยู่ที่ 1.2 GB/เดือน และในปี 2020 จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 GB/เดือน

โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนียเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) เติบโตมากในอนาคต และสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการเข้าถึงโลกออนไลน์ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนราคาต่ำจะได้รับความนิยมมากในไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์



โซเชียลเน็ตเวิร์กยึดเอเชีย

จากเหตุผลข้างต้นทำให้ภูมิภาคนี้เป็นผู้นำด้านการรับโซเชียลมีเดีย และบริการส่งข้อความออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊ก, วอตส์แอป, บีบีเอ็ม และไลน์ โดยการวิเคราะห์แอปพลิเคชั่นที่ใช้งานผ่านระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ เมื่อเดือน ก.พ. 2015 ที่ผ่านมา

สำหรับการใช้งานเครือข่ายเคลื่อนที่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เครือข่าย WCDMA/HSPA และ LTE ต่างเติบโตอย่างมากในภูมิภาคนี้ การใช้ LTE บุกเบิกโดยประเทศที่ตลาดไอซีทีพัฒนาแล้ว

อย่างสิงคโปร์และออสเตรเลีย ที่ซึ่งมีการนำนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เช่น FDD/TDD LTE Carrier Aggregation Voice Over LTE (VoLTE) และ LTE Broadcast มาทดลองใช้หรือใช้งานจริงแล้ว ในขณะนี้การเสริมประสิทธิภาพทำให้ความเร็วของเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย

และในประเทศเหล่านี้การใช้ LTE จะสูงขึ้นตลอดปี 2015 โดยเฉพาะในประเทศไทย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มใช้เครือข่าย LTE ขณะที่ประเทศอื่นรอการประมูลคลื่นความถี่

ประเทศที่เทคโนโลยีเติบโตแล้วอย่างออสเตรเลียและสิงคโปร์ ซึ่งมีเครือข่าย LTE ใช้แพร่หลาย มีการเข้าถึงเครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่สูงมากเกินกว่าร้อยละ 90 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนายังต้องใช้เวลาอีกมากกว่าจะพัฒนาไปถึง เป็นโอกาสอันดีที่ผู้ให้บริการจะมอบประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่แก่ผู้ใช้

เมื่อสิ้นสุดปี 2014 การเข้าถึงสมาร์ทโฟนเกินกว่าร้อยละ 80 ในออสเตรเลีย และเกินกว่าร้อยละ 90 ในสิงคโปร์แล้ว แต่ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 25 หรือต่ำกว่านั้นในประเทศกำลังพัฒนา จึงเป็นโอกาสในการเติบโตสำหรับผู้ให้บริการและผู้ผลิตเครื่องมือรายต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะผู้ใช้จะบริโภคปริมาณข้อมูลสูงขึ้นบนเครื่องรุ่นใหม่และเร็วกว่าเดิม

ยอดใช้สมาร์ทโฟนพุ่ง 800 ล้าน

เมื่อถึงปี 2020 ในภูมิภาคนี้จะมีการใช้งานสมาร์ทโฟนเกือบ 800 ล้านเครื่อง ปัจจุบัน 25% ของอุปกรณ์พกพาคือสมาร์ทโฟนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต ทำให้ผู้ใช้คาดหวังว่าจะใช้เป็น

ส่วนหนึ่งของกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆในแต่ละวัน และมีศักยภาพในบริการเชื่อมต่อใหม่ ๆ เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ (Connected Me) รถยนต์ที่มีปฏิสัมพันธ์หลากหลาย (Connected Car) และข้าวของเครื่องใช้ในบ้านที่เชื่อมต่อได้ (Connected Home) ซึ่งการใช้งานบริการเชื่อมต่อต่าง ๆ

จะสูงขึ้นตามการใช้อินเทอร์เน็ต และประสิทธิภาพของเครือข่ายจะพัฒนาควบคู่ไปกับความต้องการบริการใหม่ ๆ

นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การสื่อสารจากเครื่องจักรสู่เครื่องจักรหรือ M2M (Machine to Machine) จะนำมาใช้มากขึ้น

จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งค่าใช้จ่ายที่ลดลง ความครอบคลุมมากขึ้น เทคโนโลยีเครือข่ายสัญญาณวิทยุที่ดีขึ้น และการกำกับดูแลโดยสิ้นปี 2014 ที่ผ่านมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียมีเครื่องมือM2M ประมาณ 10 ล้านเครื่อง

สำหรับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก การส่งข้อความและการสตรีมวิดีโอติดอันดับ 5แอปพลิเคชั่นยอดนิยมที่มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้ต่อเนื่อง แม้จะมีความคล้ายคลึงกันแต่ละประเทศก็ยังมีความแตกต่างกัน

โดยเฉพาะ "แอปส่งข้อความ" เช่น ในประเทศออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ "เฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์" เป็นแอปยอดนิยม แต่ในสิงคโปร์และมาเลเซียนิยม "วอตส์แอป" มากกว่า ขณะที่ BlackBerry Messenger

หรือ BBM เป็นแอปอันดับต้น ๆ ในอินโดนีเซีย ขณะที่ไทยนิยมใช้ไลน์ (LINE)



คนไทยชอบดูคลิปวิดีโอ

"คามิลล่า วอลเทียร์" ประธาน บริษัทอีริคสัน ประเทศไทยกล่าวว่า สำหรับประเทศไทยจากรายงาน Ericsson MobilityReport ระบุว่า จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังเพิ่มต่อเนื่อง ในสิ้นปี 2015 คาดว่าจะมีถึง 98 ล้านเลขหมาย (147% จากประชากรโดยรวม) เพิ่มจาก 93.6 ล้านเลขหมาย (ประมาณ 140%) เมื่อสิ้นไตรมาส 2 ปีนี้ และคาดว่าในปี 2020 จะมี 7 ใน 10 คนใช้สมาร์ทโฟน

ขณะที่ียอดขายโทรศัพท์มือถือไตรมาส 1 ปีนี้มีกว่า 4.3 ล้านเครื่อง โดย 76% เป็นสมาร์ทโฟน และกว่า 17% รองรับ LTE/4G ทั้งยังมีการสำรวจพบว่า การรับส่งข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้น 9 เท่าใน 6 ปี โดยการรับส่งข้อมูลวิดีโอจะเพิ่มขึ้น 13 เท่า และข้อมูลวิดีโอนั้นจะมีปริมาณมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายเคลื่อนที่ สะท้อนให้เห็นได้ว่า"วิดีโอ" เป็นตัวที่สร้างปริมาณการใช้งาน การรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายมากที่สุด รองลงมาเป็นโซเชียลมีเดีย เช่น ไลน์, เฟซบุ๊ก และยูทูบ เป็น 3 แอปพลิเคชั่นยอดนิยมที่มีการใช้สม่ำเสมอ

การสำรวจยังพบว่า ด้วยสังคมไทยกำลังมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่สังคมเครือข่าย(Networked Society) อย่างรวดเร็วผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย หรือ Mobilityกลุ่มเด็กและวัยรุ่น การขยายตัวของสังคมเมือง การเข้าถึง และการใช้สมาร์ทโฟนสูงขึ้น ต่างเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีไอซีทีมากขึ้นด้วย ซึ่งจะช่วยให้สังคมไทยได้ประโยชน์จาก Networked Society หรือสังคมเครือข่าย และระบบเศรษฐกิจออนไลน์ หรือ Digital Economy

จากพฤติกรรมทางด้านสังคมเครือข่าย มีปัจจัยมาจากไลฟ์สไตล์ที่ผูกติดกับการเชื่อมต่อมากขึ้น โดยจากงานวิจัยพบว่า 23% ของคนไทยมองว่า โซเชียลมีเดียและการส่งข้อความมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน



89% ของคนไทยใช้โซเชียลมีเดีย

ทุกสัปดาห์ นิยมดูวิดีโอ และใช้แอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สูงมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำคือการพัฒนาเว็บไซต์ต่าง ๆ ควรมีการออกแบบให้รองรับการเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟนได้แล้วLTE ขับเคลื่อน ศก.ดิจิทัล

จากการสำรวจยังพบว่า ความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่อันดับ 3 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย แต่ผู้ให้บริการในไทยยังจำเป็นต้องปรับปรุงความครอบคลุมของแอปพลิเคชั่นเพื่อตามประเทศที่ความครอบคลุม LTE ทั่วถึงเช่นสิงคโปร์ และออสเตรเลีย ซึ่งการเข้าถึงคลื่นความถี่กลายเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้เครือข่ายมือถือตอบสนองปริมาณการรับส่งข้อมูลที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่สำคัญยังสามารถรองรับความต้องการของภาคธุรกิจในการทำธุรกรรมออนไลน์ที่สูงขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนด้วย ทั้งนี้ สังคมเครือข่ายทำให้ผู้คน ธุรกิจและสังคมสามารถที่จะพัฒนาและเข้าถึง

ศักยภาพของตนเองได้สูงสุด โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายคลาวด์และบรอดแบนด์

"คามิลล่า" ย้ำว่า สังคมแห่งเครือข่ายจะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัว และเพิ่มขีดความสามารถในระบบ Digital Economy ทั้งในภาคธุรกิจและสังคมไทยโดยรวม และปัจจุบันพบว่า ผู้ใช้งาน LTE ในไทยมี 3.6 ล้านราย คาดว่าในปี 2018 จะโตขึ้นเป็น 18.4 ล้านราย และหากมีการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี LTE อย่างแพร่หลายในประเทศไทย

อุตสาหกรรมที่จะได้รับผลดีที่สุดคือ มีเดีย การขนส่ง และอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างความเชื่อมต่อ

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438227358

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.