Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 TOT internet ยอมรับ สาเหตุที่ทีโอทีมีลูกค้าเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมีงบฯประชาสัมพันธ์จำกัด ซึ่งกลยุทธ์สำคัญปีนี้คือพยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาด และฐานลูกค้าเดิมไว้ ปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของเรา เป็นอันดับ 3 มีส่วนแบ่ง 30%

ประเด็นหลัก



"ต้องยอมรับว่าสาเหตุที่ทีโอทีมีลูกค้าเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมีงบฯประชาสัมพันธ์จำกัด ซึ่งกลยุทธ์สำคัญปีนี้คือพยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาด และฐานลูกค้าเดิมไว้ ปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของเรา เป็นอันดับ 3 มีส่วนแบ่ง 30% เป็นรองทรู และ 3BB ที่มีส่วนแบ่ง 38% และ 35% ตามลำดับ"












____________________________



"ทีโอที" ดิ้นรักษาฐานลูกค้า ความพยายามบนข้อจำกัด



เข้าสู่โหมดต้องปรับตัวอย่างหนัก ไม่เฉพาะแค่รายได้หลักจากสัมปทานที่หายวับไป แต่ธุรกิจที่เคยเป็นหลักอย่างโทรศัพท์บ้าน-โทรศัพท์สาธารณะก็อยู่ยากขึ้นทุกที ทำให้ "ทีโอที" ต้องหันมาปักหลักกับบริการ "อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์" แต่ก็ไม่ง่าย ด้วยข้อจำกัดหลายด้านทำให้ส่วนแบ่งตลาดจากที่เคยเป็นอันดับ 1 หล่นลงมาเป็นที่ 3

"รังสรรค์ จันทร์นฤกุล" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ทีโอทีมีนโยบายปรับลดค่าใช้จ่ายทำให้งบประมาณด้านการตลาดในปีนี้ลดลง 50% เหลือ 200 ล้านบาท จึงต้องบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีหลายผลิตภัณฑ์ โดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การทำตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เพราะเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้องค์กรมากที่สุดในปีที่ผ่านมา

สัดส่วนรายได้ของ "ทีโอที" มาจากธุรกิจบรอดแบนด์ 35% โทรศัพท์บ้าน (ฟิกซ์ไลน์) 30%, บริการดาต้า 25% และอื่น ๆ 10% ปีนี้คาดการณ์ว่ารายได้รวมจะอยู่ที่ 28,000 ล้านบาท เติบโต 4% ไม่รวมรายได้จากสัมปทาน

ในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์บ้าน ปัจจุบัน "ทีโอที" มีลูกค้าเหลืออยู่ 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งเป้าหมายปีนี้หนีไม่พ้นการเร่งการรักษาฐานลูกค้าเช่นเดียวกับโทรศัพท์สาธารณะที่สร้างรายได้ปีละ 500-600 ล้านบาท แต่การใช้งานในอนาคตมีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป

ไม่ใช่แค่การปรับลดงบประมาณด้านการตลาด แต่ในภาพรวมยึดนโยบายรัดเข็มขัด โดยในครึ่งปีแรก "ทีโอที" ลดค่าใช้จ่ายในองค์กรได้แล้ว 10% ทั้งด้านการจัดการส่วนงานพัสดุ การลดสต๊อกสินค้า และการใช้นโยบายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อลดต้นทุนจากการขยายโครงข่ายไฟเบอร์ ด้วยการไม่ขยายโครงข่ายล่วงหน้า แต่ขยายตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งวิธีนี้ทำให้ลูกค้าที่ต้องการใช้บริการต้องรอนาน

"การลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ไม่รวมนโยบายเกษียณอายุก่อนกำหนดที่มีออกมาเรื่อย ๆ ปีนี้มีคนเข้าโครงการแล้วประมาณ 1,000 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 2,000 ราย และในภาพรวมจะพยายามทำให้ค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 40% ของรายได้องค์กร"

"รังสรรค์" ยอมรับว่า นโยบายรัดเข็มขัดส่งผลกระทบต่อการทำตลาดบ้าง เพราะต้องเน้นภาพรวมมากขึ้น เช่น มีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแต่เสริมธุรกิจอื่นของทีโอทีด้วย ในโปรโมชั่น "คุ้มยกแพ็ก" คิดค่าบริการรายเดือน 599 บาท สามารถใช้อินเทอร์เน็ต (ดาวน์โหลด 10 MB และอัพโหลด 1 Mb), บริการโทรศัพท์บ้านวงเงิน 599 บาท/เดือน เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านโทร.ไปยังโทรศัพท์บ้าน และรับชมไอพีทีวีได้ เป็นต้น

ปัจจุบัน "ทีโอที" มีฐานลูกค้าบรอดแบนด์ 1.6 ล้านราย เป็นลูกค้า ADSL 85% และ FTTx 15% คาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีลูกค้าเพิ่มอีก150,000 ราย ส่วนใหญ่เป็น FTTx

"ต้องยอมรับว่าสาเหตุที่ทีโอทีมีลูกค้าเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะมีงบฯประชาสัมพันธ์จำกัด ซึ่งกลยุทธ์สำคัญปีนี้คือพยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาด และฐานลูกค้าเดิมไว้ ปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของเรา เป็นอันดับ 3 มีส่วนแบ่ง 30% เป็นรองทรู และ 3BB ที่มีส่วนแบ่ง 38% และ 35% ตามลำดับ"

อีกข้อจำกัดที่ต้องเร่งแก้ และมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน คือ การขยายโครงข่าย โดย "ทีโอที" กำลังรอแผนขยายโครงข่ายในโครงการ 2 ล้านพอร์ต เพื่อให้สามารถขยายลูกค้าใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437629846

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.