Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 สิงหาคม 2558 (บทความ) ทำสตาร์ตอัพให้เติบโตสูง-ต้นทุนต่ำ Growth Hacking แบบ ‘จอน ยังฟุค’ // ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถดึงมาช่วยในการเพิ่มลูกค้า เช่น เฟซบุ๊ก ทำแฟนเพจ อินสตาแกรม มีการฝากร้าน ฯลฯ โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องเสียงิน

ประเด็นหลัก





จะทำตลาดอย่างไรด้วยต้นทุนที่ต่ำแต่สามารถช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ให้โตแบบก้าวกระโดดได้ มร.จอน กล่าวว่า Growth Hacking เป็นการทำมาร์เกตติ้งหรือการตลาดอย่างหนึ่งที่เน้นการใช้ต้นทุนที่ต่ำ อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านการขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถดึงมาช่วยในการเพิ่มลูกค้า เช่น เฟซบุ๊ก ทำแฟนเพจ อินสตาแกรม มีการฝากร้าน ฯลฯ โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องเสียงิน หรือจะเป็นการใช้ อีเมล มาร์เกตติ้ง ซึ่งหลาย ๆ คนอาจบอกว่าในปัจจุบันวิธีการนี้ล้าสมัย แต่ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมีต้นทุนต่ำ แต่ผลตอบแทนกลับมาสูงคุ้มค่า แต่ทั้งนี้การส่งอีเมลหาลูกค้าก็ต้องทำแบบมีเทคนิค






____________________________________________________





ทำสตาร์ตอัพให้เติบโตสูง-ต้นทุนต่ำ Growth Hacking แบบ ‘จอน ยังฟุค’ | เดลินิวส์



„ทำสตาร์ตอัพให้เติบโตสูง-ต้นทุนต่ำ Growth Hacking แบบ ‘จอน ยังฟุค’ Growth Hacking เป็นการทำมาร์เกตติ้งหรือการตลาดอย่างหนึ่งที่เน้นการใช้ต้นทุนที่ต่ำ อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านการขยายฐานลูกค้าใหม่ วันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 4:45 น. การคิดและพัฒนาแอพพลิเคชั่นขึ้นมา สิ่งที่จะวัดความสำเร็จได้อย่างหนึ่ง คือ จำนวนยอดผู้ใช้งาน และยอดการดาวน์โหลด แต่เทค สตาร์ตอัพ หรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีหน้าใหม่ของไทย ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าจะทำตลาดอย่างไรให้แอพพลิเคชั่นมียอดดาวน์โหลดมาก ๆ มร.จอน ยังฟุค (Jon Youngfook) ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เขาอยู่ในวงการ เทค สตาร์ตอัพ มา 10-15 ปี ที่ผ่านมาเคยทำ เทค สตาร์ตอัพ จนประสบความสำเร็จขายได้ 2 บริษัท โดย 1 ในนั้นเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นผู้เขียนหนังสือ Growth Hacking Deck ที่แนะนำเทคนิคการทำตลาดด้วยต้นทุนต่ำ โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสำหรับ เทค สตาร์ตอัพ ว่าทำอย่างไรให้คนเข้ามาใช้งาน และดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นให้ได้เป็นหลักแสนหรือล้านดาวน์โหลดในเวลาไม่นาน และปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง Beatrix ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ธุรกิจ (SaaS) ด้าน Social Media Content Marketing โดย มร.จอน ได้มีโอกาสเดินทางมาที่ประเทศไทย เพื่อเป็นที่ปรึกษา (Mentor) ให้ความรู้กับทีม เทค สตาร์ตอัพ ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท แบทช์#3 (dtac Accelerate Batch #3) ว่าจะทำตลาดอย่างไรด้วยต้นทุนที่ต่ำแต่สามารถช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ให้โตแบบก้าวกระโดดได้ มร.จอน กล่าวว่า Growth Hacking เป็นการทำมาร์เกตติ้งหรือการตลาดอย่างหนึ่งที่เน้นการใช้ต้นทุนที่ต่ำ อาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านการขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถดึงมาช่วยในการเพิ่มลูกค้า เช่น เฟซบุ๊ก ทำแฟนเพจ อินสตาแกรม มีการฝากร้าน ฯลฯ โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องเสียงิน หรือจะเป็นการใช้ อีเมล มาร์เกตติ้ง ซึ่งหลาย ๆ คนอาจบอกว่าในปัจจุบันวิธีการนี้ล้าสมัย แต่ตนมองว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะมีต้นทุนต่ำ แต่ผลตอบแทนกลับมาสูงคุ้มค่า แต่ทั้งนี้การส่งอีเมลหาลูกค้าก็ต้องทำแบบมีเทคนิค โดยลูกค้าใหม่อาจจะส่งอีเมลแบบหนึ่ง และหากเป็นลูกค้าที่เคยใช้บริการแล้วก็ส่งอีเมลอีกแบบหนึ่ง เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญ จนทำให้เสียลูกค้าไป เพราะการรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ย่อมดีกว่าการที่ต้องหาลูกค้าใหม่ ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และมีต้นทุนที่สูงกว่า จึงควรสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง มร.จอน ยังแนะนำต่อว่า การเขียนบล็อกเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ของเราก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเทค สตาร์ตอัพ เพื่อให้คนรู้จักธุรกิจของเราได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเขียนบล็อกนี้ถือเป็นเทคนิคที่จะทำให้สามารถขึ้นไปอยู่หน้า 1 ของกูเกิลได้เมื่อมีคนเซิร์ชค้นหาข้อมูลโดยที่เราไม่ต้องเสียเงิน แต่จากการที่ได้พูดคุยกับ เทค สตาร์ตอัพของไทยหลายรายไม่ทำวิธีนี้ จึงอยากแนะนำให้เริ่ม โดยเฉพาะสตาร์ตอัพที่ทำธุรกิจแบบ บีทูบี (Business to Business : B2B) หรือ ธุรกิจกับธุรกิจ สำหรับในเรื่อง ผลิตภัณฑ์ (product)กับ การทำตลาด (marketing) อย่างไรมีความสำคัญกว่ากันนั้น มร.จอน มองว่า ผลิตภัณฑ์สำคัญที่สุด เพราะถึงแม้ว่าจะมีการทำตลาดที่ดี แต่หากตัวผลิตภัณฑ์ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามหากมองในแง่ความสำเร็จของสตาร์ตอัพในไทยและเอเชียที่น้อยกว่าทางฝั่งอเมริกา และยุโรปนั้น มร.จอน บอกว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะระบบนิเวศหรืออีโค่ซิสเต็ม (ecosystem) ของเอเชียตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น เหมือนซิลิคอน แวลลีย์ เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว จำนวนสตาร์ตอัพ และจำนวนเงินทุนหรือวีซี (Venture Capital) ก็ยังมีจำนวนน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับฝั่งอเมริกาและยุโรปที่เริ่มมาก่อน คงต้องอาศัยเวลาอีกซักระยะ ซึ่งการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่างในประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลได้จัดตั้งโซนในชื่อ “block 71” โดยเป็นตึกแถวให้เช่าในราคาถูกเพื่อให้เป็นพื้นที่ทำงานของ เทค สตาร์ตอัพต่าง ๆ สามารถช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัทเหล่านั้นได้มาก สำหรับมุมมองต่อ 6 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบในโครงการดีแทค แอคเซอเลเรท แบทช์#3 นั้น มร.จอน บอกว่า รู้สึกประทับใจทั้ง 6 ทีม ซึ่งมีการเตรียมตัวที่ดี มีไอเดียและแผนธุรกิจที่ชัดเจน รู้ว่าลูกค้าคือใคร ต้องทำตลาดอย่างไร ให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอยากแนะนำว่าไม่ควรจะยึดติดกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เป็น free Service หรือให้บริการฟรีไม่เก็บเงินมากจนเกินไป เพราะกลัวคนจะไม่ใช้ แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เสียเงินดาวน์โหลดมากขึ้น และปัจจุบันมีคนที่ยินดีที่จะลงทุนซื้อมากขึ้น หากแอพพลิเคชั่นนั้นสามารถสนองความต้องการของเขาได้ สุดท้าย มร.จอน คาดการณ์ว่า ภาพรวมของเทค สตาร์ตอัพใน 5 ปีข้างหน้า จะมีเทค สตาร์ตอัพ เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไอโอที หรือ Internet of Thing(IoT) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังจะมาในอนาคต. จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/340733

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.