Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 สิงหาคม 2558 (บทความ) ไขข้องใจกม.ลิขสิทธิ์"ไม่ชัวร์อย่าแชร์" // บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า เช่น การก็อบปี้งานดังกล่าวมาขาย เพื่อประโยชน์ของตนเอง

ประเด็นหลัก




สำหรับสิ่งที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะจะละเมิดลิขสิทธิ์ คือ การนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ เช่น บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า เช่น การก็อบปี้งานดังกล่าวมาขาย เพื่อประโยชน์ของตนเอง

หรือการดาวน์โหลดภาพยนตร์ หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ตนำมาแชร์ต่อให้ผู้อื่น หากจะแชร์ต่อ ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์ก่อน แต่หากดาวน์โหลดมาฟัง หรือชมเอง สามารถทำได้








____________________________________________________





ไขข้องใจกม.ลิขสิทธิ์"ไม่ชัวร์อย่าแชร์"



ไขข้อข้องใจ กม.ลิขสิทธิ์ใหม่ แชร์รูปภาพ บทความในเฟซบุ๊ก-ไลน์ ไม่ผิด ถ้าไม่มากเกินไป แต่แฮ็กข้อมูล ลบลายน้ำภาพ ดัดแปลง ผิดแน่ๆ ถ้าจะให้ดี "ไม่ชัวร์ ไม่แชร์" จะดีกว่า

นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ขณะนี้เกิดความสับสนกันมากเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2558 เพราะมีการแชร์ผ่านโซเชียลว่าการกระทำใดที่ทำได้หรือไม่ได้ เพราะเป็นการละเมิด ซึ่งขอชี้แจงว่า ข้อกังวลต่างๆ เป็นสิ่งที่กำหนดไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับเก่า พ.ศ.2537 อยู่แล้ว

"จากกรณีข้อสงสัยที่เกิดขึ้น ถือเป็นข้อดีที่ทำให้คนไทยมีความตื่นตัวในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีจิตสำนึกว่างานที่จะนำไปใช้มีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และมีการคิดก่อนแชร์ คิดก่อนใช้ ซึ่งกรมแนะนำว่า ถ้าไม่ชัวร์ ไม่แชร์จะดีกว่า" นางมาลีกล่าว

สำหรับสิ่งที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะจะละเมิดลิขสิทธิ์ คือ การนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ เช่น บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น มาใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า เช่น การก็อบปี้งานดังกล่าวมาขาย เพื่อประโยชน์ของตนเอง

หรือการดาวน์โหลดภาพยนตร์ หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ตนำมาแชร์ต่อให้ผู้อื่น หากจะแชร์ต่อ ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์ก่อน แต่หากดาวน์โหลดมาฟัง หรือชมเอง สามารถทำได้

ส่วนการแฮ็กข้อมูล ซึ่งเป็นการหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต หรือกรณีที่แฮ็กข้อมูลแล้วนำรูปภาพ คลิปวิดีโอ ฯลฯ มาใช้ โดยลบลายน้ำดิจิทัลออก และปรับแต่งรูปภาพ หรือคลิปวิดีโอ และโพสต์บนเว็บไซต์ของตนเอง จะมีความผิด.

http://www.thaipost.net/?q=ไขข้องใจกมลิขสิทธิ์ไม่ชัวร์อย่าแชร์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.