Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) DTAC ระบุ เรายืนยันจะคืนคลื่นโดยไม่มีเงื่อนไข และยืนยันว่าดีแทคสนใจและพร้อมเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 คลื่น แม้ว่าหลังจากการคืนคลื่นนั้นจะมีความซับซ้อนในการโอนย้ายลูกค้าที่ยังคงเหลือบนคลื่น

ประเด็นหลัก


นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคยืนยันเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4จี อย่างแน่นอน โดยขณะนี้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูล ทั้งยังยืนยันความต้องการเดิมในการคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งานประมาณ 5 เมกะเฮิรตซ์ บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์อีกด้วย

"เรายืนยันจะคืนคลื่นโดยไม่มีเงื่อนไข และยืนยันว่าดีแทคสนใจและพร้อมเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 คลื่น แม้ว่าหลังจากการคืนคลื่นนั้นจะมีความซับซ้อนในการโอนย้ายลูกค้าที่ยังคงเหลือบนคลื่นดังกล่าว โดยใช้กระบวนการเทคนิคคือให้บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ย้ายลูกค้าที่ยังคงเหลืออยู่บนคลื่นดังกล่าว รวมถึงขั้นตอนอื่นๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เพื่อตรวจสอบคลื่นสัญญาณรบกวนก่อนดำเนินการก็ตาม ซึ่งการดำเนินการคืนคลื่นนั้นยังอยู่ระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาสัมปทานของ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยบริษัทจำเป็นต้องรอหนังสืออนุญาตอย่างเป็นทางการก่อนดำเนินการต่อไป"


_____________________________________________________













นับวันรอประมูล! ดีแทคยันเจตนาดี พร้อมคืนคลื่น 1800MHz


ดีแทค ยืนยันพร้อมเข้าร่วมประมูล 4จี และคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งาน เกือบ 5 เมกะเฮิรตซ์ ส่งสัญญาณ 3 ข้อถึง กสทช. หวังช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย…

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคยืนยันเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4จี อย่างแน่นอน โดยขณะนี้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูล ทั้งยังยืนยันความต้องการเดิมในการคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งานประมาณ 5 เมกะเฮิรตซ์ บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์อีกด้วย

"เรายืนยันจะคืนคลื่นโดยไม่มีเงื่อนไข และยืนยันว่าดีแทคสนใจและพร้อมเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 คลื่น แม้ว่าหลังจากการคืนคลื่นนั้นจะมีความซับซ้อนในการโอนย้ายลูกค้าที่ยังคงเหลือบนคลื่นดังกล่าว โดยใช้กระบวนการเทคนิคคือให้บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ย้ายลูกค้าที่ยังคงเหลืออยู่บนคลื่นดังกล่าว รวมถึงขั้นตอนอื่นๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เพื่อตรวจสอบคลื่นสัญญาณรบกวนก่อนดำเนินการก็ตาม ซึ่งการดำเนินการคืนคลื่นนั้นยังอยู่ระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาสัมปทานของ บมจ.กสท โทรคมนาคม โดยบริษัทจำเป็นต้องรอหนังสืออนุญาตอย่างเป็นทางการก่อนดำเนินการต่อไป"

นอกจากนี้ ดีแทค ยังต้องการเสนอความเห็นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. สนับสนุนการประมูลแบบซิงเกิลออคชั่น เพื่อจัดทำการประมูลคลื่นพร้อมกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประมูลสามารถเลือกคลื่นได้เอง 2. เสนอให้ กสทช. จัดทำสเปกตรัม โรดแม็ป เพื่อเห็นทิศทางในการจัดสรรคลื่นความถี่ได้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนทางธุรกิจของผู้ให้บริการเครือข่าย 3. สนับสนุนการให้บริการ 4จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อทำให้ผู้ให้บริการสามารถรองรับความต้องการใช้งาน 4จี ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจของดีแทคที่ลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 บริษัทยังคาดหวังจะผลักดันการเติบโตให้กลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง ด้วยการมุ่งเน้นใน 4 ด้าน ได้แก่ 1. เครือข่าย ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งขยายโครงข่าย 3จี ให้มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุม 95% ของจำนวนประชากร 2. ติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดจากการปรับโครงสร้างบริหารองค์กรใหม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค 3. เพิ่มรายได้จากการให้บริการดาต้า เพื่อรองรับเทรนด์การใช้งานเสียงที่ลดลง 4. พัฒนางานบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น.

http://www.thairath.co.th/content/519581

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.