Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2558 (บทความ) นศ.มิชิแกนพัฒนาแอปเพื่อนร่วมทาง เพื่อการกลับบ้านที่ปลอดภัย // การเดินกลับบ้านคนเดียวอาจเป็นเรื่องที่ต้องกังวลของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินผ่านที่มืด ที่เปลี่ยว หรือบ้านอยู่ในซอยลึก

ประเด็นหลัก





นศ.มิชิแกน พัฒนาแอปเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง “คอมพาเนียน” (Companion) โดยจับมือกับหน่วยงานด้านความปลอดภัยของรัฐมิชิแกน และใช้แอปดังกล่าวแจ้งจุดอันตรายได้ด้วย
การเดินกลับบ้านคนเดียวอาจเป็นเรื่องที่ต้องกังวลของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินผ่านที่มืด ที่เปลี่ยว หรือบ้านอยู่ในซอยลึก อย่างไรก็ดี ได้มีกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยมิชิแกนพัฒนาแอปสำหรับเป็นเพื่อนร่วมทางกลับบ้านออกมาให้ได้ใช้งานกันแล้ว โดยผู้ที่ใช้แอปดังกล่าวสามารถเลือกใครสักคนที่คุณไว้ใจในรายชื่อ (Contacts) เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทางกลับบ้านด้วยกัน
จากนั้นแม้คุณกับเพื่อนร่วมทางคนนั้นจะแยกย้ายกันเดินกลับบ้าน แต่ระบบจะแจ้งเตือนสถานะการเดินกลับบ้านของคุณให้เพื่อนคนดังกล่าวทราบโดยตลอด โดยเพื่อนที่ผู้ใช้เลือกขึ้นมาจะมองเห็นว่าคุณเดินถึงตรงไหนแล้ว (ระบบจะส่งลิงก์แผนที่เข้าไปให้ในโทรศัพท์ของเพื่อนผ่านบริการข้อความ)

ไม่เพียงเท่านั้น หากในระหว่างการเดินผู้ใช้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลใดก็ตาม เช่น ต้องเดินผ่านที่เปลี่ยว มืด มีคนเดินตาม หรือพบเหตุการณ์ เสียงประหลาดๆ จากสองข้างทางก็สามารถแจ้งเตือนไปยังเพื่อนที่ผู้ใช้กำหนดเอาไว้เพื่อให้เขาติดต่อมาหา ซึ่งในกรณีนี้ ระบบจะทำการมาร์กจุดที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกหวาดกลัวเอาไว้ในระบบด้วย ซึ่งข้อมูลของสถานที่เหล่านี้จะถูกส่งไปยังหน่วยงานด้านความปลอดภัยของเมืองในการหาทางทำให้สถานที่เหล่านั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น อาจส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตราบริเวณนั้นๆ ให้บ่อยขึ้น เป็นต้น





___________________________________







นศ.มิชิแกนพัฒนาแอปเพื่อนร่วมทาง เพื่อการกลับบ้านที่ปลอดภัย


นศ.มิชิแกน พัฒนาแอปเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง “คอมพาเนียน” (Companion) โดยจับมือกับหน่วยงานด้านความปลอดภัยของรัฐมิชิแกน และใช้แอปดังกล่าวแจ้งจุดอันตรายได้ด้วย
การเดินกลับบ้านคนเดียวอาจเป็นเรื่องที่ต้องกังวลของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินผ่านที่มืด ที่เปลี่ยว หรือบ้านอยู่ในซอยลึก อย่างไรก็ดี ได้มีกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยมิชิแกนพัฒนาแอปสำหรับเป็นเพื่อนร่วมทางกลับบ้านออกมาให้ได้ใช้งานกันแล้ว โดยผู้ที่ใช้แอปดังกล่าวสามารถเลือกใครสักคนที่คุณไว้ใจในรายชื่อ (Contacts) เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทางกลับบ้านด้วยกัน
จากนั้นแม้คุณกับเพื่อนร่วมทางคนนั้นจะแยกย้ายกันเดินกลับบ้าน แต่ระบบจะแจ้งเตือนสถานะการเดินกลับบ้านของคุณให้เพื่อนคนดังกล่าวทราบโดยตลอด โดยเพื่อนที่ผู้ใช้เลือกขึ้นมาจะมองเห็นว่าคุณเดินถึงตรงไหนแล้ว (ระบบจะส่งลิงก์แผนที่เข้าไปให้ในโทรศัพท์ของเพื่อนผ่านบริการข้อความ)
ไม่เพียงเท่านั้น หากในระหว่างการเดินผู้ใช้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลใดก็ตาม เช่น ต้องเดินผ่านที่เปลี่ยว มืด มีคนเดินตาม หรือพบเหตุการณ์ เสียงประหลาดๆ จากสองข้างทางก็สามารถแจ้งเตือนไปยังเพื่อนที่ผู้ใช้กำหนดเอาไว้เพื่อให้เขาติดต่อมาหา ซึ่งในกรณีนี้ ระบบจะทำการมาร์กจุดที่ทำให้คุณเกิดความรู้สึกหวาดกลัวเอาไว้ในระบบด้วย ซึ่งข้อมูลของสถานที่เหล่านี้จะถูกส่งไปยังหน่วยงานด้านความปลอดภัยของเมืองในการหาทางทำให้สถานที่เหล่านั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น อาจส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจตราบริเวณนั้นๆ ให้บ่อยขึ้น เป็นต้น

นศ.มิชิแกนพัฒนาแอปเพื่อนร่วมทาง เพื่อการกลับบ้านที่ปลอดภัย
ภาพจากแอป Companion

นอกเหนือจากการใช้งานบนไอโฟน แอปดังกล่าวยังทำงานได้บน Apple Watch ด้วย ซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้เกิดความรู้สึกหวาดกลัว เซนเซอร์ของ Apple Watch จะตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจเอาไว้ด้วย และใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งสัญญาณบ่งชี้ว่ามีบางสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบได้ตั้งเวลาเอาไว้ 15 วินาที สำหรับให้ผู้สวมตั้งสติ และยืนยันต่อแอปว่าทุกอย่างปกติ คุณยังสบายดี มิเช่นนั้นมันจะแจ้งเตือนไปยังเพื่อนของคุณ รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้าช่วยเหลือ
แดนนี่ ฟรีด (Danny Freed) หนึ่งใน 9 ทีมงานผู้พัฒนาแอปจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เผยว่า ได้ทดลองแอป Companion ครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนเมื่อภาคการศึกษาที่ผ่านมา
โดยในระยะเริ่มแรกของการพัฒนาเป็นเพียงการใช้เพื่อมอนิเตอร์ความปลอดภัยในกลุ่มเพื่อน ๆ ของผู้พัฒนาเท่านั้น ในเวลาต่อมาเขาก็ได้รับการติดต่อจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยของรัฐมิชิแกนว่า ต้องการร่วมงานกับแอปดังกล่าว ซึ่งความสามารถของแอปที่สามารถแจ้งจุดอันตรายภายในเมืองได้นั้น คือ ข้อมูลสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐต้องการนั่นเอง
แม้จะเป็นแอปที่มีอายุไม่ถึง 1 ปี แต่ในตอนนี้บริษัทก็กำลังรุกทำตลาดในสถานศึกษากว่า 14 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University), มหาวิทยาลัย Vanderbilt, มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) เป็นต้น



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000098437&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+1-9-58&utm_campaign=20150831_m127168032_Manager+Morning+Brief+1-9-58&utm_term=_E0_B8_99_E0_B8_A8__E0_B8_A1_E0_B8_B4_E0_B8_8A_E0_B8_B4_E0_B9_81_E0_B8_81_E0_B8_99_E0_B8_9E_E0_B8_B1_E0_B8_92_E0_B8_99_E0_B8_B2_E0_B9_81_E0_B8_AD_E0_B8_9B_E0_B9_80_E0_B8_9E_E0_B8_B7_E0_B9_88_E0_B8_AD_E0_B8_99_E0_B8_A3_E0_B9_88_E0_B8_A7_E0_B8_A1_E0_B8_97_E

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.