Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 นายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตมาว่า อย่างน้อยต้องมีราคาการส่งเสริมการขายพื้นฐานต่ำ ค่าเน็ตตามจริงไม่มีการปัดเศษ การันตีความเร็วขั้นต่ำอินเทอร์เน็ตที่ 2 Mbps มีแพ็กเกจสำหรับผู้พิการ แต่เกณฑ์ของ กสทช.ยังไม่ตอบโจทย์ว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการประมูล

ประเด็นหลัก



จี้คุ้มครองผู้บริโภค

ด้าน กสทช. "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กล่าวว่าควรออกเกณฑ์คุ้มครองผู้บริโภคอย่าง บังคับขยายโครงข่ายให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงศักยภาพของคลื่น อาทิ คลื่น 900 MHz ในเยอรมนีกำหนดที่ 90% ของพื้นที่ 2.การตั้งสถานีฐานและเสาส่งต้องไม่ก่อปัญหาให้กับผู้บริโภค 3.ราคาตั้งต้นต้องสะท้อนมูลค่า และมีการแข่งขันอย่างแท้จริง

"ที่นายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตมาว่า อย่างน้อยต้องมีราคาการส่งเสริมการขายพื้นฐานต่ำ ค่าเน็ตตามจริงไม่มีการปัดเศษ การันตีความเร็วขั้นต่ำอินเทอร์เน็ตที่ 2 Mbps มีแพ็กเกจสำหรับผู้พิการ แต่เกณฑ์ของ กสทช.ยังไม่ตอบโจทย์ว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการประมูล"




______________________________________________





ตีแผ่จุดบอดเกณฑ์ประมูล 4G "รัฐ-ประชาชน" ได้คุ้มเสีย ?


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

งวดเข้ามาทุกทีกับการ จัดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ของ "กสทช." คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ล่าสุด โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม (NBTC Policy Watch) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเวที "ประมูล 4 จี ใครได้-ใครเสีย : รัฐ ผู้ประกอบการ ประชาชน)"

TDRI ชี้ยังเสี่ยงสูงประมูลจะล่ม

"ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า การตั้งแง่สิทธิ์ในคลื่นของรัฐวิสาหกิจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้การประมูลคลื่นไม่เกิดขึ้น จนสุดท้ายอาจฟ้องขอศาลคุ้มครอง ทั้งยังมีชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลที่ถ้าประกาศใช้อาจทำให้ไม่เกิดการประมูลคลื่นได้

"หากมีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อให้รัฐวิสาหกิจได้มีสิทธิ์ใช้งานในคลื่นต่อไป รัฐบาลต้องตอบคำถามได้ว่า เป็นแนวทางที่ส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจริงหรือไม่ คลื่นที่ถูกดึงไว้ได้ใช้ประโยชน์เต็มประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมหรือไม่"


ร่างเกณฑ์ประมูลชนวนปัญหา

ขณะที่เงื่อนไขประมูลยังมีปัญหาหลายจุด ทั้งราคาเริ่มต้นที่ใช้ผลการศึกษาเดิมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งประเมินบนฐานใบอนุญาต 15 ปี แต่ครั้งนี้ขยายเป็น 19 ปี ราคาจึงต่ำไป ทั้งบังคับขยายโครงข่ายแค่ 40% ของประชากร กสทช.จึงควรเปิดเผยรายงานผลการศึกษาราคาคลื่น และไม่ควรกำหนดเพดานการถือครองคลื่นทุกย่าน (Spectrum Cap) รวมกันที่ 60 MHz เพราะยังไม่ชัดเจนเรื่องที่มาของตัวเลขนี้ ทั้งทำให้แรงจูงใจในการประมูลลดลง และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้รายใดรายหนึ่ง

"ไอเดียจัดประมูลเช้า-บ่าย เสี่ยงที่จะฮั้วประมูลได้ ควรแยกจัดให้ห่างหรือประมูลแบบ Multiband จะดีกว่าเพราะได้เห็นราคาที่แท้จริง"



ขณะที่งานวิจัย "ประมูล 4G กับผลประโยชน์สาธารณะ" ของ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างเกณฑ์การประมูลว่า การกำหนดจำนวนใบอนุญาตของ กสทช.อาจจงใจทำให้จำนวนใบอนุญาตมีน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าประมูล ทั้งยังจัดประมูลใบอนุญาตด้วยชุดคลื่นขนาดใหญ่จนปิดโอกาสผู้ประกอบการรายเล็ก และไม่ยืดหยุ่นในการปรับขนาดคลื่นความถี่ที่ต้องการถือครอง ทำให้การกระจายการถือครองคลื่นไม่ได้ใช้กลไกตลาดอย่างเต็มที่

ทั้งพบว่า ลำดับการประมูลคลื่นก่อน-หลัง จะไม่สะท้อนมูลค่าคลื่นที่แท้จริง เนื่องจากจำกัดความสามารถในการทดแทนกันของคลื่น ทำให้ผู้ประกอบการจัดแพ็กเกจของการถือครองคลื่นที่เหมาะสมได้ยาก รวมถึงอาจมีการดันราคาคลื่นที่ตัวเองไม่ได้ต้องการให้สูงขึ้น เพื่อลดการแข่งขันในการประมูลคลื่นย่านที่ต้องการได้

ด้านราคาตั้งต้นการประมูล หากเปรียบเทียบกับการประมูลคลื่น 2100 MHz ที่จัดไปก่อนนี้พบว่า ราคาคลื่น 900 MHz ที่ กสทช.ตั้งขึ้นมีมูลค่าต่ำกว่าทั้งที่เป็นคลื่นที่มีมูลค่าทางธุรกิจสูงกว่า ขณะที่คลื่น 1800 MHz มีอายุใบอนุญาตมากกว่า 2100 MHz ถึง 4 ปี แต่กลับมีราคาตั้งต้นใกล้เคียงกัน ส่วน Spectrum Cap 60 MHz แม้จะช่วยป้องกันการกักตุนคลื่น แต่เมื่อไม่มีแนวทางส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่จึงอาจไม่มีประโยชน์ ทั้งยังลดการแข่งขันลงโดยไม่ได้ศึกษาตัวเลขที่เหมาะสมทางวิชาการมารองรับ

แนะแนวทางประมูล 4G

"ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล" กล่าวว่าควรจัดประมูล 2 คลื่นพร้อมกันเพื่อสะท้อนราคาที่แท้จริง ทั้งแบ่งคลื่นเป็นใบอนุญาตละ 2x5 MHzโดยคลื่น 900 MHz มี 4 ใบอนุญาต และให้ถือได้ไม่เกิน 2 ไลเซนส์ ส่วน 1800 MHz มี 5-6 ใบอนุญาต และถือได้ไม่เกิน 3 ไลเซนส์

จี้คุ้มครองผู้บริโภค

ด้าน กสทช. "ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กล่าวว่าควรออกเกณฑ์คุ้มครองผู้บริโภคอย่าง บังคับขยายโครงข่ายให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงศักยภาพของคลื่น อาทิ คลื่น 900 MHz ในเยอรมนีกำหนดที่ 90% ของพื้นที่ 2.การตั้งสถานีฐานและเสาส่งต้องไม่ก่อปัญหาให้กับผู้บริโภค 3.ราคาตั้งต้นต้องสะท้อนมูลค่า และมีการแข่งขันอย่างแท้จริง

"ที่นายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตมาว่า อย่างน้อยต้องมีราคาการส่งเสริมการขายพื้นฐานต่ำ ค่าเน็ตตามจริงไม่มีการปัดเศษ การันตีความเร็วขั้นต่ำอินเทอร์เน็ตที่ 2 Mbps มีแพ็กเกจสำหรับผู้พิการ แต่เกณฑ์ของ กสทช.ยังไม่ตอบโจทย์ว่าผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการประมูล"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440415984

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.