Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) เบื้องต้นการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz จะทำการจัดสรรใบอนุญาต จำนวน 2 ใบ ขนาด 10x2 ใบ เป็นระยะเวลา 15 ปี (ก.ย.2573) โดยมีราคาตั้งต้นการประมูลอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท หากคิดที่ 80% ของมูลค่าคลื่น แต่ถ้าคิดมูลค่าคลื่น 100% ราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 16,080 ล้านบาท

ประเด็นหลัก




       ทั้งนี้ เบื้องต้นการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz จะทำการจัดสรรใบอนุญาต จำนวน 2 ใบ ขนาด 10x2 ใบ เป็นระยะเวลา 15 ปี (ก.ย.2573) โดยมีราคาตั้งต้นการประมูลอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท หากคิดที่ 80% ของมูลค่าคลื่น แต่ถ้าคิดมูลค่าคลื่น 100% ราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 16,080 ล้านบาท หากมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต ส่วนเงื่อนไขความครอบคลุมนั้นกำหนดให้ 4 ปีเท่ากับ 50% ของจำนวนประชากร และ 8 ปีเท่ากับ 80% ของจำนวนประชากร
     
       นายฐากร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุม กทค. ยังได้ลงนามในคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ทุกรายปฏิบัติตามคำสั่งในกรณีการโอนย้ายเลขหมายให้ถูกต้องตามขั้นตอนทุกขั้น ตอนตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี) และเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยได้กำหนดค่าปรับจากการคำนวณรายได้ของโอเปอเรเตอร์ในแต่ละราย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะกำหนดค่าปรับดังต่อไปนี้ 1.เอไอเอส กำหนดอัตราค่าปรับ 3,294,744 บาทต่อวัน 2.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กำหนดอัตราค่าปรับ 11,801,567 บาทต่อวัน 3.บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กำหนดอัตราค่าปรับ 8,074,568 บาทต่อวัน 4.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด กำหนดอัตราค่าปรับ 6,156,184 บาทต่อวัน 5.บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 281,510 บาทต่อวัน 6.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 169,244 บาทต่อวัน จึงขอให้โอเปอเรเตอร์ ทั้ง 6 ราย ดำเนินการตามประกาศดังกล่าวภายใน 7 วันหลังจากที่ได้รับหนังสือ หากบริษัทไม่ปฏิบัติตาม เลขาธิการ กสทช. จะใช้อำนาจตามมาตรา 66 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มีคำสั่งให้บริษัทชำระค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้




______________________________________________






เล็งประมูลคลื่น 900 MHz 15 ธ.ค.


        บอร์ด กทค.เผย 16 ก.ย.นี้ เตรียมชงบอร์ด กสทช.เคาะวันประมูลคลื่น 900 MHz เป็นวันที่ 15 ธ.ค.ตามเดิม เพื่อให้มีการแข่งขันมากขึ้น ขณะที่งานแผนคลื่นความถี่ และโครงการนำเสาโทรคมนาคมลงดินจะชัดเจนในวันที่ 14 ก.ย.นี้ หลังเข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่า ที่ประชุมจะนำคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย.58 นี้ ไปดำเนินการประมูลในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ซึ่งเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมที่จะประมูลในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการประมูลคลื่น 1800 MHz ในช่วงเดือน พ.ย. เนื่องจากจะทำให้เกิดการแข่งขันในการประมูลมากกว่าการจัดงานในช่วงเวลาเดียวกัน
     
       แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นในส่วนของวันประมูลดังกล่าวต้องยอมรับว่ายังไม่ได้เป็นมติอย่างเป็นทางการในที่ประชุม กทค.ซึ่งจะต้องเสนอเข้าที่ประชุม กสทช.ในวันที่ 16 ก.ย.นี้อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ในวันที่ 14 ก.ย.นี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะมารับฟังและหาข้อสรุปแนวทางการจัดสรรคลื่น และเรื่องการนำเสาโทรคมนาคมลงดิน
     
       ทั้งนี้ เบื้องต้นการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz จะทำการจัดสรรใบอนุญาต จำนวน 2 ใบ ขนาด 10x2 ใบ เป็นระยะเวลา 15 ปี (ก.ย.2573) โดยมีราคาตั้งต้นการประมูลอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท หากคิดที่ 80% ของมูลค่าคลื่น แต่ถ้าคิดมูลค่าคลื่น 100% ราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 16,080 ล้านบาท หากมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต ส่วนเงื่อนไขความครอบคลุมนั้นกำหนดให้ 4 ปีเท่ากับ 50% ของจำนวนประชากร และ 8 ปีเท่ากับ 80% ของจำนวนประชากร
     
       นายฐากร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุม กทค. ยังได้ลงนามในคำสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) ทุกรายปฏิบัติตามคำสั่งในกรณีการโอนย้ายเลขหมายให้ถูกต้องตามขั้นตอนทุกขั้น ตอนตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี) และเงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยได้กำหนดค่าปรับจากการคำนวณรายได้ของโอเปอเรเตอร์ในแต่ละราย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะกำหนดค่าปรับดังต่อไปนี้ 1.เอไอเอส กำหนดอัตราค่าปรับ 3,294,744 บาทต่อวัน 2.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กำหนดอัตราค่าปรับ 11,801,567 บาทต่อวัน 3.บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กำหนดอัตราค่าปรับ 8,074,568 บาทต่อวัน 4.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด กำหนดอัตราค่าปรับ 6,156,184 บาทต่อวัน 5.บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 281,510 บาทต่อวัน 6.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 169,244 บาทต่อวัน จึงขอให้โอเปอเรเตอร์ ทั้ง 6 ราย ดำเนินการตามประกาศดังกล่าวภายใน 7 วันหลังจากที่ได้รับหนังสือ หากบริษัทไม่ปฏิบัติตาม เลขาธิการ กสทช. จะใช้อำนาจตามมาตรา 66 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มีคำสั่งให้บริษัทชำระค่าปรับตามอัตราที่กำหนดไว้


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000102899

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.