Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 (เกาะติดประมูล4G) AIS ระบุ บริษัทเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์การประมูลที่ กสทช. กำหนดขึ้น และพร้อมเข้าร่วมประมูล และต้องการให้การประมูลจัดขึ้นโดยเร็ว

ประเด็นหลัก




ด้านนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์การประมูลที่ กสทช. กำหนดขึ้น และพร้อมเข้าร่วมประมูล และต้องการให้การประมูลจัดขึ้นโดยเร็ว




______________________________________________





กสทช.ลุยประมูล900พ.ย.นี้ ผู้บริโภคทวงบริการราคาถูก



ประชาพิจารณ์ 900 MHz เวทีขอนแก่น หนุนจัดประมูล 11 ก.ย. พร้อมคลื่น 1800 MHz อ้างประหยัดงบฯ ฟากเอไอเอสหนุนเต็มสูบพร้อมลุยประมูล ขณะ "ทรู"บ่นแพงกว่าประเทศอื่นถึง 4 เท่า ด้านผู้บริโภคทวงสัญญาค่าบริการราคาถูก "กสทช." ประกาศลุยจัดประมูลไม่สหภาพทีโอทียื่นคัดค้าน


นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า กสทช.ยังจะเดินหน้าจัดประมูลคลื่นตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากมีกฎหมายรองรับการดำเนินการทุกอย่าง โดยจะรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz ที่ได้เปิดประชาพิจารณ์เข้าบอร์ดเพื่อสรุปอีกครั้งว่า จะจัดการประมูลเมื่อใดและจะมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง แต่ที่แน่นอนคือจะจัดประมูลในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการให้บริการ หลังสัมปทานเดิมจะสิ้นสุด30 ก.ย.นี้

ขณะที่เวทีประชาพิจารณ์ที่ขอนแก่น เมื่อ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา มีตัวแทนจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และภาคประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนมาก รวมถึงตัวแทนจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที ที่รวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านการจัดประมูลคลื่น 900 MHz ที่มีชื่อผู้สนับสนุน 4,300 รายชื่อ โดยภาคประชาชนที่เข้าร่วมแสดงความเห็นต่างมองว่า เป็นการใช้งบประมาณสิ้นเปลือง หากไม่จัดประมูลคลื่น 900 MHz ในวันที่ 11 พ.ย. พร้อมกับการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ทั้งยังทวงถามถึงเงื่อนไขค่าบริการที่ต้องลดลงจากการเปิดประมูล 3G จึงต้องทราบอัตราค่าบริการโมบายอินเทอร์เน็ตของ 4G ให้ชัดเจน




ประชาพิจารณ์เวทีสุดท้าย - กสทช. เปิดเวทีฟังความเห็นภาคเอกชนและผู้บริโภคเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz ที่ขอนแก่น ก่อนนำไปปรับปรุงเสนอให้บอร์ดพิจารณา

ด้านนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า บริษัทเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์การประมูลที่ กสทช. กำหนดขึ้น และพร้อมเข้าร่วมประมูล และต้องการให้การประมูลจัดขึ้นโดยเร็ว

ส่วนนายพิชิต แก้วมาคูณ ผู้แทน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า บริษัทสนใจจะเข้าประมูลครั้งนี้ เนื่องจากคลื่น 900 MHz มีจุดเด่นด้านความครอบคลุมที่ช่วยประหยัดต้นทุนการตั้งสถานีฐาน แต่เสนอให้ กสทช.แบ่งคลื่นประมูลใบอนุญาตละ 5 MHz และแต่ละรายเข้าประมูลได้ไม่เกิน 2 ใบอนุญาต (10 MHz) เพื่อเปิดโอกาสให้มีการกระจายการใช้คลื่น

ขณะที่นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การประมูลครั้งนี้ควรจะลดราคาตั้งต้นลงมา เนื่องจากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น เยอรมนี จะมีราคาต่อ MHz ถูกกว่าราคาต่อ MHz ตั้งต้นในประเทศไทยถึง 4 เท่าตัว ส่วนเรื่องอื่นทางบริษัทเห็นด้วยกับร่างประกาศฉบับดังกล่าว

ด้านนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวชี้แจงว่า เหตุที่การประมูลต้องจัด 2 ครั้ง เพราะหากมีเหตุให้ต้องระงับหรือยกเลิกการประมูลจะกระทบกับการประมูลทั้ง 2 ย่านคลื่น เช่น กรณีที่ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งถ้ามีเหตุให้กระทบการประมูลทั้ง 2 คลื่นจะกระทบกับเงินรายได้ที่จะเข้าประเทศจำนวนมาก

ส่วนเรื่องอัตราค่าบริการนั้น กสทช.มีกรอบเพดานราคาขั้นสูงไว้อยู่แล้ว และสภาพการแข่งขันยังทำให้ผู้ประกอบการต้องแข่งกันลดราคาอยู่แล้ว

"ที่สหภาพทีโอทียื่นเรื่องคัดค้าน กสทช.ไม่สามารถระงับได้ เพราะผิด พ.ร.บ.กสทช. ที่กำหนดให้ต้องนำคลื่นที่หมดสัมปทานมาจัดสรรใหม่ด้วยการจัดประมูล ส่วนผู้ใช้คลื่น 900 MHz ที่ยังค้างอยู่ในระบบ หลังหมดสัมปทานจะเข้าสู่ช่วงมาตรการเยียวยา และเมื่อ กสทช.ประกาศรับรองผลประมูลภายใน 7 วันหลังจบการประมูล มาตรการเยียวยาจะสิ้นสุด หากเอไอเอสไม่ได้คลื่นนี้ต่อ ซิมก็จะดับโดยอัตโนมัติ หากลูกค้าไม่ย้ายไปใช้บริการของค่ายอื่น"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441255290

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.