Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ และช่อง 9 MCOT HD จะปรับภาพลักษณ์ใหญ่และรีเฟรชแบรนด์ในรอบ 63 ปี และ การจับมือกับ 2 พันธมิตรที่สำคัญ คือ “ทรูวิชั่นส์” มีการนำคอนเทนต์ไทยพรีเมียร์ลีกมาออกอากาศ และยังจะมีการพัฒนาคอนเทนต์ร่วมกันอีก ที่สำคัญภายในเดือน ก.ย. ศกนี้ “ทรูวิชั่นส์” ยังได้ปรับช่อง 9HD ให้มาอยู่ที่หมายเลขช่อง 9 ของกล่องทรูวิชั่นส์

ประเด็นหลัก


       ในช่วงไตรมาสสี่ ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ และช่อง 9 MCOT HD จะปรับภาพลักษณ์ใหญ่และรีเฟรชแบรนด์ในรอบ 63 ปี ปรับมู้ดแอนด์โทนใหม่ในการนำเข้าเสนอรายการต่างๆ ภายใต้โลโก้เดิมและสโลแกนใหม่คือ “เปิดโลกกว้าง สร้างความสุข” เพิ่มคอนเทนต์ใหม่เพื่อจับฐานผู้ชมอายุ 25-35 ปี รวมถึงนำเสนอรายการที่กลุ่มผู้สูงอายุและคนทำงานสามารถรับชมร่วมกันได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ก.ย.ศกนี้ เป็นต้นไป
     
       สำหรับไตรมาสสี่จะใช้งบกว่า 300-400 ล้านบาทพัฒนาคอนเทนต์รายการใหม่จากงบรวมที่เดิมวางไว้ 1 พันล้านบาท เพิ่มเป็น 1.3-1.4 พันล้านบาท โดยเฉพาะผังรายการในไตรมาสสี่จะมีรายการใหม่ทยอยเข้ามา 5-10 รายการ ซึ่งมีทั้งผลิตเองและจ้างผลิต เช่น รายการเกมส้มหล่น, รายการเลขท้ารวย ID Lucky number, รายการ The Talk, ซีรีส์ Part of Love รัก+เกรียน นักเรียน 4 ภาค, รายการเปิดเมืองแปลก เป็นต้น ซึ่งเข้ามาแทนรายการเดิมที่พันธมิตรร่วมผลิตถอนตัวออกไป เช่น นัดกับนัด และบ้านนี้มีรัก ของเอ็กซ์แซกท์ เป็นต้น รวมถึงรายการซีซันนอลโปรแกรมที่จบลง ส่งผลให้สัดส่วนรายการที่ผลิตเองเพิ่มเป็น 70% จากเดิม 55%
     
       “งบลงทุนคอนเทนต์ปีนี้ปรับเพิ่มเป็น 1.4-1.5 พันล้านบาท จากเดิมวางไว้ 1 พันล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันของตลาด ส่วนในปีหน้าเชื่อว่าจะใช้งบด้านคอนเทนต์ในอัตราเดียวกันคือ 1.5 พันล้านบาท รวมถึงค่าสัมปทาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 1 พันล้านบาท รวมแล้วปีหน้าจะใช้งบในส่วนของธุรกิจทีวีราว 2.5 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับปีนี้”
     
       ปัจจุบันรายการข่าวค่ำยังทำรายได้หลักให้ธุรกิจทีวี 30% โดยมีอัตราโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 3 แสนบาทต่อนาที และรายการวาไรตีใหม่กำลังมีเรตติ้งที่ดีขึ้น เช่น ข่าวดังข้ามเวลา, ยิ่งถก กนกซัก เป็นต้น ขณะที่การปรับผังรายการใหม่ครั้งนี้ยังส่งผลต่อสัดส่วนรายการใหม่ เป็น ข่าว 31% สารบันเทิงลดลงเหลือ 20% จากเดิม 23% และบันเทิงเพิ่มขึ้นเป็น 45-50% จากเดิม 36% และรายการอื่นอีก 3-5%
     
       นอกจากการปรับภาพลักษณ์แบรนด์และคอนเทนต์ใหม่แล้ว บริษัทฯ ยังปรับแผนธุรกิจใหม่อีก 2 ด้าน คือ การจับมือกับ 2 พันธมิตรที่สำคัญ คือ “ทรูวิชั่นส์” มีการนำคอนเทนต์ไทยพรีเมียร์ลีกมาออกอากาศ และยังจะมีการพัฒนาคอนเทนต์ร่วมกันอีก ที่สำคัญภายในเดือน ก.ย. ศกนี้ “ทรูวิชั่นส์” ยังได้ปรับช่อง 9HD ให้มาอยู่ที่หมายเลขช่อง 9 ของกล่องทรูวิชั่นส์ จากเดิมอยู่ที่หมายเลขช่อง 16 และ 40 เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มเรตติ้งการรับชมช่อง 9 ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ “กลุ่มบริษัทเนชั่น” จากปัจจุบันมี 1 รายการ คือ ยิ่งถก กนกซัก จะมีความร่วมมือในการผลิตรายการ The Champ เรียลิตีโชว์ เฟ้นหาสุดยอดนักมวยไทยสมัครเล่น






______________________________________________






เพิ่มงบคอนเทนต์ทะลุ 1.4 พันล้าน รับศึกทีวีระอุ


        ASTVผู้จัดการรายวัน - ปรับใหญ่รอบ 63 ปี “ช่อง 9” หวังภาพลักษณ์ใหม่ ลดช่องว่างเพิ่มฐานวัยทำงานแทนผู้สูงอายุ ปรับงบคอนเทนต์สู่ 1.3-1.4 พันล้านบาท จากเดิม 1 พันล้านบาท เพิ่มรายการใหม่อีก 5-10 รายการลงผังไตรมาสสี่ ควง “ทรูวิชั่นส์” ส่งช่องลงหมายเลขช่องที่ 9 หวังช่วยเพิ่มเรตติ้งช่องติดอันดับ 5-8 สู่ฝัน 4 พันล้านบาทในสิ้นปีนี้ตามแผน
     
       นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ ทั้งภายในองค์กรและผังรายการให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยที่มีอยู่กว่า 20 กว่าช่องให้ได้ โดยช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ถือเป็นช่องฟรีทีวีช่องแรกของไทย ตั้งแต่เริ่มเป็นช่อง 4 บางขุนพรหม ล่าสุดมีการสำรวจพบว่ากลุ่มผู้ชมหลักของช่อง 9 คืออายุ 40 ปีขึ้นไป คิดเป็น 62% ของจำนวนผู้ชมทั้งหมด ขณะที่ประชากรกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 40% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และปัจจุบันเมื่อเทียบกับทั้งอุตสาหกรรม ช่อง 9 มีเรตติ้งช่องอยู่ในอันดับ 5-8 โดยคู่แข่งที่สำคัญคือ ช่องวัน และช่อง 8
     
       ในช่วงไตรมาสสี่ ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ และช่อง 9 MCOT HD จะปรับภาพลักษณ์ใหญ่และรีเฟรชแบรนด์ในรอบ 63 ปี ปรับมู้ดแอนด์โทนใหม่ในการนำเข้าเสนอรายการต่างๆ ภายใต้โลโก้เดิมและสโลแกนใหม่คือ “เปิดโลกกว้าง สร้างความสุข” เพิ่มคอนเทนต์ใหม่เพื่อจับฐานผู้ชมอายุ 25-35 ปี รวมถึงนำเสนอรายการที่กลุ่มผู้สูงอายุและคนทำงานสามารถรับชมร่วมกันได้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ก.ย.ศกนี้ เป็นต้นไป
     
       สำหรับไตรมาสสี่จะใช้งบกว่า 300-400 ล้านบาทพัฒนาคอนเทนต์รายการใหม่จากงบรวมที่เดิมวางไว้ 1 พันล้านบาท เพิ่มเป็น 1.3-1.4 พันล้านบาท โดยเฉพาะผังรายการในไตรมาสสี่จะมีรายการใหม่ทยอยเข้ามา 5-10 รายการ ซึ่งมีทั้งผลิตเองและจ้างผลิต เช่น รายการเกมส้มหล่น, รายการเลขท้ารวย ID Lucky number, รายการ The Talk, ซีรีส์ Part of Love รัก+เกรียน นักเรียน 4 ภาค, รายการเปิดเมืองแปลก เป็นต้น ซึ่งเข้ามาแทนรายการเดิมที่พันธมิตรร่วมผลิตถอนตัวออกไป เช่น นัดกับนัด และบ้านนี้มีรัก ของเอ็กซ์แซกท์ เป็นต้น รวมถึงรายการซีซันนอลโปรแกรมที่จบลง ส่งผลให้สัดส่วนรายการที่ผลิตเองเพิ่มเป็น 70% จากเดิม 55%
     
       “งบลงทุนคอนเทนต์ปีนี้ปรับเพิ่มเป็น 1.4-1.5 พันล้านบาท จากเดิมวางไว้ 1 พันล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันของตลาด ส่วนในปีหน้าเชื่อว่าจะใช้งบด้านคอนเทนต์ในอัตราเดียวกันคือ 1.5 พันล้านบาท รวมถึงค่าสัมปทาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 1 พันล้านบาท รวมแล้วปีหน้าจะใช้งบในส่วนของธุรกิจทีวีราว 2.5 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับปีนี้”
     
       ปัจจุบันรายการข่าวค่ำยังทำรายได้หลักให้ธุรกิจทีวี 30% โดยมีอัตราโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 3 แสนบาทต่อนาที และรายการวาไรตีใหม่กำลังมีเรตติ้งที่ดีขึ้น เช่น ข่าวดังข้ามเวลา, ยิ่งถก กนกซัก เป็นต้น ขณะที่การปรับผังรายการใหม่ครั้งนี้ยังส่งผลต่อสัดส่วนรายการใหม่ เป็น ข่าว 31% สารบันเทิงลดลงเหลือ 20% จากเดิม 23% และบันเทิงเพิ่มขึ้นเป็น 45-50% จากเดิม 36% และรายการอื่นอีก 3-5%
     
       นอกจากการปรับภาพลักษณ์แบรนด์และคอนเทนต์ใหม่แล้ว บริษัทฯ ยังปรับแผนธุรกิจใหม่อีก 2 ด้าน คือ การจับมือกับ 2 พันธมิตรที่สำคัญ คือ “ทรูวิชั่นส์” มีการนำคอนเทนต์ไทยพรีเมียร์ลีกมาออกอากาศ และยังจะมีการพัฒนาคอนเทนต์ร่วมกันอีก ที่สำคัญภายในเดือน ก.ย. ศกนี้ “ทรูวิชั่นส์” ยังได้ปรับช่อง 9HD ให้มาอยู่ที่หมายเลขช่อง 9 ของกล่องทรูวิชั่นส์ จากเดิมอยู่ที่หมายเลขช่อง 16 และ 40 เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มเรตติ้งการรับชมช่อง 9 ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ “กลุ่มบริษัทเนชั่น” จากปัจจุบันมี 1 รายการ คือ ยิ่งถก กนกซัก จะมีความร่วมมือในการผลิตรายการ The Champ เรียลิตีโชว์ เฟ้นหาสุดยอดนักมวยไทยสมัครเล่น
     
       การปรับแผนธุรกิจอีกส่วนหนึ่งคือ Content Creator การก้าวสู่บทบาทผู้พัฒนาคอนเทนต์สู่ตลาดโลก ภายใต้ความร่วมมือกับ Entertainment LAB ภายใต้โปรเจกต์ The Creator Project “Empower Thai Creativity” เปิดเวทีให้ทุกคนที่มีความคิดสร้างสรรค์พัฒนาเป็นรายการโทรทัศน์ โดยจะถูกนำมาผลิตและออกอากาศทางเครือข่าย MCOT และก้าวสู่ตลาดโลกต่อไป
     
       นายศิวะพรกล่าวต่อว่า ภาพรวมรายได้ปีนี้ตั้งไว้ประมาณ 4 พันล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ แต่หากมองเฉพาะรายได้จากโทรทัศน์เทียบไตรมาสต่อไตรมาสตลอด พบว่า 3 ไตรมาสที่ผ่านมา อสมท เติบโต 7-10% ต่อเนื่องทุกไตรมาส หรือจบปีนี้สัดส่วนรายได้ของ อสมท คาดว่าจะมาจากทีวี 51% หรือกว่า 2.1 พันล้านบาท มาจากวิทยุ 25% สัมปทานและอื่นๆ อีก 24% โดยวิทยุถือเป็นธุรกิจที่เติบโตจากปีก่อน 12% ขณะที่ตลาดรวมสื่อวิทยุโตเพียง 3%
     
       ส่วนในแง่ของอุตสาหกรรมโฆษณาในช่วงไตรมาสสี่เชื่อว่าจะยังทรงตัว แต่ในปี 2559 เชื่อว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีจากปัจจัยบวก อย่างการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนอัดงบลงทุนเข้าสู่ระบบ ภาคการส่งออกดีขึ้น รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น เป็นต้น


http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000102503

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.