Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 EGA ประกาศแผนทำบิ๊กดาต้าภาครัฐ เตรียมวางระบบภายใน 1 ปี ณะนี้มีบริษัทเอกชนที่แสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการเกือบ 30 บริษัทแล้ว ขณะที่การสำรวจข้อมูลความต้องการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ภาครัฐได้ข้อมูลมาแล้วประมาณ 80-90% โดยพบว่ามี 260 หน่วยงานที่ใช้ดาต้า เซ็นเตอร์

ประเด็นหลัก





       อย่างไรก็ตาม เมื่อภาครัฐมีการบริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่จำเป็นก็คือต้องมีการสร้างนักวิเคราะห์ข้อมูลขึ้นมาด้วย โดยในปีที่ผ่านมา EGA ได้เปิดหลักสูตรอบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐไปแล้ว จำนวน 20 คน ซึ่งในปีงบประมาณถัดไป EGA จะเพิ่มจำนวนบุคลากรเป็น 50 คน
     
       สำหรับความคืบหน้าในการเตรียมข้อมูลเพื่อทำโครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาตินั้น ขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่แสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการเกือบ 30 บริษัทแล้ว ขณะที่การสำรวจข้อมูลความต้องการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ภาครัฐได้ข้อมูลมาแล้วประมาณ 80-90% โดยพบว่ามี 260 หน่วยงานที่ใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ ต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการเองปีละ 9,000 ล้านบาท ที่สำคัญคือ 50% ของจำนวนดังกล่าวอายุการใช้งานดาต้า เซ็นเตอร์เกิน 7 ปี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนระบบใหม่ ขณะที่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เรื่องการกำหนดมาตรฐานของบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ดังนั้น นับว่าข้อมูลที่ได้เพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการต่อแล้ว เหลือเพียงรอความชัดเจนจากรัฐบาล ทั้งนี้ ตนเองมั่นใจว่าโครงการจะได้เดินหน้าต่อแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนคณะอนุกรรมการด้านดาต้า เซ็นเตอร์บ้างตามที่เป็นข่าวก็ตาม


______________________________________________






EGA พร้อมลุยบริการบิ๊กดาต้าภาครัฐ ปี 60



        EGA ประกาศแผนทำบิ๊กดาต้าภาครัฐ เตรียมวางระบบภายใน 1 ปี ลั่นเปิดให้บริการภายในปี 60 เผยนำร่อง 2 แอปพลิเคชัน CCTV-เกษตรโซนนิ่ง ก่อนในเดือน เม.ย. ปี 59 พิสูจน์ฝีมือว่าทำได้จริง ส่วนความคืบหน้าโครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติ รอแค่รัฐบาลไฟเขียวพร้อมสั่งเดินหน้าทันที
     
       นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA กล่าวว่า ภายในปีงบประมาณ 2560 EGA จะเปิดให้บริการ Government Big Data as a Service เพื่อให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากข้อมูลภาครัฐมีความหลากหลาย ขณะที่ความต้องการในการนำไปใช้งานก็มีหลายรูปแบบด้วย สิ่งที่ EGA ทำคือจะทำให้ข้อมูลภาครัฐที่ได้รับการจัดเก็บไว้ถูกนำมาประมวลผลด้วยเครื่องมือทำให้ผลออกมารวดเร็ว สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจระดับงานบริหารทั่วไป ตลอดจนคาดการณ์ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นและแจ้งเตือนผู้บริหารผ่านช่องทางต่างๆ เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินได้อีกด้วย
     
       ทั้งนี้ EGA จะทำโครงการนำร่องก่อนที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการก่อนด้วยการเปิด 2 แอปพลิเคชัน ภายในเดือน เม.ย.59 นี้ โดยแอปพลิเคชันแรกคือ แอปพลิเคชันเกี่ยวกับ CCTV สำหรับวางแผนการเดินทาง และแอปพลิเคชันเกี่ยวกับเกษตร โซนนิ่ง โดยจะเลือกจังหวัดนำร่อง 1 จังหวัดในการทำโครงการเพื่อแสดงให้เห็นถึงการนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ต่อการเกษตร
     
       สำหรับการเตรียมการเพื่อรองรับการให้บริการดังกล่าวภายใน 1 ปีนับจากนี้ EGA จะดำเนินการติดตั้งระบบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ รวมไปถึงการจัดการเครือข่ายทั้งระบบเพื่อทำให้ระบบ Government Big Data as a Service ของไทยถูกบริหารจัดการโดยหน่วยงานเดียวกันเพื่อลดความยุ่งยาก และการลงทุนที่ซ้ำซ้อน รวมถึงยังต้องการให้ข้อมูล และการวิเคราะห์ทั้งหมดอยู่ในแพลตฟอร์มและมาตรฐานเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับว่า EGA จะลงทุนซื้อระบบเองทั้งหมด หรือใช้ในรูปแบบเช่าใช้ลักษณะคลาวด์กับบริษัทเอกชน
     
       “เมื่อติดตั้งระบบเสร็จ หน่วยงานราชการทั่วไปที่ต้องการใช้งานระบบก็สามารถออนไลน์เข้ามาใช้บริการได้ทันที ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้ทั้งการวิเคราะห์จากข้อมูลของตนเอง หรือวิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานตนเองผสมกับหน่วยงานอื่นที่เข้ามาใช้บริการ ซึ่งจะทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูล และทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น”
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อภาครัฐมีการบริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่จำเป็นก็คือต้องมีการสร้างนักวิเคราะห์ข้อมูลขึ้นมาด้วย โดยในปีที่ผ่านมา EGA ได้เปิดหลักสูตรอบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐไปแล้ว จำนวน 20 คน ซึ่งในปีงบประมาณถัดไป EGA จะเพิ่มจำนวนบุคลากรเป็น 50 คน
     
       สำหรับความคืบหน้าในการเตรียมข้อมูลเพื่อทำโครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาตินั้น ขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่แสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการเกือบ 30 บริษัทแล้ว ขณะที่การสำรวจข้อมูลความต้องการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ภาครัฐได้ข้อมูลมาแล้วประมาณ 80-90% โดยพบว่ามี 260 หน่วยงานที่ใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ ต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการเองปีละ 9,000 ล้านบาท ที่สำคัญคือ 50% ของจำนวนดังกล่าวอายุการใช้งานดาต้า เซ็นเตอร์เกิน 7 ปี ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนระบบใหม่ ขณะที่การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เรื่องการกำหนดมาตรฐานของบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติ คาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ดังนั้น นับว่าข้อมูลที่ได้เพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการต่อแล้ว เหลือเพียงรอความชัดเจนจากรัฐบาล ทั้งนี้ ตนเองมั่นใจว่าโครงการจะได้เดินหน้าต่อแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนคณะอนุกรรมการด้านดาต้า เซ็นเตอร์บ้างตามที่เป็นข่าวก็ตาม


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000103089

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.