Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 สมาคม GSMA กล่าวว่า จำนวนรถยนต์ทั่วโลกในปีนี้อยู่ที่ 1.2 พันล้านคัน แต่คาดว่าในอีก 35 ปีจะเพิ่มเป็น 2.5 พันล้านคัน ขณะที่ในไทยพบว่า ใช้เวลาเดินทางต่อครั้งเฉลี่ย 40 นาที และในทุก ๆ พื้นที่ที่มีผู้อาศัย 1 แสนคน จะมีถนนที่รถติดแบบไปไหนไม่ได้ หรือ Traffic Death ถึง 38 เส้นทาง

ประเด็นหลัก



"คริสซุล" ผู้อำนวยการให้คำปรึกษาด้านความถี่ประจำทวีปเอเชีย สมาคม GSMA กล่าวว่า จำนวนรถยนต์ทั่วโลกในปีนี้อยู่ที่ 1.2 พันล้านคัน แต่คาดว่าในอีก 35 ปีจะเพิ่มเป็น 2.5 พันล้านคัน เพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจาก 25% เป็น 33% ทำให้การจราจรติดขัดและเผาผลาญพลังงานอย่างสูญเปล่าเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งมีโอกาสให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นจาก 25 วินาที/รายด้วย

ขณะที่ในไทยพบว่า ใช้เวลาเดินทางต่อครั้งเฉลี่ย 40 นาที และในทุก ๆ พื้นที่ที่มีผู้อาศัย 1 แสนคน จะมีถนนที่รถติดแบบไปไหนไม่ได้ หรือ Traffic Death ถึง 38 เส้นทาง สูงที่สุดในเอเชีย แซงหน้ากระทั่งจีนที่มี 21 เส้นทาง จึงไม่แปลกที่จะติดอันดับประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทางสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียด้วย




______________________________________________





"จีเอสเอ็มเอ" เชียร์สุดลิ่มประมูล 4G ดึงคลื่นพัฒนาระบบคมนาคมอัจฉริยะ



คลื่นความถี่ ปัจจุบันไม่ได้มีการนำมาใช้เพื่อการ "สื่อสาร" เท่านั้น แต่เทคโนโลยีได้ต่อยอดไปไกลจนสามารถใช้เพื่อพัฒนาให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายขึ้น สมาคม GSMA ที่เป็นการรวมตัวของผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ได้เริ่มต้นศึกษาการประยุกต์ใช้กับ "ระบบคมนาคมอัจฉริยะ : Intelligence Transportation System (ITS)"

"คริสซุล" ผู้อำนวยการให้คำปรึกษาด้านความถี่ประจำทวีปเอเชีย สมาคม GSMA กล่าวว่า จำนวนรถยนต์ทั่วโลกในปีนี้อยู่ที่ 1.2 พันล้านคัน แต่คาดว่าในอีก 35 ปีจะเพิ่มเป็น 2.5 พันล้านคัน เพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจาก 25% เป็น 33% ทำให้การจราจรติดขัดและเผาผลาญพลังงานอย่างสูญเปล่าเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งมีโอกาสให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นจาก 25 วินาที/รายด้วย

ขณะที่ในไทยพบว่า ใช้เวลาเดินทางต่อครั้งเฉลี่ย 40 นาที และในทุก ๆ พื้นที่ที่มีผู้อาศัย 1 แสนคน จะมีถนนที่รถติดแบบไปไหนไม่ได้ หรือ Traffic Death ถึง 38 เส้นทาง สูงที่สุดในเอเชีย แซงหน้ากระทั่งจีนที่มี 21 เส้นทาง จึงไม่แปลกที่จะติดอันดับประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทางสูงเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียด้วย

"เดิมเทคโนโลยีถูกใช้แค่กับระบบจราจร ไม่ได้ลงลึกถึงอุปกรณ์ภายในรถที่มีส่วนทำให้ระบบคมนาคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัจจุบันหลายเมืองได้นำ ITS เข้าไปใช้เพื่อพัฒนาระบบคมนาคม อาทิ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่ใช้อย่างเต็มรูปแบบ มีการบริหารจราจรด้วยการใช้เซ็นเซอร์วัดอัตรารถติดติดตั้งชิปเซตลงบนรถยนต์ เพื่อค้นหาตำแหน่งของรถแต่ละคัน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การบริหารจัดการคมนาคมมีประสิทธิภาพสูง ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ดีขึ้น และรักษาสภาพแวดล้อมและลดจำนวนอุบัติเหตุ"



ขณะที่เมืองที่รถติดมากอย่าง "กรุงเทพฯ" พบว่า เวลาเฉลี่ยในการเดินทางต่อครั้งสูงถึง 60 นาที มากกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ เกิดอุบัติเหตุสูงถึง 34,927 ครั้ง/ปี มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 25.3 ล้านเมตริกตัน/ปี กลายเป็นเมืองที่มีมลพิษมาก แต่หากมีการติดตั้งระบบ ITS เต็มรูปแบบ จะลดเวลาการเดินทางลง 6-12 นาที/ครั้ง รวม ๆ กันจะเท่ากับย่นเวลาในการเดินทางของคนคนหนึ่งได้คิดเป็น 2-4 วัน/ปี ตีเป็นมูลค่าได้กว่า 260-520 ล้านดอลลาร์

และเมื่อการจราจรดีขึ้น อุบัติเหตุก็จะลดลงกว่า 6,000-8,000 ครั้ง/ปี ช่วยชีวิตผู้คนได้ถึง 100 ราย หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของยอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกรุงเทพฯ ตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงกว่า 3-5 ล้านเมตริกตัน หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งประเทศกัมพูชา คิดเป็นมูลค่า 180-360 ล้านดอลลาร์ รวม ๆ แล้วกรุงเทพฯจะประหยัดเงินได้กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ และนำเงินนี้ไปพัฒนาสาธารณประโยชน์ได้

อย่างไรก็ตาม คลื่นความถี่เป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการนำระบบ ITS มาใช้ เพราะเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณส่งผ่านข้อมูลผ่านซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ โดยรูปแบบของการนำ ITS มาใช้ มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ นำซิมโทรศัพท์มือถือไปติดตั้งไว้ในสัญญาณจราจร หรือรถยนต์ ซึ่งนำมาประยุกต์ได้กับทั้งการเดินทางส่วนตัวและระบบขนส่งมวลชน เพื่อบอกตำแหน่ง และส่งข้อมูลกลับมายังศูนย์การจัดการจราจรเพื่อบริหารเส้นทาง หรือการสร้างระบบตั๋วร่วมอัจฉริยะ และใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน

"การที่ไทยจะเปิดประมูลคลื่น 900 และ 1800 MHz เพื่อนำไปให้บริการ 4G ก็ช่วยสนับสนุนได้ เป็นสัญญาณดี เพราะหากไม่มีคลื่นเพิ่ม เทคโนโลยีการส่งสัญญาณจะไม่เร็วพอ การบริหารจัดการแบบทันที หรือ Real Time ก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งยังมีคลื่นอื่น ๆ ที่เหลือเพื่อนำมาให้บริการ 4G และต่อยอดไปสู่ 5G ได้ เช่น คลื่น 700 และ 2600 MHz คลื่นยิ่งมาก การใช้งานก็หลากหลายขึ้น จนสร้าง ITS ได้เต็มรูปแบบ"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441008691

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.