Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 TOT ระบุ CAT ทำสำเร็จแล้วเราก็อาจใช้โมเดลเดียวกัน ตั้งบริษัทร่วมทุน ส่วนธุรกิจโมบายจะเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากคลื่นทั้ง 2100 และ 2300 MHz ไม่ใช่แค่เป็น MVNO โดยหลักทีโอทีจะไม่ทำรีเทลเอง ในธุรกิจโมบายได้มองรายได้ต่อเดือนไว้กว่า 8-9 พันล้านบาท

ประเด็นหลัก



ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ"ว่า บอร์ดยังยืนยันจะสรุป StrategyPartner ให้ได้ในสิ้น ส.ค.นี้ ซึ่งการประชุมบอร์ดเมื่อ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารทีโอทีสรุปรายละเอียดการเจรจา กับ 5 บริษัทแล้ว ได้แก่ เอไอเอส, บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น บมจ.ล็อกซเล่ย์, กลุ่มทรู และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด

"ให้ฝ่ายบริหารไปเจรจาตามกรอบที่ดีลอยด์บริษัทที่ปรึกษาวางมูลค่าแต่ละกลุ่มธุรกิจไว้ แต่ที่ส่งมาไม่ได้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ไม่ได้เปรียบเทียบแต่ละออปชั่น จึงให้ไปทำใหม่ แล้วเลือกมาด้วยว่าออปชั่นไหนน่าจะดีกว่า บอร์ดทีโอทีจะพิจารณาอีกครั้งว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยเร่งในส่วนของเสาและธุรกิจโมบายก่อน"

สำหรับข้อเสนอทาวเวอร์โคเอไอเอสได้เปรียบสุด เพราะมีข้อพิพาทระหว่างกันอยู่ และทาง คนร.มีนโยบายให้เร่งเจรจา

"เงื่อนไขสำคัญของเอไอเอส คือดีแทคทำกับแคทก่อนถึงจะยอมถอนฟ้อง ถ้าแคททำสำเร็จแล้วเราก็อาจใช้โมเดลเดียวกัน ตั้งบริษัทร่วมทุน ส่วนธุรกิจโมบายจะเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากคลื่นทั้ง 2100 และ 2300 MHz ไม่ใช่แค่เป็น MVNO โดยหลักทีโอทีจะไม่ทำรีเทลเอง ในธุรกิจโมบายได้มองรายได้ต่อเดือนไว้กว่า 8-9 พันล้านบาท"





______________________________________________






สางปมสัมปทานเคลียร์สิทธิคลื่น การบ้านรมว.ใหม่ไอซีทีชี้ชะตา4G-ดิจิทัลอีโคโนมี

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

จับ ตาทิศทาง "ไอซีที" ในมือรัฐมนตรีใหม่ งานหินจ่อรอสะสางเพียบ ! ทั้งสานต่อ "ดิจิทัลอีโคโนมี" เร่งเคลียร์ปมสัมปทานสางสิทธิ์ใช้คลื่น และพลิกฟื้น 2 รัฐวิสาหกิจ ฟากบอร์ด "ทีโอที-แคท" เดินหน้าปิดดีลเจรจาพันธมิตรตั้งบริษัทร่วมทุนแชร์ใช้โครงข่าย "ทีโอที" เดินเกมยื้อ 900 MHz แจงลูกค้ามีสิทธิ์ใช้งานต่อหลังสัมปทานเอไอเอสสิ้นสุด ก.ย.นี้


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้มาทำงานที่กระทรวงเป็นครั้งแรก พร้อมกล่าวว่าขอเวลา 2-3 วันเพื่อศึกษาข้อมูลงานทั้งหมดก่อนประชุมผู้บริหาร 26 ส.ค.นี้ โดยตั้งใจว่าจะทำงานในช่วงเวลาสำคัญที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ดีที่สุด เนื่องจากงานด้านไอซีทีเป็นเรื่องสำคัญ

ด้านนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในขณะนี้ไม่มีงานค้างที่อยู่ในขั้นตอนรอรัฐมนตรีใหม่พิจารณาหรือรออนุมัติ แต่ค้างในส่วนที่รอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา อาทิ งบสนับสนุน 3,750 ล้านบาท ที่จะให้ บมจ.ทีโอทีกับบมจ.กสท โทรคมนาคม (แทค) สร้างโครงข่ายบรอดแบนด์ กับแบ่งให้โครงการของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอเข้ามา

และก่อนนี้ไอซีทีได้ประกาศข้อกำหนดทางเทคนิค (TOR) โครงการจ้างที่ปรึกษาออกแบบสถาปัตยกรรมโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติวงเงิน 40 ล้านบาทแล้ว

ไอซีทีชุมชน-ปมสัมปทานค้างเติ่ง

แหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีกล่าวว่า ที่ไม่มีงานค้างรอรัฐมนตรีอนุมัติ เพราะส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาทิ การประเมินศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนกว่า 2,000 แห่งเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ ก่อนสร้างศูนย์ใหม่อีก 300 แห่ง ซึ่งมีผู้ชนะประกวดราคาแล้วแต่ระงับการทำสัญญาไว้ก่อน

และปัญหาสัญญาสัมปทานดาวเทียมกับ บมจ.ไทยคม ที่ต้องดำเนินการตามแนวทางคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีประเด็นสถานะดาวเทียมไอพีสตาร์ และสัดส่วนการถือหุ้นของอินทัชในไทยคมที่อยู่ในขั้นตอนการเจรจาของคณะทำงาน เช่นเดียวกับการแก้สัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งระหว่างทีโอที และเอไอเอส กรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการพรีเพด ซึ่งบอร์ดทีโอทีเพิ่งสรุปว่าควรส่งต่อให้กระทรวงไอซีทีเสนอเข้า ครม.เพื่อพิจารณา ทั้งปัญหาข้อพิพาทกันเองระหว่างทีโอที และ กสท โทรคมนาคม 28-29 คดี มูลค่ากว่า 9 แสนล้านบาท เช่น ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายและค่าเชื่อมต่อโครงข่าย

"ส่วนใหญ่เป็นงานที่อดีตรัฐมนตรีพรชัย (รุจิประภา) เร่งมานานแล้วแต่ยังไม่คืบส่วนปัญหาสัมปทานค้างมาตั้งแต่ปี 2549 ที่รื้อใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐมนตรี"

ทีโอทีเดินหาพันธมิตร

ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ"ว่า บอร์ดยังยืนยันจะสรุป StrategyPartner ให้ได้ในสิ้น ส.ค.นี้ ซึ่งการประชุมบอร์ดเมื่อ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารทีโอทีสรุปรายละเอียดการเจรจา กับ 5 บริษัทแล้ว ได้แก่ เอไอเอส, บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น บมจ.ล็อกซเล่ย์, กลุ่มทรู และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด

"ให้ฝ่ายบริหารไปเจรจาตามกรอบที่ดีลอยด์บริษัทที่ปรึกษาวางมูลค่าแต่ละกลุ่มธุรกิจไว้ แต่ที่ส่งมาไม่ได้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย ไม่ได้เปรียบเทียบแต่ละออปชั่น จึงให้ไปทำใหม่ แล้วเลือกมาด้วยว่าออปชั่นไหนน่าจะดีกว่า บอร์ดทีโอทีจะพิจารณาอีกครั้งว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยเร่งในส่วนของเสาและธุรกิจโมบายก่อน"

สำหรับข้อเสนอทาวเวอร์โคเอไอเอสได้เปรียบสุด เพราะมีข้อพิพาทระหว่างกันอยู่ และทาง คนร.มีนโยบายให้เร่งเจรจา

"เงื่อนไขสำคัญของเอไอเอส คือดีแทคทำกับแคทก่อนถึงจะยอมถอนฟ้อง ถ้าแคททำสำเร็จแล้วเราก็อาจใช้โมเดลเดียวกัน ตั้งบริษัทร่วมทุน ส่วนธุรกิจโมบายจะเน้นไปที่การใช้ประโยชน์จากคลื่นทั้ง 2100 และ 2300 MHz ไม่ใช่แค่เป็น MVNO โดยหลักทีโอทีจะไม่ทำรีเทลเอง ในธุรกิจโมบายได้มองรายได้ต่อเดือนไว้กว่า 8-9 พันล้านบาท"

ยืนยันยึดแนวทาง คนร.

"แม้เป็นช่วงเปลี่ยนรัฐมนตรี แต่บอร์ดยังต้องรับผิดชอบภารกิจพลิกฟื้นตามกรอบ คนร. แต่ทุกขั้นตอนต้องพร้อมให้ตรวจสอบ"

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงภายใน บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผยว่า การตั้งบริษัทร่วมทุนกับดีแทคเพื่อใช้โครงข่ายร่วมกัน ที่บอร์ดเพิ่งอนุมัติไม่น่าจะมีผลกระทบเพราะทำตามนโยบาย

คนร.จับตาเกมยื้อคลื่น

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ต้องจับตารัฐมนตรีคนใหม่จะมีแนวทางจัดการคลื่นความถี่ของทีโอทีและแคทอย่างไร เพราะก่อนนี้อดีตรัฐมนตรีพยายามจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 44รธน.ชั่วคราว แบ่งคลื่นให้รัฐวิสาหกิจ

"ทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจยังยืนยันว่ามีสิทธิ์ในคลื่นทั้ง 900 และ 1800 MHz ไม่ยอมส่งคืนให้ประมูลแม้จะสิ้นสุดสัมปทานแล้ว รวมถึงคลื่น 2300 MHz ด้วย โดยอ้างว่าได้มาก่อนมี กสทช. ส่วนของสัมปทานเอไอเอสที่จะหมด 30 ก.ย.นี้ ทางทีโอทีก็ยังไม่ส่งแผนเยียวยาลูกค้ามาให้"

ล่าสุด บมจ.ทีโอทีได้แจ้งลูกค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ของบริษัทว่า ลูกค้าบริการ GSM 900 MHz ยังคงสิทธิ์ใช้บริการได้ต่อไป

แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า เมื่อหมดสัมปทานลูกค้าจะเป็นของทีโอที แต่เอไอเอสทำหนังสือแจ้งลูกค้าว่า หลัง 30 ก.ย.นี้ซิมจะดับ ใช้ไม่งานได้อีก ทีโอทีจึงต้องแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องให้ลูกค้าทราบว่ายังใช้งานไปได้เรื่อย ๆ

"ส่วนกรณีที่เมื่อ กสทช.จัดประมูลคลื่นแล้วจะกระทบกับลูกค้าเดิมที่ค้างอยู่ถือเป็นคนละประเด็นที่ฝ่ายบริหารกำลังดำเนินการอยู่"

นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขาย เอไอเอส เปิดเผยว่า จะเร่งย้ายลูกค้าคงค้างบนคลื่น 900 MHz 2.7 ล้านเลขหมาย ที่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในต่างจังหวัดด้วยแคมเปญแลกเครื่อง 2G เป็น 3G แต่อาจไม่ทันวันสุดท้ายของสัมปทาน

ซึ่งการเร่งโอนย้ายลูกค้ามา 3G ไม่ได้ลดทอนคุณภาพของสัญญาณ เนื่องจากบริษัทพัฒนาโครงข่ายอยู่ตลอด เช่น ลงทุนกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท ปรับแต่งโครงข่าย รวมถึงเริ่มเน็ตเวิร์กแชริ่ง ทำให้โครงข่ายครอบคลุมและรองรับลูกค้าได้มากขึ้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440651436

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.