Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า แม้มีกฎหมายกำหนดไว้แต่ผู้ให้บริการไม่ยอมปฏิบัติตาม ขณะที่การแก้ปัญหาของสำนักงาน กสทช.ยังใช้วิธีให้ประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นกรณี ๆ ไป ทั้งที่หลักจริง ๆ ควรต้องบังคับให้เป็นการทั่วไป

ประเด็นหลัก





"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า แม้มีกฎหมายกำหนดไว้แต่ผู้ให้บริการไม่ยอมปฏิบัติตาม ขณะที่การแก้ปัญหาของสำนักงาน กสทช.ยังใช้วิธีให้ประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นกรณี ๆ ไป ทั้งที่หลักจริง ๆ ควรต้องบังคับให้เป็นการทั่วไป เหมือนกรณีที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมฯ หรือ กทช. เมื่อปี 2552 มีคำสั่ง ห้ามผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ จำนวน 107 บาทจากผู้บริโภคกรณีที่ถูกตัดสัญญาณ

ก่อนหน้านี้ผู้บริโภคที่ร้องเรียนต้องใช้เวลามากกว่า 3 เดือน เพื่อส่งเรื่องเข้าอนุกรรมการผู้บริโภคที่ประชุมกันเดือนละครั้งให้มีมติ แล้วส่งต่อบอร์ด กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ชุดปัจจุบัน) พิจารณาอีก เมื่อมีมติแล้วจึงจะส่งต่อให้สำนักงาน กสทช. ส่งคำสั่งไปให้ค่ายมือถือดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลาแล้วแต่ทางบริษัทจะดำเนินการอีก

"ราวปีกว่า ๆ มานี้ดีขึ้น คือ กทค.มีมติเป็นบรรทัดฐานไว้แล้วว่าต้องคืนเงิน ดังนั้น พอมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาก็ให้สำนักงานยึดมติบรรทัดฐานแจ้งไปยังค่ายมือถือได้เลย แต่ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือนอยู่ดี ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ควรใช้วิธีออกเป็นคำสั่งที่เป็นบรรทัดฐานใช้ได้เป็นการทั่วไป เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องมาเสียเวลาร้องเรียน ตอนนี้ก็หวังว่าจะรัฐบาลหรือเครือข่ายผู้บริโภคองค์กรปฏิรูป จะยกประเด็นนี้ให้กลายเป็นเรื่องร้อนเพื่อกระตุ้นให้มีคำสั่งแบบนี้ออกมา"



______________________________________________






เลิกใช้ "พรีเพด" คืน-ไม่คืนเงิน ประกาศ กสทช.แค่เสือกระดาษ ?


ผ่านพ้นไปแล้วกับเส้นตาย 31 ก.ค.ที่ "กสทช." หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน (พรีเพด) ต้องลงทะเบียนซิมเพื่อยืนยันตัวบุคคลผู้ใช้งาน โดยได้มีการผลักดันให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อความมั่นคงของรัฐ ไม่ให้มีการนำซิมการ์ดที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ไปก่ออาชญากรรม

รวมถึงคุ้มครองผู้บริโภคในการยืนยันสิทธิ์การใช้งานในเลขหมายนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการย้ายค่ายเบอร์เดิม หรือการได้รับเงินค่าบริการที่ค้างในระบบคืนเมื่อยกเลิกการใช้เบอร์ดังกล่าว

พร้อมระบุว่า หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดจะไม่สามารถโทร.ออก ส่ง SMS หรือใช้โมบายอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ปรากฏผ่านสื่อรณรงค์ของทั้ง กสทช.และค่ายมือถือ ซึ่งทำให้ยอดการลงทะเบียนซิม ณ วันครบกำหนดของ กสทช.มีผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 69.5 ล้านเลขหมาย

อย่างไรก็ตาม หนึ่งใน "ข้อดี" ที่ "กสทช." หยิบยกขึ้นมารณรงค์ให้ประชาชนลงทะเบียนซิม อย่างการเป็นหลักฐานเพื่อขอรับเงินในระบบคืน เมื่อต้องการยกเลิกการใช้เบอร์ทำไม่ได้จริงกับทุกค่าย เพราะเมื่อสอบถามไปยังระบบดูแลลูกค้าผ่านระบบ "อีเซอร์วิส" ของค่ายมือถือพบว่า มีเพียง "เอไอเอส" แจ้งว่าติดต่อศูนย์บริการเพื่อขอรับเงินค่าบริการที่ค้างอยู่คืนได้ หากต้องการยกเลิกการใช้เบอร์นั้น ๆ

ขณะที่ "ดีแทค" แจ้งว่า ไม่สามารถนำเงินค่าบริการที่ค้างอยู่คืนเป็นเงินสดได้แต่ให้โอนเงินไปยังเลขหมายพรีเพดอื่นของดีแทคแทน รวมถึงไม่สามารถนำไปใช้ชำระค่าบริการล่วงหน้าสำหรับเลขหมายแบบรายเดือนได้ด้วย เพราะเป็นคนละระบบ เช่นกันกับ "ทรูมูฟ เอช" ที่แจ้งว่าไม่สามารถคืนเงินสดหรือโอนเงินไปยังเลขหมายอื่นได้ หากจะยกเลิกการใช้เบอร์แนะนำให้ใช้เงินที่ค้างไว้ในระบบให้หมดก่อน

ทั้ง ๆ ที่ในข้อ 34 ของประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อสัญญาให้บริการเลิกกัน ผู้ให้บริการต้องคืนเงินแก่ผู้ใช้บริการ โดยอาจคืนด้วยเงินสด เช็ค หรือนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร

"ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมกล่าวว่า แม้มีกฎหมายกำหนดไว้แต่ผู้ให้บริการไม่ยอมปฏิบัติตาม ขณะที่การแก้ปัญหาของสำนักงาน กสทช.ยังใช้วิธีให้ประชาชนร้องเรียนเข้ามาเป็นกรณี ๆ ไป ทั้งที่หลักจริง ๆ ควรต้องบังคับให้เป็นการทั่วไป เหมือนกรณีที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมฯ หรือ กทช. เมื่อปี 2552 มีคำสั่ง ห้ามผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ใหม่ จำนวน 107 บาทจากผู้บริโภคกรณีที่ถูกตัดสัญญาณ

ก่อนหน้านี้ผู้บริโภคที่ร้องเรียนต้องใช้เวลามากกว่า 3 เดือน เพื่อส่งเรื่องเข้าอนุกรรมการผู้บริโภคที่ประชุมกันเดือนละครั้งให้มีมติ แล้วส่งต่อบอร์ด กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ชุดปัจจุบัน) พิจารณาอีก เมื่อมีมติแล้วจึงจะส่งต่อให้สำนักงาน กสทช. ส่งคำสั่งไปให้ค่ายมือถือดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลาแล้วแต่ทางบริษัทจะดำเนินการอีก

"ราวปีกว่า ๆ มานี้ดีขึ้น คือ กทค.มีมติเป็นบรรทัดฐานไว้แล้วว่าต้องคืนเงิน ดังนั้น พอมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาก็ให้สำนักงานยึดมติบรรทัดฐานแจ้งไปยังค่ายมือถือได้เลย แต่ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือนอยู่ดี ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ควรใช้วิธีออกเป็นคำสั่งที่เป็นบรรทัดฐานใช้ได้เป็นการทั่วไป เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องมาเสียเวลาร้องเรียน ตอนนี้ก็หวังว่าจะรัฐบาลหรือเครือข่ายผู้บริโภคองค์กรปฏิรูป จะยกประเด็นนี้ให้กลายเป็นเรื่องร้อนเพื่อกระตุ้นให้มีคำสั่งแบบนี้ออกมา"




ส่วนตัวเลขค่าบริการพรีเพดที่ค่ายมือถือไม่ได้คืนให้ผู้บริโภคหลังยกเลิกการใช้บริการ ทางเอกชนแจ้งมาว่า เลขหมายที่ยกเลิกบริการส่วนใหญ่มีเงินคงเหลือแค่ราว 10-20 บาทเท่านั้น ก็ต้องคูณไปว่า แต่ละเดือนมีลูกค้ายกเลิกบริการไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวเลขพวกนี้ทางสำนักงาน กสทช. ไม่มีการเก็บข้อมูลสถิติพวกนี้ไว้เลย อย่างยอดเงินที่มาร้องเรียนปี 2557 ได้คืนไปเท่าใด สอบถามไปก็ไม่มีสรุปไว้ มีแต่ปี 2558

โดยสถิติการร้องเรียนมายัง กสทช.เกี่ยวกับการขอเงินค้างในระบบพรีเพดคืนไม่ได้ ทั้งปี 2557 มีทั้งหมด 39 เรื่องจากปัญหาร้องเรียนบริการโทรคมนาคมทั้งหมด 2,210 เรื่อง ส่วนในปี 2558 จนถึงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา มีทั้งหมด 29 เรื่อง วงเงินที่ขอคืน 21,803.57 บาท

ขณะที่ยอดลูกค้าพรีเพดของ AIS/AWN อยู่ที่ 34.8 ล้านเบอร์ DTAC/DTN 22.8 ล้านเลขหมาย truemove H 16.9 ล้านเลขหมาย ส่วนทีโอทีและแคทมีลูกค้ารายละราว 5 แสนเลขหมาย

ขณะที่เลขาธิการ กสทช. "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" ชี้แจงว่า ตั้งแต่เริ่มรณรงค์การลงทะเบียนซิมได้ย้ำกับค่ายมือถือให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการคืนเงินค่าบริการพรีเพดที่ค้างในระบบเมื่อมีการยกเลิกเลขหมายแล้วหากผู้บริโภคพบปัญหานี้ให้แจ้งร้องเรียนเข้ามาที่กสทช.ได้หลังจากนี้ ทางสำนักงาน กสทช.จะเรียกผู้ให้บริการมากำชับในเรื่องนี้อีกครั้ง

ส่วนความคืบหน้าในการลงทะเบียนซิมพรีเพดตั้งแต่1ส.ค.เป็นต้นมากสทช.ได้ประสานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย ให้ระงับการโทร.ออก การใช้บริการส่ง SMS และโมบายอินเทอร์เน็ต คงไว้แต่บริการ "รับสาย" สำหรับซิมที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการมาลงทะเบียนซิมเพิ่มขึ้น แต่ล่าสุดได้ออกคำสั่งไปยังให้ค่ายมือถือทุกรายแจ้งประชาชนผู้ใช้บริการพรีเพดอีก 14.4 ล้านเลขหมายที่ยังไม่ลงทะเบียนซิม ให้ทราบถึงการยกเลิกบริการทุกประเภทสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนซิม ซึ่งเป็นการแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ดังนั้นไม่เกิน 30 ก.ย. นี้ ซิมที่ไม่ได้ลงทะเบียนจะถูกยกเลิกบริการทั้งหมด


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441008546

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.