Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2558 กสทช. ระบุ ไม่สามารถเลื่อนเก็บค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลงวดที่ 3 ได้ เนื่องจากเงินค่าธรรมเนียมต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

ประเด็นหลัก




ส่วนประเด็นการพิจารณาเลื่อนจ่ายค่าธรรมเนียมประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 3 ที่ผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 24 ช่องจะต้องจ่ายในเดือน พ.ค. 2559 ตามที่กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลยื่นขอให้กำหนดมาตรการเยียวยา กสทช. ไม่สามารถทำได้ ซึ่งกสทช.ยึดตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ให้ความเห็นไว้ในกรณีการเลื่อนจ่ายเงินประมูลงวดที่ 2 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า ไม่สามารถเลื่อนเก็บค่าธรรมเนียมได้ เนื่องจากเงินค่าธรรมเนียมต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ดังนั้น การเลื่อนการจัดเก็บเงิน จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ และทำให้สำนักงาน กสทช.ถูกครหาได้ต่อการปฏิบัติหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบกิจการ





___________________________________







กสทช.ยันสู้ “ทีวีดิจิตอล” รุมฟ้อง เสียงแข็งไม่ให้เลื่อนจ่ายค่าธรรมเนียมงวด 3


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กลุ่มผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 5 ช่อง ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม วัน, จีเอ็มเอ็ม ชาแนล, ไทยรัฐทีวี, ไบร์ททีวี และพีพีทีวี ได้ยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครอง พร้อมเรียกค่าเสียหายจำนวน 9,550 ล้านบาทนั้น ทาง กสทช.พร้อมต่อสู้ตามกระบวนการกฎหมาย เพราะต่างฝ่ายต่างมีเหตุผล โดยกสทช.จะอธิบายให้ศาลเข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเปลี่ยนผ่านการรับชมโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล รวมถึงปัญหาและข้อจำกัดของหน่วยงานรัฐต่อการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น และนำไปสู่เหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลฟ้องร้อง ซึ่งที่ผ่านมายืนยันว่า กสทช.มีความพยายามเต็มที่ในการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอลแล้ว ซึ่งต้องทำงานภายใต้อำนาจกฎหมายที่กำหนดไว้ และทำให้ถูกมองว่าทำงานล่าช้า

ส่วนประเด็นการพิจารณาเลื่อนจ่ายค่าธรรมเนียมประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 3 ที่ผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล 24 ช่องจะต้องจ่ายในเดือน พ.ค. 2559 ตามที่กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลยื่นขอให้กำหนดมาตรการเยียวยา กสทช. ไม่สามารถทำได้ ซึ่งกสทช.ยึดตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ให้ความเห็นไว้ในกรณีการเลื่อนจ่ายเงินประมูลงวดที่ 2 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า ไม่สามารถเลื่อนเก็บค่าธรรมเนียมได้ เนื่องจากเงินค่าธรรมเนียมต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ดังนั้น การเลื่อนการจัดเก็บเงิน จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาครัฐ และทำให้สำนักงาน กสทช.ถูกครหาได้ต่อการปฏิบัติหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบกิจการ

“เมื่อการเลื่อนจ่ายเงินค่าประมูล ทำให้ภาครัฐเสียหาย กสทช.ก็ไม่สามารถอนุมัติได้ ถ้าผมอนุมัติ ผมก็ต้องผิดกฎหมาย ผู้สื่อข่าวต้องหิ้วโอเลี้ยงไปฝากผมแล้ว ฉะนั้น เมื่อผิดกฎหมายใครจะกล้าอนุมัติ และ กสทช.ก็ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ แม้จะถูกฟ้องก็คงยังต้องหาทางช่วยต่อไป”.


http://www.thairath.co.th/content/520805

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.