Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 ส่วนแผนการจัดประมูลคลื่นในปี 2559 คาดว่าจะสามารถเรียกคืนคลื่น 2600 MHz จาก บมจ.อสมท มาจัดประมูลได้จำนวน 60 MHz

ประเด็นหลัก





ส่วนแผนการจัดประมูลคลื่นในปี 2559 คาดว่าจะสามารถเรียกคืนคลื่น 2600 MHz จาก บมจ.อสมท มาจัดประมูลได้จำนวน 60 MHz

"เคยหารือกับ อสมท แล้ว ยินดีที่จะคืนคลื่นมาให้ หาก กสทช.มีมาตรการเยียวยาให้ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนจากเงินที่ได้จากการประมูล ซึ่งคงต้องรอให้ พ.ร.บ. กสทช.ฉบับใหม่บังคับใช้ก่อน เพราะตอนนี้ กสทช.มีอำนาจเรียกคืนอย่างเดียว จนกลายเป็นปัญหาเพราะทุกรายต่างยื่นฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเท่ากับว่าคลื่นถูกดึงไว้ 8-9 ปี เอาไปใช้อะไรไม่ได้ ฉะนั้นหากมีการเยียวยาแลกกับการได้คลื่นมาจัดสรรใหม่ใช้ประโยชน์ได้น่าจะดี กว่า" นายฐากรกล่าว

โดยล่าสุดหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีแล้ว ร่าง พ.ร.บ. กสทช.กำลังอยู่ในระหว่างการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาใหม่อีกครั้งใน ประเด็นการแบ่งเงินรายได้จากการประมูลคลื่นโทรคมนาคมและกิจการบรอดแคสต์บาง ส่วนเข้ากองทุน DE เนื่องจากกระทรวงการคลังเห็นว่าแนวทางนี้จะทำให้กองทุนฯมีเงินสมทบมากเกินไป ควรต้องมีการกำหนดเพดานเงินในกองทุน หากกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จแล้วก็จะส่งเข้า ครม.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป






_______________________________





"ประจิน-อุตตม"รื้อปมคลื่นกสทช. รีวิว"ดิจิทัลอีโคโนมี"ดีเดย์15ธ.ค.ประมูลไลเซนส์900



"ประจิน-อุตตม" นัดถก "กสทช." เคลียร์ปมคลื่นสางนโยบาย "ดิจิทัลอีโคโนมี" มั่นใจยังเดินหน้าประมูล 4G ตามแผน ปักธงประมูล 900 MHz 15 ธ.ค. พร้อมหาทางเยียวยา อสมท แลกดึงคลื่น 2600 MHz กลับมาประมูลปีหน้า

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า วันที่ 14 ก.ย.นี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเข้าพบหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. เกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (DE) และการจัดสรรคลื่นความถี่ทั้งหมดของ กสทช.

"จะเป็นการรีวิวงานที่ กสทช.ได้รับมอบหมายจากบอร์ด DE ก่อนนี้ ทั้งการเป็นเจ้าภาพนำสายโทรคมนาคมลงใต้ดิน รวมถึงหารือเกี่ยวกับการจัดการคลื่นความถี่ต่าง ๆ ข้อโต้แย้งของ บมจ.ทีโอที ในส่วนของคลื่น 900 MHz และความคืบหน้าการคืนคลื่น 1800 MHz จำนวน 4.8 MHz ของแคทที่จะนำมารวมประมูล 11 พ.ย.นี้ เพราะหากไม่ทัน กสทช.ก็จะไม่รอ หรือการเสนอให้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของนายกรัฐมนตรี ก็จะนำมาหารือด้วย แต่จะไม่กระทบกับแผนประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ที่จะจัดขึ้นปลายปีนี้แน่นอน กสทช.ยังจะเดินหน้าต่อไป จนกว่าจะมีคำสั่งศาลหรือคำสั่ง คสช.มาระงับ เพราะถ้าไม่มีการประมูลจะทำให้รัฐเสียหาย"

โดย 30 ก.ย.นี้จะเป็นวันเปิดยื่นซองประมูลคลื่น 1800 MHz ซึ่งเชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้าร่วมด้วย อย่างทางกลุ่ม บมจ.จัสมินก็ได้มาขอรับซองเอกสารประมูลพร้อมเตรียมเงินลงทุนไว้ 5 หมื่นล้านบาท และเท่าที่ทราบทางกลุ่ม บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่นก็สนใจจะเข้าร่วม

ด้านร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz สำนักงานฯเตรียมได้เสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณา 16 ก.ย.นี้ โดยขอให้ปรับราคาเริ่มต้นประมูลไปอยู่ที่ 80% ของมูลค่าคลื่น หรือราว 12,867 ล้านบาท จากเดิมกำหนดไว้ที่ 70% หรือราว 11,260 ล้านบาท และบังคับการขยายโครงข่ายจาก 40% ของประชากรภายใน 4 ปี เพิ่มให้มีขยายเป็น 60% ภายใน 8 ปีด้วย รวมถึงบังคับให้ต้องลดค่าบริการให้ถูกกว่าบริการ 3G (ไม่เกิน 84 สตางค์) และมีแพ็กเกจราคาพิเศษสำหรับผู้มีรายได้น้อย รวมถึงผู้พิการและคาดว่าจะเปิดให้รับซองประมูลได้ 28 ก.ย.นี้ ส่วนการประมูลน่าจะจัดขึ้น 15 ธ.ค.นี้ตามกำหนดเดิม เนื่องจาก ครม.มีความเห็นว่าน่าจะทำให้เกิดการแข่งขันกันเสนอราคามากกว่าจะเลื่อนมา ประมูลพร้อมกับคลื่น 1800 MHz ในเดือน พ.ย.ตามที่ กสทช.เคยตั้งใจไว้

ส่วนแผนการจัดประมูลคลื่นในปี 2559 คาดว่าจะสามารถเรียกคืนคลื่น 2600 MHz จาก บมจ.อสมท มาจัดประมูลได้จำนวน 60 MHz

"เคยหารือกับ อสมท แล้ว ยินดีที่จะคืนคลื่นมาให้ หาก กสทช.มีมาตรการเยียวยาให้ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนจากเงินที่ได้จากการประมูล ซึ่งคงต้องรอให้ พ.ร.บ. กสทช.ฉบับใหม่บังคับใช้ก่อน เพราะตอนนี้ กสทช.มีอำนาจเรียกคืนอย่างเดียว จนกลายเป็นปัญหาเพราะทุกรายต่างยื่นฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเท่ากับว่าคลื่นถูกดึงไว้ 8-9 ปี เอาไปใช้อะไรไม่ได้ ฉะนั้นหากมีการเยียวยาแลกกับการได้คลื่นมาจัดสรรใหม่ใช้ประโยชน์ได้น่าจะดี กว่า" นายฐากรกล่าว

โดยล่าสุดหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีแล้ว ร่าง พ.ร.บ. กสทช.กำลังอยู่ในระหว่างการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาใหม่อีกครั้งใน ประเด็นการแบ่งเงินรายได้จากการประมูลคลื่นโทรคมนาคมและกิจการบรอดแคสต์บาง ส่วนเข้ากองทุน DE เนื่องจากกระทรวงการคลังเห็นว่าแนวทางนี้จะทำให้กองทุนฯมีเงินสมทบมากเกินไป ควรต้องมีการกำหนดเพดานเงินในกองทุน หากกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จแล้วก็จะส่งเข้า ครม.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441905653

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.