Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 "ธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่าปัจจุบันโครงข่ายสายสัญญาณในไทยมีอยู่ 3.1 แสนกิโลเมตร เป็นของภาครัฐที่มีทั้งสร้างเอง

ประเด็นหลัก





"ธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่าปัจจุบันโครงข่ายสายสัญญาณในไทยมีอยู่ 3.1 แสนกิโลเมตร เป็นของภาครัฐที่มีทั้งสร้างเอง และจากการให้สัมปทานเอกชน 2.1 แสนกิโลเมตร ที่เหลือสร้างโดยเอกชน ครอบคลุม 76% ของตำบลในประเทศ และใช้งานได้นานอีก 5 ปีจากนี้

ขณะที่โครงข่ายไร้สายปัจจุบันแทบครอบคลุมทุกหมู่บ้านแล้ว แต่มาจากการลงทุนที่ซ้ำซ้อนจำนวนมาก ถ้าปล่อยต่อไปจะเป็นการใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลือง

"ไม่ต้องการให้ลงทุนซ้ำซ้อนอีกต่อไป ตอนนี้รัฐและเอกชนต่างต้องการมีโครงข่ายของตนเอง วิธีแก้ที่ง่ายที่สุดคือ ตั้งบริษัทกลางขึ้นมารวบรวมโครงข่ายในประเทศ เพื่อให้รัฐและเอกชนแต่ละรายเช่าใช้ตามความจำเป็น จะช่วยประหยัดต้นทุนการขยายโครงข่ายถึง 300% ซึ่งราคาที่ให้ทุกคนเช่าใช้ต้องสมเหตุสมผลด้วย เราเองก็พร้อมนำสายไฟเบอร์ออปติกที่มีกว่า 10,000 กม. เข้าไปร่วมกับบริษัทกลางนี้"



"ธีรรัตน์" ย้ำว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้บรอดแบนด์แห่งชาติสำเร็จ คือต้องกำหนดราคากลางสำหรับผู้บริโภคด้วย หากโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกในไทยครอบคลุมเกินครึ่งของประเทศ ก็จะให้บริการความเร็ว 30 Mbpsที่ราคา 300 บาท/เดือนได้ อย่างสิงคโปร์ ให้บริการ 100 Mbps ราคาเพียง 800-900 บาท/เดือน แต่ในไทยความเร็วเท่านี้ต้องเสียค่าบริการถึง 5,000 บาท/เดือน ถ้าจะให้ราคาลด หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เช่น ช่วยลงทุนเพื่อให้ต้นทุนของเอกชนถูกลง







_______________________________






ตั้ง บ.กลาง รวมโครงข่าย บรอดแบนด์ (แห่งชาติ) กับ ศก.ดิจิทัล



การจัดตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติ เป็นหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล แต่หลังปรับคณะรัฐมนตรีจะเปลี่ยนไปอย่างไรต้องติดตาม


เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้จัดเสวนาเรื่อง "การพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ เพื่อฐานรากเศรษฐกิจดิจิทัลไทย" เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเดินหน้าบรอดแบนด์แห่งชาติที่ควรจะเป็น

"ธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร" กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น กล่าวว่าปัจจุบันโครงข่ายสายสัญญาณในไทยมีอยู่ 3.1 แสนกิโลเมตร เป็นของภาครัฐที่มีทั้งสร้างเอง และจากการให้สัมปทานเอกชน 2.1 แสนกิโลเมตร ที่เหลือสร้างโดยเอกชน ครอบคลุม 76% ของตำบลในประเทศ และใช้งานได้นานอีก 5 ปีจากนี้

ขณะที่โครงข่ายไร้สายปัจจุบันแทบครอบคลุมทุกหมู่บ้านแล้ว แต่มาจากการลงทุนที่ซ้ำซ้อนจำนวนมาก ถ้าปล่อยต่อไปจะเป็นการใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลือง

"ไม่ต้องการให้ลงทุนซ้ำซ้อนอีกต่อไป ตอนนี้รัฐและเอกชนต่างต้องการมีโครงข่ายของตนเอง วิธีแก้ที่ง่ายที่สุดคือ ตั้งบริษัทกลางขึ้นมารวบรวมโครงข่ายในประเทศ เพื่อให้รัฐและเอกชนแต่ละรายเช่าใช้ตามความจำเป็น จะช่วยประหยัดต้นทุนการขยายโครงข่ายถึง 300% ซึ่งราคาที่ให้ทุกคนเช่าใช้ต้องสมเหตุสมผลด้วย เราเองก็พร้อมนำสายไฟเบอร์ออปติกที่มีกว่า 10,000 กม. เข้าไปร่วมกับบริษัทกลางนี้"

"ธีรรัตน์" ย้ำว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้บรอดแบนด์แห่งชาติสำเร็จ คือต้องกำหนดราคากลางสำหรับผู้บริโภคด้วย หากโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกในไทยครอบคลุมเกินครึ่งของประเทศ ก็จะให้บริการความเร็ว 30 Mbpsที่ราคา 300 บาท/เดือนได้ อย่างสิงคโปร์ ให้บริการ 100 Mbps ราคาเพียง 800-900 บาท/เดือน แต่ในไทยความเร็วเท่านี้ต้องเสียค่าบริการถึง 5,000 บาท/เดือน ถ้าจะให้ราคาลด หน่วยงานรัฐต้องเข้ามาแทรกแซง เช่น ช่วยลงทุนเพื่อให้ต้นทุนของเอกชนถูกลง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเข้ามาสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิทัลของ กสทช. ด้วยการแจกคูปองส่วนลดเครื่องรับทีวีเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น

สำหรับ "ซิมโฟนี่" ปัจจุบันให้บริการโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกระดับพรีเมี่ยมตอบโจทย์ลูกค้าองค์กร เรื่อง "ราคา" จึงไม่ใช่ปัจจัยหลักในการแข่งขัน เพราะกลุ่มลูกค้าเลือกจากประสิทธิภาพเป็นหลัก

ด้าน "อนันต์ แก้วร่วมวงศ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีเอส ล็อกซอินโฟ กล่าวว่า การใช้บรอดแบนด์แห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องหาจุดที่บริการนี้เข้าไปตอบโจทย์ก่อน เช่น จัดทำเพื่อการศึกษา หรือสาธารณสุข เนื่องจากในเชิงวิศวกรรม ความจุของโครงข่ายในขณะนี้ยังเพียงพอที่จะใช้งานไปอีก 5 ปี แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนเทคโนโลยี เช่น ใช้สายไฟเบอร์ออปติก ดังนั้นถ้ารู้ถึงปัญหาของผู้ใช้บรอดแบนด์ การพัฒนาโครงข่ายจะตรงจุดมากขึ้น

ส่วนเรื่อง "ราคา" ต้องเข้าไปดูผู้กำกับกิจการนี้ เนื่องจากบริการอินเทอร์เน็ตอยู่ในการดูแลของ กสทช. ซึ่งไม่ได้ขึ้นตรงกับภาครัฐ ทำให้การใช้นโยบายของรัฐบาลเข้าไปควบคุม "ราคา" ค่อนข้างยาก ดังนั้นการย้ายกลับมาให้หน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เข้ามาดูแลน่าจะสมเหตุสมผลกว่า เพราะช่วยให้การปรับราคา รวมถึงการวางมาตรฐานความเร็วง่ายขึ้น ทำได้ตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

"ตอนนี้ผู้บริโภคใช้อินเทอร์เน็ตเข้าชมวิดีโอเป็นอันดับต้น ๆ ของการใช้งาน การรับชมวิดีโอได้ต่อเนื่องจำเป็นต้องมีความเร็วอินเทอร์เน็ต 4-5 Mbps แต่ในอนาคตวิดีโอเหล่านี้จะมีความละเอียดมากขึ้น ทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตควรเพิ่มเป็นอย่างน้อย 6-10 Mbps เพื่อรองรับการที่ภาครัฐจะจัดทำบรอดแบนด์แห่งชาติควรมองว่า อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานเหมือนน้ำประปาหรือไฟฟ้าที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเต็มที่ ไม่เหมือนปัจจุบันที่ให้เอกชนสร้างเพียงอย่างเดียว"

อย่างไรก็ตาม การรวมกันสร้างบริษัทกลางเพื่อดูแลระบบโครงข่ายจะต้องบริหารถึง Last Mile ไม่ใช่แค่อยู่ในส่วนสายสัญญาณหลัก (Back Bone) เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือกใช้งานได้หลากหลาย หรืออาจวางโครงข่ายผ่านเส้นทางรถไฟที่มีแผนสร้างทั่วประเทศก็ได้ ส่วนเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ หรือ International Gateway เป็นอีกส่วนที่มีผลต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เพราะผู้บริโภคเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้ดูแลความมั่นคงปลอดภัยทำได้ยาก

"อธิป อัศวานนท์" กรรมการบริหาร และเลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่การผลักดันเรื่องไอซีทียังไม่เต็มประสิทธิภาพเช่นเสียตำแหน่งศูนย์กลางด้านอินเทอร์เน็ตให้มาเลเซียและสิงคโปร์ ทำให้ทั้งคู่มีเซิร์ฟเวอร์ของเฟซบุ๊ก และกูเกิล ซึ่งเป็นบริการที่คนไทยใช้มากที่สุด

ขณะเดียวกันการผลักดันจากภาครัฐไม่มีนโยบายชัดเจน ยังทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในอันดับ 61 ของโลกเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อ้างอิงจากข้อมูลในการประชุม World Economic Forum แม้ฝั่งเอกชนจะขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตจนครอบคลุมเกือบทุกหมู่บ้านแล้วก็ตาม

"นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติเปรียบได้กับการสร้างสนามบินแต่ไม่ได้มองการจัดการเที่ยวบินก่อนเวลาคนไทยจะใช้เว็บไซต์นอกประเทศ เช่น เฟซบุ๊ก และกูเกิล สัญญาณอินเทอร์เน็ตต้องวิ่งไปที่สิงคโปร์ก่อน จากนั้นไปที่ฮ่องกง, ญี่ปุ่น และไปจบที่อเมริกา ดังนั้นหากลดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศได้ หรือพยายามคุยกับเฟซบุ๊ก และกูเกิลให้มาตั้งเซิร์ฟเวอร์ย่อยในไทย ซึ่งสมาคมกำลังคุยอยู่ จะช่วยย่นระยะทางรวมถึงได้ค่าผ่านทางด้วย ภาครัฐต้องลงมาศึกษาเรื่องนี้จริงจัง หรือแค่ศึกษาข้อมูลของสิงคโปร์ และมาเลเซียว่าเขาทำอย่างไร"

"อธิป" กล่าวอีกว่า การประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz เพื่อนำไปให้บริการ 4G ในไทยมีราคาสูงกว่าประเทศอื่นในเอเชีย เทียบกับจีดีพีในแต่ละประเทศ ซึ่งราคาค่าบริการสูงขึ้นตามต้นทุนคลื่น ทำให้ผลกระทบสุดท้ายตกอยู่กับประชาชน ดังนั้นการพิจารณาประมูลคลื่นครั้งต่อไปควรพิจารณาเรื่องการตั้งราคา รวมถึงรูปแบบให้สมเหตุสมผลกับการใช้งาน ไม่ใช่จัดประมูลเพื่อหาเงินเข้ารัฐอย่างเดียว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441861776

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.