Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 (เกาะติดประมูล4G)CAT ไม่เครียด!! ในระหว่างที่รอความชัดเจนในการขอคงสิทธิ์ในคลื่น 1800 MHz "แคท" จึงต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันที่จะเปลี่ยนไปด้วย เพราะธุรกิจโทรศัพท์มือถือเป็นรายได้สำคัญของบริษัท

ประเด็นหลัก



แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในเดือน พ.ย.นี้ จะส่งผลต่อตลาดโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก 4G จะกลายเป็นบริการพื้นฐานที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ทุกรายต้องมี และกระทบต่อธุรกิจโทรศัพท์มือถือของแคทด้วยเช่นกัน จากปัจจุบันที่มีจุดเด่นด้านความเร็วของโมบายอินเทอร์เน็ตบนโครงข่าย 850 MHz


และในระหว่างที่รอความชัดเจนในการขอคงสิทธิ์ในคลื่น 1800 MHz "แคท" จึงต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันที่จะเปลี่ยนไปด้วย เพราะธุรกิจโทรศัพท์มือถือเป็นรายได้สำคัญของบริษัท โดยปี 2557 ที่ผ่านมา มีรายได้กว่า 25,125 ล้านบาท จากรายได้รวมทั้งหมด 55,516 ล้านบาท

"เมื่อ กสทช.ประมูล 4G แคทเองก็ต้องดิ้นรนหาบริการ 4G มาให้ลูกค้าให้ได้เพราะเมื่อทุกค่ายมีบริการ 4G แคทจะยังโฆษณาเรื่อง 3G ทั่วไทยเป็นจุดเด่นไม่ได้แล้ว แม้ตลาด 3G จะยังไปได้ แต่ลูกค้าก็มักวิ่งไปหาของใหม่กว่า ทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าที่จะเข้ามาทำสัญญา MVNO กับเรา"

โดยการดำเนินการในขณะนี้มี 2 ส่วน คือ 1.เจรจาหาพันธมิตรที่สนใจเข้าร่วมประมูล 4G ของ กสทช. ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ต้องให้ชัดเจนให้ได้ก่อนยื่นซองเข้าประมูลวันที่ 30 ก.ย.นี้ หากเลยไปแล้ว โอกาสที่จะหาพาร์ตเนอร์ได้จะน้อยลง และ 2.เจรจาขอโรมมิ่งโครงข่าย 4G กับกลุ่มทรู ที่เป็นคู่ค้าบนโครงข่าย 850 MHz อยู่ รวมถึงเจรจาโรมมิ่งกับดีแทคเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าแคทมี 4G ใช้งาน









_______________________________





4Gเอฟเฟ็กต์"แคท-ทีโอที"ดิ้นพล่าน เจรจาโรมมิ่ง"ทรู-ดีแทค"พึ่งไอซีทีหาทางยื้อคลื่น


"แคท" เร่งเจรจา "ทรู-ดีแทค" โรมมิ่ง4G รักษาธุรกิจโมบาย ฟาก "ทีโอที" ขีดเส้นร้อยรอบปิดดีลพันธมิตร 16 ก.ย.นี้หวังพลิกฟื้นรายได้ ขณะที่ "ไอซีที"ปักธงเคลียร์ปมยื้อคลื่นรัฐวิสาหกิจ ยอมรับ "ม.44" ยังเป็นหนึ่งในทางเลือก ย้ำจุดยืนปกป้องผลประโยชน์รัฐ และไม่ขัดกฎหมาย


แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในเดือน พ.ย.นี้ จะส่งผลต่อตลาดโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก 4G จะกลายเป็นบริการพื้นฐานที่ผู้ให้บริการรายใหญ่ทุกรายต้องมี และกระทบต่อธุรกิจโทรศัพท์มือถือของแคทด้วยเช่นกัน จากปัจจุบันที่มีจุดเด่นด้านความเร็วของโมบายอินเทอร์เน็ตบนโครงข่าย 850 MHz


และในระหว่างที่รอความชัดเจนในการขอคงสิทธิ์ในคลื่น 1800 MHz "แคท" จึงต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันที่จะเปลี่ยนไปด้วย เพราะธุรกิจโทรศัพท์มือถือเป็นรายได้สำคัญของบริษัท โดยปี 2557 ที่ผ่านมา มีรายได้กว่า 25,125 ล้านบาท จากรายได้รวมทั้งหมด 55,516 ล้านบาท

"เมื่อ กสทช.ประมูล 4G แคทเองก็ต้องดิ้นรนหาบริการ 4G มาให้ลูกค้าให้ได้เพราะเมื่อทุกค่ายมีบริการ 4G แคทจะยังโฆษณาเรื่อง 3G ทั่วไทยเป็นจุดเด่นไม่ได้แล้ว แม้ตลาด 3G จะยังไปได้ แต่ลูกค้าก็มักวิ่งไปหาของใหม่กว่า ทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าที่จะเข้ามาทำสัญญา MVNO กับเรา"

โดยการดำเนินการในขณะนี้มี 2 ส่วน คือ 1.เจรจาหาพันธมิตรที่สนใจเข้าร่วมประมูล 4G ของ กสทช. ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ต้องให้ชัดเจนให้ได้ก่อนยื่นซองเข้าประมูลวันที่ 30 ก.ย.นี้ หากเลยไปแล้ว โอกาสที่จะหาพาร์ตเนอร์ได้จะน้อยลง และ 2.เจรจาขอโรมมิ่งโครงข่าย 4G กับกลุ่มทรู ที่เป็นคู่ค้าบนโครงข่าย 850 MHz อยู่ รวมถึงเจรจาโรมมิ่งกับดีแทคเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าแคทมี 4G ใช้งาน

ด้านนายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีจะตัดสินใจเรื่องพันธมิตรธุรกิจระดับ "Strategy Partner" ของทีโอทีจากข้อเสนอของ 5 บริษัทที่เสนอมา และฝ่ายบริหารได้เจรจาตามกรอบของ "ดีลอยด์" บริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น บมจ.ล็อกซ์เล่ย์ กลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด ซึ่งบอร์ดยุทธศาสตร์กำลังพิจารณากลั่นกรองแต่ละข้อเสนอแยกตามกลุ่มธุรกิจ ก่อนสรุปให้บอร์ดใหญ่พิจารณาอีกครั้ง

"มั่นใจว่าในสิ้นเดือน ก.ย.นี้ จะมีข่าวดีสำหรับทีโอทีแน่นอน เลื่อนไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว เพราะถ้าประมูล 4G ความน่าสนใจของทีโอทีจะหมดไปทันที ขณะที่พันธมิตรจะทำให้รายได้ทีโอทีเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของมือถือจะมีอย่างน้อย 8-9 พันล้านบาทต่อเดือน"

ขณะที่นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า การจะเสนอให้นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อจัดสรรคลื่นให้รัฐวิสาหกิจ รวมถึงการเรียกคืนคลื่นบางส่วนนั้นยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่ง กสทช.มีหน้าที่ชัดเจนอยู่แล้วในการจัดสรรคลื่นความถี่ ขณะที่ บมจ.ทีโอทีและ บมจ.กสท โทรคมนาคม ก็ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงต้องคำนึงถึงประโยชน์รอบด้าน

"แคทยืนยันว่าหากได้คลื่นมาจะไปใช้ประโยชน์เช่นกัน เป็นทรัพย์สินของรัฐ กำลังให้ที่ปรึกษากระทรวงไปดูในแง่มุมของกฎหมายว่าจะทำอะไรได้บ้างในการคืนคลื่น ซึ่งตนอยากให้ชัดเจนในสัปดาห์นี้"

สำหรับคลื่นที่อยู่กับแคท มี 2 ส่วน การคืนคลื่น 1800 MHz ภายใต้สัมปทานกับดีแทค จำนวน 4.8 MHz ให้ กสทช.นำไปประมูลรวมในเดือน พ.ย.นี้ ทางกระทรวงไอซีทีคิดว่าน่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ได้ก่อนวันที่ 25 ก.ย.นี้ เพื่อให้ทันตามกรอบเวลาของ กสทช. ส่วนอีก 20 MHz ทางแคทต้องการจะขอนำมาใช้ประโยชน์จนถึงปี 2568

"ส่วน 4.8 MHz ที่จะคืนให้ กสทช.ไปรวมประมูล จะพยายามเร่งให้เร็วที่สุด เพราะการคืนคลื่นก็จะคำนึงถึงประโยชน์ประเทศเป็นหลัก หากคืนทัน กสทช.จะได้ประมูล 15 MHz 2 ใบอนุญาต รัฐจะได้เงินมากขึ้น แต่ต้องดูข้อกฎหมายอย่างรอบคอบ ส่วนคลื่นอีก 20 MHz ก็อยากให้เสนอ ครม.เห็นชอบพร้อมกันไปทั้ง 2 เรื่อง แต่ในสัมปทานเดิมยังติดข้อกฎหมาย จึงต้องดูให้รอบคอบ Win-Winทั้ง 2 ฝ่าย"

กรณีคลื่น 900 MHz ของทีโอที ซึ่ง กสทช.มีแผนนำออกประมูลใน พ.ย.นี้ เช่นกัน แต่ทีโอทียืนยันสิทธิ์ในคลื่นไปจนถึงปี 2568 แม้สัมปทานกับเอไอเอสจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้ นายอุตตมกล่าวว่า ต้องดูข้อกฎหมาย แต่ผู้บริโภคไม่ได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะเมื่อสิ้นสุดสัมปทานแล้วก็จะเข้าสู่ช่วงมาตรการเยียวยา เป็นกรณีที่มีรายละเอียดต่างจากของแคท ซึ่งมีโอกาสเสนอให้ ครม.แก้ไขปัญหาได้ก่อน

"ทีโอทียังไม่ได้เสนอแผนการใช้งานที่แน่นอนเข้ามา แต่หลักการคือ ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐ ก็จะพยายามให้ทีโอทีและแคท ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคลื่นเพียงพอตามกรอบของกฎหมาย อาจต้องหารือกับคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441860741

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.