Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 ล่าสุด ช่อง 7 ยืนยันเข้ามาแล้วว่าจะไม่เข้าร่วม และใช้ผลเรตติ้งใหม่ ส่วนช่องอื่น ๆ รวมถึงเคเบิลทีวี ชมรมทีวีดิจิทัล สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม พร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเรตติ้งครั้งนี้

ประเด็นหลัก


นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อแก้ปัญหาคำคัดค้านที่เกิดขึ้น ล่าสุดอยู่ระหว่างจัดตั้งสมาคมสภาวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือเอ็มอาร์บี เพื่อมารับผิดชอบโครงการนี้ จากเดิมที่อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ และพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ระบบวัดเรตติ้งมัลติสกรีนตามแผนเดิม ซึ่งได้คัดเลือกบริษัทกันตาร์ มีเดีย และไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็ตาม คาดว่าจะสามารถใช้ข้อมูลเรตติ้งจากบริษัทรายใหม่ได้ในปี 2560

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ช่อง 7 ยืนยันเข้ามาแล้วว่าจะไม่เข้าร่วม และใช้ผลเรตติ้งใหม่ ส่วนช่องอื่น ๆ รวมถึงเคเบิลทีวี ชมรมทีวีดิจิทัล สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม พร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเรตติ้งครั้งนี้

"ตอนนี้อยู่ระหว่างหาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการทีวี และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าต่อ แม้ กสทช.จะให้งบฯสนับสนุนหรือไม่ก็ตาม ขณะที่งบฯลงทุนเบื้องต้นที่วางไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อ 6 ปี ก็เป็นงบฯลงทุนที่ยังไม่ได้รวมเงินสนับสนุนจาก กสทช. โดยผู้ประกอบการต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อข้อมูล 9-10 ล้านบาทต่อปี ซึ่งทุกช่องก็รับทราบ"










_______________________________





"ช่อง7-นีลเส็น"ดึงเกมวิจัยเรตติ้ง ขวาง"กสทช."อุ้ม-สมาคมมีเดียแท็กทีมแน่นลุยต่อ



สะเทือนวงการทีวี "ช่อง 7-นีลเส็น" ร่อนจดหมาย กสทช. คัดค้านงบฯสนับสนุนบริษัททำวิจัยรายใหม่ วงการชี้แค่ยื้อเกมช่วงเปลี่ยนผ่าน หวังรักษาความเป็นผู้นำ สมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ เปิดไพ่ใหม่ตั้งสมาคมสภาวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อฯ พร้อมเดินหน้าลุยวัดเรตติ้งใหม่ต่อเนื่อง ดีเดย์ปี 2560 ได้ใช้ข้อมูลใหม่แน่ ฟากผู้ประกอบการ อสมท-ทรูโฟร์ยู สมาคมเคเบิลฯ ดาวเทียม ออกแรงหนุนเต็มที่

กลายเป็นความเคลื่อนไหวที่สะเทือนวงการทีวีดิจิทัลอีกครั้ง เมื่อช่อง 7 และบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้วัดความนิยมผู้ชมทีวี (เรตติ้ง) ในปัจจุบัน ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทักท้วงการคัดเลือกหาบริษัทจัดทำเรตติ้งทีวี

ทั้งนี้ช่อง 7 และนีลเส็น ให้เหตุผลว่า การสนับสนุนของบฯดังกล่าวไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดสรรเงินของกองทุน อีกทั้งสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (Media Research Bureau : MRB) ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ประเด็นสุดท้ายคือ กสทช.และบอร์ดกองทุนไม่ได้รับทราบและมีส่วนร่วมในขั้นตอนคัดเลือกบริษัทวิจัย ส่งผลให้บอร์ดกองทุนชะลอการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไป



ขณะที่ความเคลื่อนไหวล่าสุด สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง ประธานชมรมทีวีดิจิทัล นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) และนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางรับมือ

สมาคมมีเดียฯแก้เกม

นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อแก้ปัญหาคำคัดค้านที่เกิดขึ้น ล่าสุดอยู่ระหว่างจัดตั้งสมาคมสภาวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือเอ็มอาร์บี เพื่อมารับผิดชอบโครงการนี้ จากเดิมที่อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ และพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ระบบวัดเรตติ้งมัลติสกรีนตามแผนเดิม ซึ่งได้คัดเลือกบริษัทกันตาร์ มีเดีย และไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็ตาม คาดว่าจะสามารถใช้ข้อมูลเรตติ้งจากบริษัทรายใหม่ได้ในปี 2560

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ช่อง 7 ยืนยันเข้ามาแล้วว่าจะไม่เข้าร่วม และใช้ผลเรตติ้งใหม่ ส่วนช่องอื่น ๆ รวมถึงเคเบิลทีวี ชมรมทีวีดิจิทัล สมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม พร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเรตติ้งครั้งนี้

"ตอนนี้อยู่ระหว่างหาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการทีวี และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเดินหน้าต่อ แม้ กสทช.จะให้งบฯสนับสนุนหรือไม่ก็ตาม ขณะที่งบฯลงทุนเบื้องต้นที่วางไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อ 6 ปี ก็เป็นงบฯลงทุนที่ยังไม่ได้รวมเงินสนับสนุนจาก กสทช. โดยผู้ประกอบการต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อข้อมูล 9-10 ล้านบาทต่อปี ซึ่งทุกช่องก็รับทราบ"

ยื้อ...รักษาความเป็นผู้นำ

ผู้เกี่ยวข้องการคัดเลือกบริษัทวิจัยเรตติ้ง วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ช่อง 7 และนีลเส็น กำลังดึงเกม เพื่อรักษาความเป็นผู้นำตลาดต่อไปให้นานที่สุด และเป็นที่รับรู้ว่า นีลเส็นอยู่ระหว่างพัฒนาเครื่องมือวิจัยใหม่ รวมถึงการวัดเรตติ้งโฆษณาและรายการทีวีแบบมัลติสกรีนให้ครอบคลุมทุกดีไวซ์ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเลต ทีวี สมาร์ทโฟน ฯลฯ คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2560 เท่ากับว่า นีลเส็นก็จะได้โอกาสในการให้บริการข้อมูลก่อนรายอื่น ๆ

ส่วนช่อง 7 จากผลวิจัยของนีลเส็น ระบุชัดเจนว่า ได้รับความนิยมจากคนดูมากกว่าช่องอื่น ๆ มาโดยตลอดอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นอะไรต้องเปลี่ยนเป็นรายใหม่ ทั้งที่ทุกฝ่ายเชื่อกันว่าถึงจะเปลี่ยนผู้ทำวิจัยเป็นกันตาร์ มีเดีย ผลของเรตติ้งใหม่ก็ไม่น่าจะหลุดโผ โดยช่อง 7 ก็ยังคงความเป็นผู้นำตลาดฟรีทีวีต่อไป

"แต่ที่ชัดเจนก็คือ ในขณะที่คนอื่น ๆ ต้องการความเปลี่ยนแปลง แต่ช่อง 7 ได้ประกาศตัวเป็นพันธมิตรกับนีลเส็นอย่างเปิดเผย" แหล่งข่าวระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่อง 7 เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดปรับรูปแบบรายการกระจกหกด้านให้ทันสมัย เพิ่มความน่าสนใจ พร้อมเร่งขยายฐานผู้ชมกลุ่มคนเมืองมากขึ้น ด้วยการเติมรายการลักษณะฟอร์แมตต่างประเทศ โดยเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เช่น เปลี่ยนหน้า...ท้าโชว์ โหดมันฮาประเทศไทย เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย เป็นต้น

นีลเส็นย้ำต้องเสมอภาค

ก่อนหน้านี้ นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ แผนกนีลเส็น มีเดีย บริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การยื่นจดหมายต่อ กสทช.มีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า ต้องการเรียกร้องความเสมอภาคของผู้ดำเนินธุรกิจวัดเรตติ้งทีวีเหมือนกัน ประกอบกับเพื่อรักษาสิทธิ์ให้แก่ลูกค้า (ช่องทีวี) บางรายที่ไม่ได้เข้าร่วมกับทางเอ็มอาร์บี อย่างไรก็ตาม ตลาดของธุรกิจวัดเรตติ้งทีวีไม่ใหญ่ ทำให้หลาย ๆ ประเทศมีบริษัทวิจัยเรตติ้งทีวีเพียงรายเดียว และมีไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มีมากกว่า 2 บริษัท ดังนั้น เมื่อไทยกำลังจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา ก็ต้องปล่อยให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ซึ่งนีลเส็น คือ บริษัทผู้วัดและจัดทำเรตติ้งอิสระ แม้จะมีรายใหม่เข้ามาในตลาดก็ยังเดินหน้าธุรกิจต่อไป พร้อมพัฒนาบริการ รูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดรับกับพฤติกรรมการใช้สื่อของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ดูทีวีลดลง

อสมท-ทรูโฟร์ยู ออกแรงหนุน

นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่อง MCOT HD และ MCOT Family ให้มุมมองว่า หลังจากเอ็มอาร์บีเดินหน้าจัดทำเรตติ้งใหม่ โดยได้ผู้ชนะประมูลจัดทำเรตติ้งแล้ว ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมทีวี เนื่องจากรายละเอียดการจัดทำเรตติ้งของเอ็มอาร์บี ถือเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ ส่วนกรณีที่ว่า กสทช.จะให้งบฯสนับสนุนหรือไม่ บริษัทก็พร้อมจะสนับสนุนให้เอ็มอาร์บีเดินหน้าทำเรตติ้งใหม่ต่อ แม้สุดท้ายจะต้องจ่ายเพื่อซื้อข้อมูลสูงกว่า 9-10 ล้านบาทก็ตาม

สอดรับกับนางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด ผู้บริหารช่องทรูโฟร์ยู กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านระบบวัดเรตติ้งของเอ็มอาร์บีที่กำลังเกิดขึ้นถือเป็นผลดีต่อธุรกิจทีวีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต สถานี มีเดียเอเยนซี่ เพื่อบาลานซ์ข้อมูลที่ได้ และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ทุกช่องทางการรับสื่อ ซึ่งหากเอ็มอาร์บีเดินหน้าตามทิศทางที่วางไว้ก็จะส่งให้คุณภาพของเรตติ้งดีขึ้นด้วย

จากรายงานบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า เรตติ้งวันที่ 1-7 กันยายน 2558 ของกลุ่มผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่า ช่อง 7 มีเรตติ้ง 3.521 ช่อง 3 เรตติ้ง 2.406 เวิร์คพอยท์ 1.041 ช่อง 8 เรตติ้ง 0.708 โมโน 29 เรตติ้ง 0.405 ช่องวัน 0.306 MCOT HD 0.299 ช่อง 3 เอสดี 0.246 ทรูโฟร์ยู 0.241 ไทยรัฐทีวี 0.234



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1442214728

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.