Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 FACEBOOK มี ฐานคนใช้กว่า 34 ล้านราย ครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ ในจำนวนนี้กว่า 70% ใช้งานทุกวัน ทำให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดคิดเป็น 96% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และ 94% ใช้ผ่านมือถือเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 35 นาที/วัน 2.35 ชั่วโมง/วัน มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

ประเด็นหลัก







อาจยังไม่พร้อมสักเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งสำนักงานหรือผู้จัดการประจำประเทศไทยที่ยังอยู่ระหว่างรับสมัคร แต่ถึงอย่างนั้น ยักษ์โซเชียลเน็ตเวิร์ก "เฟซบุ๊ก" ก็พร้อมแล้วสำหรับการ (ประกาศ) เปิดสำนักงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แม้มาทีหลังยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นโลก "กูเกิล" นานกว่า 4 ปี แต่ด้วยฐานคนใช้จำนวนมหาศาล การมาครั้งนี้จึงมีความหมายยิ่ง

ด้วยฐานคนใช้กว่า 34 ล้านราย ครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ ในจำนวนนี้กว่า 70% ใช้งานทุกวัน ทำให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดคิดเป็น 96% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และ 94% ใช้ผ่านมือถือเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 35 นาที/วัน 2.35 ชั่วโมง/วัน มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมากกว่าดูทีวีเสียอีก








_______________________________





เฟซบุ๊ก" เปิดศึกโฆษณาดิจิทัล ดัน IG ชิงเค้กหมื่น ล.ปะทะ "กูเกิล-ไลน์"




อาจยังไม่พร้อมสักเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งสำนักงานหรือผู้จัดการประจำประเทศไทยที่ยังอยู่ระหว่างรับสมัคร แต่ถึงอย่างนั้น ยักษ์โซเชียลเน็ตเวิร์ก "เฟซบุ๊ก" ก็พร้อมแล้วสำหรับการ (ประกาศ) เปิดสำนักงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แม้มาทีหลังยักษ์เสิร์ชเอ็นจิ้นโลก "กูเกิล" นานกว่า 4 ปี แต่ด้วยฐานคนใช้จำนวนมหาศาล การมาครั้งนี้จึงมีความหมายยิ่ง

ด้วยฐานคนใช้กว่า 34 ล้านราย ครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ ในจำนวนนี้กว่า 70% ใช้งานทุกวัน ทำให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดคิดเป็น 96% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และ 94% ใช้ผ่านมือถือเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 35 นาที/วัน 2.35 ชั่วโมง/วัน มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมากกว่าดูทีวีเสียอีก






"แดน เนียรี่" รองประธานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก "เฟซบุ๊ก" กล่าวว่า ที่เพิ่งเข้ามาเปิดสำนักงานในไทยก็เพราะต้องใช้เวลาดูแลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่มีอยู่ ประกอบกับต้องการให้มีฐานผู้ใช้ที่แข็งแรง โดยก่อนหน้านี้มีทีมงานระดับภูมิภาคที่ประจำอยู่ที่สิงคโปร์คอยดูแลและสนับสนุนภาคธุรกิจ และผู้ใช้คนไทยอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

แต่จากนี้ไปจะทำงานใกล้ชิดและเข้มข้นขึ้นทั้งกับพาร์ตเนอร์, เอสเอ็มอี, องค์กรขนาดใหญ่ และผู้ใช้ทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้มากขึ้น

คนใช้เฟซบุ๊กทำอะไรบ้าง ?

มากกว่า 78% ใช้ติดต่อสื่อสารกับคนรู้จักและเพื่อนร่วมงาน

74% ติดต่อเพื่อนและญาติ

69% แบ่งปันความคิดเห็น

65% ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์สินค้าสูงเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย-แปซิฟิก

ข้อมูลจาก "ทีเอ็นเอส รีเสิร์ช" ยังระบุว่า การลงทุนในสื่อดิจิทัลไทยปีนี้จะเพิ่มขึ้น 62% เฉพาะยอดใช้จ่ายด้านโฆษณาอย่างเดียวก็จะเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกัน คาดว่าในสิ้นปีจะมีมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท สูงกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 33% เกือบเท่าตัว ขณะที่การลงทุนโฆษณาบนเฟซบุ๊กมีการปรับการคาดการณ์จาก 16.5% เป็น 21.4%

เมื่อรวมเข้ากับความนิยมในการใช้งาน "เฟซบุ๊ก" ปัจจุบัน ผู้บริหาร "เฟซบุ๊ก" เชื่อว่า เฟซบุ๊กจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจ เพราะ 70% ของผู้ใช้คนไทยเชื่อมต่อกับเพจธุรกิจของเอสเอ็มอีอย่างน้อย 1 เพจ และปัจจุบันมีธุรกิจกว่า 1.16 ล้านกิจการในไทยเป็นเจ้าของเพจที่แอ็กทีฟบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยมีมากกว่า 2.76 ล้านราย หรือคิดเป็น 97.2% ของธุรกิจทั้งหมด อ้างอิงข้อมูลปี 2556 รายงานโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2557

"เราพร้อมสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยสื่อโฆษณาหลากหลายรูปแบบในทุกระดับงบประมาณ การเปิดสำนักงานในไทยครั้งนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ

เฟซบุ๊กต่อประเทศไทย ทั้งในแง่การลงทุนเพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจไทย ทำให้คนไทยและธุรกิจต่าง ๆ เชื่อมต่อถึงกันง่ายขึ้น"

ตัวอย่างเอสเอ็มอีไทยที่ประสบความสำเร็จ เช่น JQ Seafood Delivery

(เจคิวปูม้านึ่ง) ร้านอาหารแบบส่งถึงบ้านที่ขยายธุรกิจด้วยโฆษณาบนเฟซบุ๊กโดยใช้เงินหลักพันบาทต่อครั้ง ปัจจุบันยังคงใช้เพจเฟซบุ๊กเป็นหน้าร้านและช่องทางติดต่อหลัก คาดว่าปีนี้จะมีรายได้เกิน 300 ล้านบาท

นอกจากนี้ "เฟซบุ๊ก" ยังเปิดตัวโฆษณาบน "อินสตาแกรม" (IG) ด้วย โดยจะเริ่มเห็นโฆษณาตั้งแต่ ก.ย.เป็นต้นไป

"อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์" เอ็มดี "Adapter" ดิจิทัลเอเยนซี่ชื่อดังของไทยกล่าวว่า รายได้ของเฟซบุ๊กในเอเชีย-แปซิฟิกเติบโตต่อเนื่อง

จาก 431 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 2 ปีที่แล้ว เป็น 623 ล้านเหรียญในไตรมาส 2 ปีนี้ ซึ่งในเมืองไทยมากกว่าครึ่งของมูลค่าสื่อออนไลน์ที่ใช้ในปัจจุบันตกอยู่กับเฟซบุ๊กและกูเกิล เชื่อว่าการเปิดสำนักงานในไทยมาจากการมองเห็นการเติบโตดังกล่าว และความต้องการในการขยายตลาดภาคธุรกิจโดยแยกลูกค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ บิ๊กแบรนด์/เอเยนซี่ และเอสเอ็มอี

"ที่น่าจะเห็นชัดเจนขึ้น คือ การอัพเดตข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทย ทั้งในแง่สถิติ, Insight รวมถึง Key Learning,Case Studies & Benchmark จะมากขึ้นรวมถึงการเชื่อมต่อฐานข้อมูลผู้ใช้กับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ง่ายขึ้น เพราะมีผู้ประสานงานในไทย แปลว่าการทำแผนดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งโดยใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กทั้งในแง่โฆษณาต่าง ๆ รวมถึง Plug-in เชื่อมต่อกับเว็บไซต์, โมบายไซต์, โมบายแอป และการ Convert Users บนเฟซบุ๊กไปอีคอมเมิร์ซหรือบริการอื่นที่กำลังจะมาน่าจะเติบโตขึ้น มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้นและสะดวกขึ้นด้วย"

สำหรับอินสตาแกรม "อรรถวุฒิ" มองว่าเป็นอีกทางเลือกของการทำโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย ข้อดีคือทำ Call for Action(สั่งซื้อ, ดาวน์โหลด) และเลือกกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาได้ชัดเจนมาก

ขึ้นต่างจากการใช้ผู้มีอิทธิพล (Influencer) แบบที่ผ่านมา

"ที่ผ่านมา IG เป็นช่องทางสำหรับเซเลบและเน็ตไอดอล ในการสร้างกระแสของสินค้า สังเกตได้ว่าถ้ามีสินค้าใหม่ต้องเห็นเซเลบหรือเน็ตไอดอลแห่กันถือสินค้านั้นว่อน IG ผ่าน # ต่าง ๆ เนื่องจากข้อดีของ IG คือ คนบริโภครูปเป็นหลักทำให้เห็นรูปสินค้าชัดเจน และมี En-gagement สูงกว่าเฟซบุ๊ก มีสินค้าหลายตัวเกิดมาจาก IG หลายคนใช้เป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าออนไลน์ หรือที่เรียกว่า แม่ค้า IG แต่ข้อเสียคือไม่สามารถใส่ปุ่มหรือ URL ลิงก์ออกมาให้เกิด Call for Action ได้"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1442675746

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.