Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กันยายน 2558 TOT มีบอร์ดเข้าประชุมทั้งหมด 7 คน จากบอร์ดทั้งหมด 13 คน ขณะที่วาระดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะเมื่อมีมติ ครม.ออกมาแล้ว และต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วย มิฉะนั้นอาจโดนฟ้องมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องได้

ประเด็นหลัก





แหล่ง ข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีล่าสุด (วันที่ 18 ก.ย. 2558) มีวาระการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ก.ย. 2558) ที่ให้เร่งรัดให้ บมจ.ทีโอที ดำเนินการตามกรอบของกฎหมายเกี่ยวกับมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) แต่ในการประชุมดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมติ ครม.ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายประเด็น จึงจะเข้าหารือกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอความชัดเจนอีกครั้ง

"มีบอร์ดเข้าประชุมทั้งหมด 7 คน จากบอร์ดทั้งหมด 13 คน ขณะที่วาระดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะเมื่อมีมติ ครม.ออกมาแล้ว และต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วย มิฉะนั้นอาจโดนฟ้องมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องได้ เพราะมติ ครม.ไม่ได้ชี้ชัดว่า ให้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือไม่ได้มีการชี้ว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส ครั้งที่ 6 และ 7 เป็นโมฆะ แล้วให้กลับไปใช้สัญญาหลักเหมือนเดิมแต่อย่างใด ตามที่ทีโอทีได้เสนอขอให้มติ ครม.ออกมารับรอง ซึ่งจะทำให้ทีโอทีฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ และตามคำพิพากษาของศาลฎีกาเอง ก็กล่าวโทษแต่เฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่าเอไอเอสผิด หากจะดำเนินการต่อก็คือต้องฟ้องร้องเอไอเอส"







_______________________________






บอร์ดทีโอทีรับเผือกร้อนปมสัมปทาน เช็กบิล"เอไอเอส"จบไม่ลง-หารือรมว.ไอซีทีอีกรอบ


บอร์ด "ทีโอที" อลหม่านวิ่งวุ่นหาทางออกแก้ปมสัมปทาน "เอไอเอส" หลังมติ ครม.ไม่ฟันธงให้การแก้ไขสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 เป็นโมฆะ ที่จะต่อยอดให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ เตรียมขอพบ "รัฐมนตรีไอซีที" อีกรอบขอความชัดเจน ขณะที่ปิดดีลหาพาร์ตเนอร์เลื่อนไปเป็น 23 ก.ย.

แหล่ง ข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีล่าสุด (วันที่ 18 ก.ย. 2558) มีวาระการพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ก.ย. 2558) ที่ให้เร่งรัดให้ บมจ.ทีโอที ดำเนินการตามกรอบของกฎหมายเกี่ยวกับมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขสัญญาสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) แต่ในการประชุมดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมติ ครม.ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายประเด็น จึงจะเข้าหารือกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอความชัดเจนอีกครั้ง

"มีบอร์ดเข้าประชุมทั้งหมด 7 คน จากบอร์ดทั้งหมด 13 คน ขณะที่วาระดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะเมื่อมีมติ ครม.ออกมาแล้ว และต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วย มิฉะนั้นอาจโดนฟ้องมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องได้ เพราะมติ ครม.ไม่ได้ชี้ชัดว่า ให้ฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือไม่ได้มีการชี้ว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานของเอไอเอส ครั้งที่ 6 และ 7 เป็นโมฆะ แล้วให้กลับไปใช้สัญญาหลักเหมือนเดิมแต่อย่างใด ตามที่ทีโอทีได้เสนอขอให้มติ ครม.ออกมารับรอง ซึ่งจะทำให้ทีโอทีฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ และตามคำพิพากษาของศาลฎีกาเอง ก็กล่าวโทษแต่เฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่าเอไอเอสผิด หากจะดำเนินการต่อก็คือต้องฟ้องร้องเอไอเอส"

สำหรับวาระการพิจารณา เพื่อสรุปเกี่ยวกับพันธมิตรธุรกิจของทีโอที เดิมกำหนดไว้ว่าจะตัดสินใจให้เสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากมีหนังสือแจ้งมติ ครม. เป็นวาระด่วนเข้ามาก่อน จึงต้องเลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไปเป็นวันที่ 23 ก.ย.นี้แทน ซึ่งจากแนวโน้มการเจรจาในขณะนี้กระแสข่าวว่า ข้อเสนอของเอไอเอสน่าสนใจที่สุด หากจะเลือกเป็นพาร์ตเนอร์ด้วย

"ส่วน มูลค่าความเสียหายจากการแก้สัมปทานเอไอเอส บอร์ดชุดนี้ยังไม่เคยประเมินมูลค่า แต่บอร์ดชุดก่อนนี้เคยประมาณไว้ราว 7 หมื่นล้านบาท"

ด้านนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีไอซีที กล่าวว่า มติ ครม.ได้แจ้งให้คู่สัญญาภาครัฐ คือ ทีโอที เร่งรัดดำเนินการภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย จึงได้ทำหนังสือแจ้งมติ ครม. อย่างเป็นทางการให้ บมจ.ทีโอทีทราบ รวมถึงแจ้งคำสั่งศาล มติ ป.ป.ช. และมติของคณะกรรมการ มาตรา 43 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน เพราะถือว่าเป็นกระบวนการที่ครบถ้วน จากนี้จึงเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาต้องไปดำเนินการ ซึ่งทาง ป.ป.ช.ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะต้องเรียกร้องคู่สัญญาอย่างไร เป็นหน้าที่ของคู่สัญญาต้องพิจารณา และควรต้องดำเนินการก่อนสิ้นอายุสัมปทาน (สัมปทานเอไอเอสจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2558 นี้) และต้องรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการทุกสัปดาห์ เพื่อจะได้รายงาน ครม.ต่อไป

"ส่วนการดำเนินการของทีโอทีจะเหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องรอดู ส่วนกรณีที่มติ ป.ป.ช. เมื่อ ธ.ค. 2557 มีการระบุถึงความผิดของผู้บริหารด้วยนั้น ทางทีโอทีแจ้งว่ากำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนการหาพาร์ตเนอร์ของทีโอที หากได้ข้อสรุปว่าเลือกเอไอเอส ก็ต้องชี้แจงถึงเหตุผลและรายละเอียดในการเป็นพันธมิตรร่วมกันได้ด้วย"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1442754116

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.