Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) 4 ขาใหญ่สื่อสาร จัสมิน ดีแทค เอไอเอสทรู ส่งบริษัทลูกยื่นประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ด้านกสทช. มั่นใจจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัล ส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ยังยืนยันเดินหน้าประมูลถึงแม้มีปัญหาคืนคลื่น

ประเด็นหลัก


4 ขาใหญ่สื่อสาร จัสมิน ดีแทค เอไอเอสทรู ส่งบริษัทลูกยื่นประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ด้านกสทช. มั่นใจจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัล ส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ยังยืนยันเดินหน้าประมูลถึงแม้มีปัญหาคืนคลื่น

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดรับการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)สำหรับให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4จี โดยเปิดให้ยื่นตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารหอประชุม ชั้น 1 สำนักงาน กสทช.

โดยสรุปมีบริษัทยื่นเข้ามาทั้งสิ้น4 รายได้แก่ 1.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในเครือ บริษัท จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ขั้นตอนภายหลังจากรับแบบคำขอและเอกสารในรายละเอียด จะเป็นขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต แล้วจึงนำเสนอ กทค. พิจารณา โดยจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติที่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารคำขอครบถ้วนหรือประมาณวันที่ 16 ตุลาคม นี้ จากนั้นจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตทราบ ซึ่งผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตสามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา














_____________________________________________



ประมูล4จีคลื่นความถี่1800MHzคึกคัก
4ขาใหญ่สื่อสารลงชิงดำ
กสทช.เตรียมเคาะ11พ.ย.นี้

4 ขาใหญ่สื่อสาร จัสมิน ดีแทค เอไอเอสทรู ส่งบริษัทลูกยื่นประมูล 4 จี คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ด้านกสทช. มั่นใจจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตัล ส่วนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ยังยืนยันเดินหน้าประมูลถึงแม้มีปัญหาคืนคลื่น

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดรับการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)สำหรับให้บริการโทรศัพท์มือถือ 4จี โดยเปิดให้ยื่นตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารหอประชุม ชั้น 1 สำนักงาน กสทช.

โดยสรุปมีบริษัทยื่นเข้ามาทั้งสิ้น4 รายได้แก่ 1.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในเครือ บริษัท จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ขั้นตอนภายหลังจากรับแบบคำขอและเอกสารในรายละเอียด จะเป็นขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต แล้วจึงนำเสนอ กทค. พิจารณา โดยจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติที่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารคำขอครบถ้วนหรือประมาณวันที่ 16 ตุลาคม นี้ จากนั้นจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตทราบ ซึ่งผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตสามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา

จากนั้นในช่วงประมาณวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 จะนำสื่อมวลชนเข้าชมสถานที่ที่จะใช้ในการจัดการประมูล และจะมีการชี้แจงรายละเอียดและจัดการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2558 และในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 จะเป็นวันประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz คาดว่าจะสามารถประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ภายใน 7 วันหลังจากการประมูลสิ้นสุด

การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เป็นภารกิจที่ กสทช. มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการใช้บริการโทรคมนาคมของประเทศและประชาชนชาวไทย ทุกขั้นตอนของการดำเนินการเต็มไปด้วยความรอบคอบ ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง

“ผลของการประมูลจะเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจดิจิตัลอย่างสมบูรณ์แบบ หากการประมูล และการรับรองผลการประมูล เป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้จะเกิดผลดีต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญอย่างแน่นอน” ประธาน กทค. กล่าว

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.กล่าวว่า กสทช.มีความมั่นใจในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz และ 900 MHz อย่างแน่นอน กรณีคลื่น 900 MHz ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาในการประมูลเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่15 ธันวาคม 2558 การนำขึ้นคืนเพื่อเข้าสู่การประมูลจึงต้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

ส่วนประชาชนที่ใช้บริการคลื่นความถี่ 900 MHz ของบริษัทเอไอเอสอยู่จะเข้าสู่มาตรการเยียวยาฯ และยังสามารถใช้ซิมได้ต่อไป ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้คุ้มครองชั่วคราว กสทช.มีหน้าที่ในการจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ต่อไป


http://www.naewna.com/business/181623

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.