Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2558 TOT ระบุ AIS จะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ ทีโอที ตามสัญญา(Build Transfer Operate) BTO ทำให้ ทีโอที เป็นผู้ให้บริการที่มีโทรคมนาคมมากที่สุดถึง 18,700 แห่ง จะมีรายได้โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ เนื่องมาจากจะมีรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G บนคลื่น 900 MHz ที่มีจำนวน 2.4 ล้านราย และจะทำให้มีรายได้ปีละราว 4,800 ล้านบาท

ประเด็นหลัก





นายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ในฐานะรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวกับพนักงาน ทีโอที ราว 800 คน เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2558 ว่า ทีโอที ยังยืนยันในคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ให้สัมปทานกับ เอไอเอส และสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา โดย ทีโอทียังคงมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต่อ

นอกจากนี้จะไม่ยอมรับประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กสทช.) เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (ประกาศมาตรการเยียวยาฯ) ที่ระบุว่า ให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการกับลูกค้าต่อไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่

ทั้งนี้เมื่อสิ้นสัมปทานแล้ว เอไอเอส จะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ ทีโอที ตามสัญญา(Build Transfer Operate) BTO  ทำให้ ทีโอที เป็นผู้ให้บริการที่มีโทรคมนาคมมากที่สุดถึง 18,700 แห่ง จะมีรายได้โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ เนื่องมาจากจะมีรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G บนคลื่น 900 MHz ที่มีจำนวน 2.4 ล้านราย และจะทำให้มีรายได้ปีละราว 4,800 ล้านบาท และค่าบริการเชื่อมต่อโครงข่าย (โรมมิ่ง) ของลูกค้าเอไอเอสที่โอนย้ายไปอยู่บนโครงข่ายระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz  ปีละ 18,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทีโอที มีรายได้ปีละกว่า 22,000 ล้านบาท












_____________________________________________



ซัดปฏิรูปตำรวจยากยิ่งกว่างมเข็ม 'วัชระ'ฉะ!!ชั้นผู้ใหญ่นั่นแหละตัวดีกรมบัญชีกลางสรุปผลงานปีงบ58 ชี้ปีหน้าเน้นกระตุ้นศก.ในประเทศ


นายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ในฐานะรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวกับพนักงาน ทีโอที ราว 800 คน เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2558 ว่า ทีโอที ยังยืนยันในคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ให้สัมปทานกับ เอไอเอส และสิ้นสุดสัญญาสัมปทานไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2558 ที่ผ่านมา โดย ทีโอทียังคงมีสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต่อ

นอกจากนี้จะไม่ยอมรับประกาศของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กสทช.) เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (ประกาศมาตรการเยียวยาฯ) ที่ระบุว่า ให้ผู้ให้บริการต้องให้บริการกับลูกค้าต่อไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่

ทั้งนี้เมื่อสิ้นสัมปทานแล้ว เอไอเอส จะต้องโอนทรัพย์สินให้แก่ ทีโอที ตามสัญญา(Build Transfer Operate) BTO  ทำให้ ทีโอที เป็นผู้ให้บริการที่มีโทรคมนาคมมากที่สุดถึง 18,700 แห่ง จะมีรายได้โดยที่ไม่ต้องดำเนินการใดๆ เนื่องมาจากจะมีรายได้จากการให้บริการลูกค้าระบบ 2G บนคลื่น 900 MHz ที่มีจำนวน 2.4 ล้านราย และจะทำให้มีรายได้ปีละราว 4,800 ล้านบาท และค่าบริการเชื่อมต่อโครงข่าย (โรมมิ่ง) ของลูกค้าเอไอเอสที่โอนย้ายไปอยู่บนโครงข่ายระบบ 3G บนคลื่น 2.1 GHz  ปีละ 18,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ทีโอที มีรายได้ปีละกว่า 22,000 ล้านบาท

“เราจะเอาเงินตรงนี้ไปปรับปรุงโครงข่าย และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ราคาถูก เพราะเรามีต้นทุนต่ำ ซึ่งเราพร้อมให้บริการมือถือราคาต่ำ ที่ยังมีกลุ่มลูกค้าผู้ที่ไม่ได้ใช้การสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) เป็นหลัก และใน 2-3 ปี เราก็จะเริ่มอัพเกรดโครงข่าย ที่มีพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศ แต่ทีโอทีมีจุดอ่อนในเรื่องของการทำการตลาด เชื่อว่าถ้าได้คลื่น  900 MHz มา ผมจะไปจุดธูปหน้าพระพรหม โดยจะนำคลื่นมาทำเพื่อประโยชน์ของชาติ และยังมีความสามารถในการแข่งขัน และจะไม่ทำให้เหมือน 3G บนคลื่น 2.1 GHz”



http://www.naewna.com/business/182384

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.