Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz เปิดให้ประมูลจำนวน 20 MHz แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ซึ่งราคาเริ่มประมูลขั้นต่ำอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท คิดเป็น 80% ของมูลค่าคลื่น

ประเด็นหลัก






ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ยื่นเอกสารทุกรายจะต้องส่งมอบเอกสาร ดังนี้ แบบคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz พร้อมสำเนา 2 ชุด และเอกสารที่บันทึกลงแผ่นซีดี พร้อมด้วยค่าพิจารณาคำขอจำนวน 535,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) และเช็คเงินสดที่ใช้เป็นหลักประกันการประมูลมูลค่า 644 ล้านบาท กับสำนักงานกสทช. และหลังจากนี้สำนักงานฯ จะประกาศผู้ประกอบการที่ผ่านคุณสมบัติมีสิทธิเข้าร่วมประมูล ในวันที่ 3 พ.ย.2558 และหากไม่ผ่านคุณสมบัติ ผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และจัดการประมูลในวันที่ 12 พ.ย.2558 นี้

สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz เปิดให้ประมูลจำนวน 20 MHz แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ซึ่งราคาเริ่มประมูลขั้นต่ำอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท คิดเป็น 80% ของมูลค่าคลื่น เนื่องจากมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลมากกว่าใบอนุญาต โดยการประมูลจะเริ่มต้นเคาะราคาที่จำนวนครั้งละ 644 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 5% ต่อครั้ง และเมื่อราคาประมูลถึง 16,080 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับมูลค่าคลื่นในอัตรา 100% จะปรับการเคาะราคาต่อครั้งลงเหลือ 2.5% หรือ 322 ล้านบาทต่อครั้ง













________________________________






ยื่นเอกสารคลื่น 900 MHz เตรียมประมูล!! เอกชนรวม 4 ราย ร่วมชิง 2 ใบอนุญาต



เอกชน 4 ราย ทรู, ดีแทค, เอไอเอส และแจส โมบาย เข้ากสทช. วันนี้ยื่นซองเอกสารชิงประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต 12 พ.ย.นี้ ขณะที่ค่างวด 3G คลื่น 2100 MHz ครบกำหนดจ่าย 22 ธ.ค.นี้

วันที่ 22 ต.ค.2558 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. โดยมีผู้ประกอบการเข้ายื่นเอกสารจำนวน 4ราย ได้แก่ 1.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัทในเครือ โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค 3.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด  บริษัทในเครือ ทรู คอปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด บริษัทในเครือ จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)



ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ยื่นเอกสารทุกรายจะต้องส่งมอบเอกสาร ดังนี้ แบบคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz พร้อมสำเนา 2 ชุด และเอกสารที่บันทึกลงแผ่นซีดี พร้อมด้วยค่าพิจารณาคำขอจำนวน 535,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) และเช็คเงินสดที่ใช้เป็นหลักประกันการประมูลมูลค่า 644 ล้านบาท กับสำนักงานกสทช. และหลังจากนี้สำนักงานฯ จะประกาศผู้ประกอบการที่ผ่านคุณสมบัติมีสิทธิเข้าร่วมประมูล ในวันที่ 3 พ.ย.2558 และหากไม่ผ่านคุณสมบัติ ผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และจัดการประมูลในวันที่ 12 พ.ย.2558 นี้

สำหรับการประมูลคลื่น 900 MHz เปิดให้ประมูลจำนวน 20 MHz แบ่งเป็น 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ซึ่งราคาเริ่มประมูลขั้นต่ำอยู่ที่ 12,864 ล้านบาท คิดเป็น 80% ของมูลค่าคลื่น เนื่องจากมีผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลมากกว่าใบอนุญาต โดยการประมูลจะเริ่มต้นเคาะราคาที่จำนวนครั้งละ 644 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 5% ต่อครั้ง และเมื่อราคาประมูลถึง 16,080 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับมูลค่าคลื่นในอัตรา 100% จะปรับการเคาะราคาต่อครั้งลงเหลือ 2.5% หรือ 322 ล้านบาทต่อครั้ง

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการ กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า หลังจากนี้จะเป็นช่วงไซเรนท์พรีเรียต หรือ ช่วงเวลาที่ห้ามผู้ประกอบการแสดงคามคิดเห็นเกี่ยวกับการประมูล จนถึงวันที่ 12 พ.ย.58 ที่มีการเคาะราคา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น เมื่อประมูลเสร็จสิ้นคาดว่าสำนักงานฯ สามารถประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลได้ภายใน 7 วัน

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ในวันที่ 22 ธ.ค.2558 จะครบกำหนดการชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2100 MHz ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายที่ต้องชำระเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 11,135.69 ล้านบาท แบ่งเป็นดีแทค และกลุ่มทรู ต้องจ่ายในจำนวนบริษัทละ 3,611.25 ล้านบาท ส่วนเอไอเอส ต้องจ่าย 3,912,15 ล้านบาท

สรุปขั้นตอนการประมูลและลำดับเหตุการณ์ การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz

จำนวนใบอนุญาต2 ใบ
ใบอนุญาตละ 10 MHz                                                                                                                                                                                                                                
ระยะเวลาการอนุญาตนับจากวันที่ได้รับอนุญาต 15 ปี
ราคาเริ่มต้นการประมูลแบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่า 3 ราย
ราคาเริ่มประมูลขั้นต่ำ 12,864 ล้านบาท คิดเป็นราคาขั้นต่ำ 80% ของมูลค่าคลื่น
ประมูลเพิ่มขึ้นครั้งละ 644 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% ของมูลค่าคลื่น เมื่อถึง 16,080 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าคลื่น 100% ราคาประมูลจะเพิ่มขึ้นเหลือครั้งละ 322 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งละ 2.5%
รูปแบบนี้ทำให้รัฐได้รายได้ขั้นต่ำ 27,016 ล้านบาท

กรณีผู้เข้าร่วมประมูล 1 หรือ 2 ราย
ราคาเริ่มประมูลขั้นต่ำ 16,080 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าคลื่น 100%
ประมูลเพิ่มขึ้นครั้งละ 322 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งละ 2.5%
รูปแบบนี้ทำให้รัฐได้รายได้ขั้นต่ำ 32,804 ล้านบาท


ภาพข่าว :





(ภาพบน) วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 น. บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด บริษัทในเครือ จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  เป็นตัวแทนเข้ายื่นใบคำขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่สำนักงาน กสทช.





(ภาพบน) วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 09.00 น. บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด เป็นตัวแทนเข้ายื่นใบคำขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เป็นรายที่ 2 ที่สำนักงาน กสทช.





(ภาพบน) วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 10.35 น. สุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ และพัฒนา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก ( AWN)ในเครือ เอไอเอส เป็นตัวแทนเข้ายื่นใบคำขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เป็นรายที่ 3 ที่สำนักงาน กสทช.





(ภาพบน) วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 11.09 น. บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นตัวแทนเข้ายื่นใบคำขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เป็นรายที่ 4 ที่สำนักงาน กสทช.

http://www.adslthailand.com/post/ยื่นเอกสารเตรียมประมูล-เอกชน-4-ราย-ร่วมชิงชัย-2-ใบอนุญาตคลื่น-900-mhz

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.