Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2558 CAT ต้องการจะเป็นศูนย์กลางดิจิทัล ก็ต้องหาทางดึงให้ผู้ให้บริการเนื้อหาสนใจมาตั้งฐานอยู่ในประเทศ ซึ่งไทยยังมีโอกาสสาหรับการดึงปริมาณการเข้าใช้งาน จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่นำ้โขงหรือกลุ่มซีแอลเอ็มวี

ประเด็นหลัก





พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวให้ความเห็นล่าสุดว่า การที่ไทยจะเป็นดิจิทัลฮับนั้น จะต้องมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งนี้ รัฐเองก็จะต้องมีนโยบายออกมาที่ชัดเจน มีการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม  ควรมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อมาดูแลการทำเนชั่นแนล อินเตอร์เน็ต เกตเวย์ ( National Internet Gateway) โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เป็นผู้ประสานงาน เป็นศูนย์กลางเพื่อสนับสนุนนโยบาย

ทั้งนี้ หากไทยต้องการจะเป็นศูนย์กลางดิจิทัล ก็ต้องหาทางดึงให้ผู้ให้บริการเนื้อหาสนใจมาตั้งฐานอยู่ในประเทศ ซึ่งไทยยังมีโอกาสสาหรับการดึงปริมาณการเข้าใช้งาน จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่นำ้โขงหรือกลุ่มซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตกาลังขยายตัวสูงและคาดการณ์ว่าจะยังมีการขยายสูงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 40% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า














________________________________






แคท แนะรัฐบาลดูแล "National internet gateway" แทนทำซิงเกิ้ลเกตเวย์

แคท เทเลคอม แนะทางออกให้กับรัฐบาลแทนการทำ Single gateway ตั้งกรรมการดูแล เนชั่นแนล  อินเตอร์เน็ต เกตเวย์ (National internet gateway ) แทน โดยให้หน่วยงานหลัก ก.ไอซีที เป็นผู้ดูแล



พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวให้ความเห็นล่าสุดว่า การที่ไทยจะเป็นดิจิทัลฮับนั้น จะต้องมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งนี้ รัฐเองก็จะต้องมีนโยบายออกมาที่ชัดเจน มีการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม  ควรมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อมาดูแลการทำเนชั่นแนล อินเตอร์เน็ต เกตเวย์ ( National Internet Gateway) โดยให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เป็นผู้ประสานงาน เป็นศูนย์กลางเพื่อสนับสนุนนโยบาย

ทั้งนี้ หากไทยต้องการจะเป็นศูนย์กลางดิจิทัล ก็ต้องหาทางดึงให้ผู้ให้บริการเนื้อหาสนใจมาตั้งฐานอยู่ในประเทศ ซึ่งไทยยังมีโอกาสสาหรับการดึงปริมาณการเข้าใช้งาน จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่นำ้โขงหรือกลุ่มซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตกาลังขยายตัวสูงและคาดการณ์ว่าจะยังมีการขยายสูงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 40% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า

สำหรับประเด็นเรื่องการตรวจสอบเนื้อหาที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เกตเวย์ หรือที่เรียก Single gateway ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนจานวนมากกังวลนั้น ไม่ใช่จุดประสงค์ของการสร้างเนชั่นแนล เกตเวย์  โดยปัจจุบันรัฐบาลมีกลไกการตรวจสอบที่มีกฎหมายรองรับและสามารถดำเนินการได้อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เกตเวย์ ของรัฐหรือเอกชน ดังนั้น กลยุทธการทำ เนชั่นแนล อินเตอร์เน็ต เกตเวย์ จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสาหรับการสร้างประเทศไทยให้เป็นดิจิทัลฮับของ กลุ่มประเทศอาเซียนตอนเหนือ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ของภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคในภูมิภาคนี้

ในส่วนของบมจ.กสทฯ หรือแคท เทเลคอม เอง ยังมีแผนที่จะขยายในส่วนของเกตเวย์ที่เป็นเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ หรือ ซัพมารีน อยู่แล้ว เพราะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายยังคงต้องใช้บริการของบริษัทอยู่ เนื่องจากการจะลงทุนเองเพื่อให้บริการเชื่อมต่อนั้น เป็นการลงทุนที่ต้องอาศัยการใช้งานปริมาณมากจึงจะคุ้มทุน  จึงมีเพียงผู้ให้บริการรายใหญ่เท่านั้นที่สามารถลงทุนได้ โดยขอย้ำว่า เนชั่นแนล อินเตอร์เน็ต เกตเวย์  ไม่ใช่การรวมทราฟฟิก ทั้งหมดของประเทศเป็นซิลเกิล เกตเวย์ (Single Gateway) ตามที่หลายฝ่ายที่หลายฝ่ายเข้าใจ


http://www.adslthailand.com/post/แคท-แนะรัฐบาลจัดทำ-national-internet-gateway-แทนซิงเกิ้ลเกตเวย์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.