Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 พฤศจิกายน 2558 TOT กล่าวถึงความคืบหน้าในการเป็นเจ้าภาพในการทำโครงการท่อร้อยสาย เพื่อนำสายโทรคมนาคมลงดิน ร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเช่า ว่า ได้เสนอแนวทางในการ

ประเด็นหลัก




 นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเป็นเจ้าภาพในการทำโครงการท่อร้อยสาย เพื่อนำสายโทรคมนาคมลงดิน ร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเช่า ว่า ได้เสนอแนวทางในการลงทุนเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบแล้วว่าจะทำในรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ในรูปแบบที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำอยู่ ทำให้ไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบแล้ว
     
       หลังจากนี้ ฝ่ายบริหารจะดำเนินการร่างสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) เพื่อจ้างที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาในการจัดตั้งกองทุนรวม เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาในการประชุมครั้งหน้าในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อให้สรรหาที่ปรึกษาให้ได้ภายในเดือน มี.ค.59 และสามารถจัดตั้งกองทุน และเริ่มระดมทุนได้ช่วงปลายปี 59 จากนั้นจึงเริ่มสร้าง คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี ในการสร้างท่อร้อยสาย เมื่อโครงการเสร็จจะทำให้ทีโอทีมีรายได้ปีละ 1,000 ล้านบาท
     
       สำหรับเงินทุนตั้งต้นในการจัดตั้งกองทุนนั้น ทีโอทีจะใช้กระแสเงินสดที่คาดว่าจะมีรายได้ในอนาคตนำเข้ากองทุนก่อน ส่วน กสท โทรคมนาคม จะใช้กระแสเงินสด หรือทรัพย์สินท่อร้อยสายที่มีอยู่ก็ต้องขึ้นอยู่กับ กสท โทรคมนาคม ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง โดยการระดมทุนในครั้งแรกทีโอทีต้องการเงินเริ่มต้นประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการนำสายโทรคมนาคมที่อยู่ติดกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ลงดิน
     
       เนื่องจากโครงการนี้ต้องดำเนินการตามแผนของ กฟน.ที่ได้ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการนำสายไฟฟ้าลงดิน จำนวน 261 กิโลเมตร ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อน ไม่เช่นนั้นเมื่อ กฟน.นำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว สายโทรคมนาคมที่พาดอยู่บนเสาเดียวกันจะไม่มีที่ให้พาดเพราะ กฟน.ต้องโค่นเสานั้นๆ ทิ้ง ซึ่งในทางเทคนิคของการสร้างท่อร้อยสายให้สายโทรคมนาคมทีโอทีต้องสร้าง จำนวน 2,610 กิโลเมตร จากนั้นจะขยายไปทั่วประเทศ









______________________________






ทีโอทีหวังท่อร้อยสายสร้างเม็ดเงินปีละพันล้าน



        ทีโอที เดินหน้าโครงการท่อร้อยสาย เคาะโมเดลระดมทุนหมื่นล้านจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คาดสิ้นปี 59 เริ่มตั้งกองทุน และสร้างทันที มั่นใจรายได้ทะลุปีละพันล้านบาทแน่นอน ส่วนเรื่องฟ้องรักษาสิทธิความถี่ 900 MHz บอร์ดจับมือผู้บริหาร รำอย่างเดียวไม่มีมติ ให้ศึกษาข้อ กม.ซึ่งกว่าจะเสร็จก็ประมูลเรียบร้อย ทำสหภาพฯ ทีโอที หลังหัก เสียรู้ เป็นได้แค่เบี้ยเล็กๆ บนหมากทั้งกระดาน
     
       นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าในการเป็นเจ้าภาพในการทำโครงการท่อร้อยสาย เพื่อนำสายโทรคมนาคมลงดิน ร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเช่า ว่า ได้เสนอแนวทางในการลงทุนเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบแล้วว่าจะทำในรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ในรูปแบบที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำอยู่ ทำให้ไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบแล้ว
     
       หลังจากนี้ ฝ่ายบริหารจะดำเนินการร่างสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) เพื่อจ้างที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาในการจัดตั้งกองทุนรวม เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาในการประชุมครั้งหน้าในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อให้สรรหาที่ปรึกษาให้ได้ภายในเดือน มี.ค.59 และสามารถจัดตั้งกองทุน และเริ่มระดมทุนได้ช่วงปลายปี 59 จากนั้นจึงเริ่มสร้าง คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี ในการสร้างท่อร้อยสาย เมื่อโครงการเสร็จจะทำให้ทีโอทีมีรายได้ปีละ 1,000 ล้านบาท
     
       สำหรับเงินทุนตั้งต้นในการจัดตั้งกองทุนนั้น ทีโอทีจะใช้กระแสเงินสดที่คาดว่าจะมีรายได้ในอนาคตนำเข้ากองทุนก่อน ส่วน กสท โทรคมนาคม จะใช้กระแสเงินสด หรือทรัพย์สินท่อร้อยสายที่มีอยู่ก็ต้องขึ้นอยู่กับ กสท โทรคมนาคม ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้งหนึ่ง โดยการระดมทุนในครั้งแรกทีโอทีต้องการเงินเริ่มต้นประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการนำสายโทรคมนาคมที่อยู่ติดกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ลงดิน
     
       เนื่องจากโครงการนี้ต้องดำเนินการตามแผนของ กฟน.ที่ได้ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการนำสายไฟฟ้าลงดิน จำนวน 261 กิโลเมตร ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อน ไม่เช่นนั้นเมื่อ กฟน.นำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว สายโทรคมนาคมที่พาดอยู่บนเสาเดียวกันจะไม่มีที่ให้พาดเพราะ กฟน.ต้องโค่นเสานั้นๆ ทิ้ง ซึ่งในทางเทคนิคของการสร้างท่อร้อยสายให้สายโทรคมนาคมทีโอทีต้องสร้าง จำนวน 2,610 กิโลเมตร จากนั้นจะขยายไปทั่วประเทศ
     
       นายมนต์ชัย กล่าวว่า ปัจจุบันทีโอทีมีท่อร้อยสายอยู่จำนวน 25,000 กิโลเมตร แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 20,000 กิโลเมตร และต่างจังหวัด 5,000 กิโลเมตร มีรายได้จากลูกค้าที่ใช้งานอยู่ปีละ 400-500 ล้านบาท ขณะที่ กสท โทรคมนาคม มีท่อร้อยสายอยู่จำนวน 1,000 กิโลเมตร
     
       สำหรับความคืบหน้าเรื่องการหาพันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่น 2100 MHz ขณะนี้ทางฝ่ายบริหารได้บริษัทที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตรแล้ว แต่ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา ไม่มีวาระนี้บรรจุไว้ จึงต้องรอดูว่าในการประชุมครั้งหน้าจะมีวาระดังกล่าวบรรจุเข้าไปในที่ประชุมหรือไม่ ขณะที่การเจรจาหาข้อยุติคดีพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ก็ใกล้ได้ข้อสรุปเป็นที่น่าพอใจแล้วเช่นกัน
     
       ส่วนเรื่องการฟ้อง หรือไม่ฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เกี่ยวกับคลื่น 900 MHz หรือไม่นั้น คณะกรรมการบริษัท ยังไม่ลงมติ แต่ได้ให้ฝ่ายบริหารหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสิทธิในการใช้งานคลื่น 900 MHz จนถึงปี 2568 ว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อกฎหมายหลายฉบับ โดยให้ดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ละเอียด เช่น ตั้งแต่ พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ตั้งแต่พ.ศ.2543 เรื่อยมาจนถึง พ.ร.บ.ในปี พ.ศ.2553 พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 แผนแม่บทการจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2555 เป็นต้น จึงยังบอกไม่ได้ว่าจะฟ้องหรือไม่
     
       อย่างไรก็ตาม ทีโอทีได้เดินหน้าตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีคำสั่งให้ปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจตลอดมา ซึ่ง 6 กลุ่มธุรกิจที่ คนร.แบ่งมาให้กำลังเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยกลุ่มโทรศัพท์มือถือ และกลุ่มเสาโทรคมนาคมกำลังได้ข้อสรุป กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ก็มีโครงการท่อร้อยสายเป็นโครงการที่มีอนาคต ขณะที่กลุ่มอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำก็ทำงานร่วมกับ กสท โทรคมนาคม เหลือเพียงกลุ่มโทรศัพท์พื้นฐาน และบรอดแบนด์ที่ยังไม่มีพัธมิตรเข้ามาแสดงความสนใจ ส่วนกลุ่มบริการด้านไอทีและคลาวด์ก็ได้รับนโยบายมาให้ดูแลบริการให้ภาครัฐก่อนระหว่างรอโครงการดาต้า เซ็นเตอร์แห่งชาติเสร็จ

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000121873&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+2-11-58&utm_campaign=20151101_m128052313_Manager+Morning+Brief+2-11-58&utm_term=_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B9_82_E0_B8_AD_E0_B8_97_E0_B8_B5_E0_B8_AB_E0_B8_A7_E0_B8_B1_E0_B8_87_E0_B8_97_E0_B9_88_E0_B8_AD_E0_B8_A3_E0_B9_89_E0_B8_AD_E0_B8_A2_E0_B8_AA_E0_B8_B2_E0_B8_A2_E0_B8_AA_E0_B8_A3_E0_B9_89_E0_B8_B2_E0_B8_87_E0_B9_80_E0_B8_A1_E0_B9_87_E0

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.