Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 "พงศธร ธนบดีภัทร" นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีมสตาร์ทอัพผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น "เว็ลธ์ แอดไวเซอร์" (Wealth Advisor) ที่ต้องการแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานสามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ง่ายขึ้น

ประเด็นหลัก

ด้วยแรงบันดาลใจตั้งต้นดังนี้ "ประชาชาติธุรกิจ" จับเข่าคุยกับ "พงศธร ธนบดีภัทร" นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีมสตาร์ทอัพผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น "เว็ลธ์ แอดไวเซอร์" (Wealth Advisor) ที่ต้องการแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานสามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ง่ายขึ้น



"เรามีไอเดียพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้เพราะแรงบันดาลใจจากตอนตัวเราเองเจอปัญหามาเมื่อต้องการเลือกซื้อกองทุนรวมแต่ไม่รู้จะเลือกกองทุนไหน จึงอยากแก้ปัญหานี้ให้นักลงทุนรายย่อยที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงที่ปรึกษา Private Wealth Management (การบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล) ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของนักลงทุนรายใหญ่"

"พงศธร" เล่าว่าแอพฯ เว็ลธ์ แอดไวเซอร์ จะเป็นเสมือนที่ปรึกษาทางการเงิน มีอัลกอริทึ่มวิเคราะห์ความต้องการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ใช้งาน เช่น ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อเป็นเงินเก็บหลังเกษียณ เพื่อความมั่งคั่ง นำไปจับคู่กับกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการ เสนอให้ผู้ใช้งานเลือกลงทุน ฟีเจอร์ต่อมาคือการแสดงผลกำไรของกองทุนรวมในลักษณะกราฟ ส่วนจุดหมายปลายทาง แน่นอนคือให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อขายผ่านเว็ลธ์ แอดไวเซอร์โดยตรงได้เลย




_________________________________________



Wealth Advisor แอพฯการเงินไอเดียเริ่ด ตัวช่วยวิเคราะห์กองทุนรวม สตาร์ทอัพจากรั้วบางมด


ช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี คนจำนวนไม่น้อยเริ่มมองหากองทุน LTF ในการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ แต่จะลงทุนทั้งทีต้องเลือกตัวไหนถึงจะเหมาะล่ะ?

ด้วยแรงบันดาลใจตั้งต้นดังนี้ "ประชาชาติธุรกิจ" จับเข่าคุยกับ "พงศธร ธนบดีภัทร" นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนทีมสตาร์ทอัพผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น "เว็ลธ์ แอดไวเซอร์" (Wealth Advisor) ที่ต้องการแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานสามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ง่ายขึ้น



"เรามีไอเดียพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้เพราะแรงบันดาลใจจากตอนตัวเราเองเจอปัญหามาเมื่อต้องการเลือกซื้อกองทุนรวมแต่ไม่รู้จะเลือกกองทุนไหน จึงอยากแก้ปัญหานี้ให้นักลงทุนรายย่อยที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงที่ปรึกษา Private Wealth Management (การบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล) ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของนักลงทุนรายใหญ่"

"พงศธร" เล่าว่าแอพฯ เว็ลธ์ แอดไวเซอร์ จะเป็นเสมือนที่ปรึกษาทางการเงิน มีอัลกอริทึ่มวิเคราะห์ความต้องการลงทุนและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ใช้งาน เช่น ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อเป็นเงินเก็บหลังเกษียณ เพื่อความมั่งคั่ง นำไปจับคู่กับกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการ เสนอให้ผู้ใช้งานเลือกลงทุน ฟีเจอร์ต่อมาคือการแสดงผลกำไรของกองทุนรวมในลักษณะกราฟ ส่วนจุดหมายปลายทาง แน่นอนคือให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อขายผ่านเว็ลธ์ แอดไวเซอร์โดยตรงได้เลย

และเมื่อพิจารณาจากจำนวนกองทุนรวมในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 23 แห่ง แห่งหนึ่งมีกว่า 30-40 กองทุน รวมกว่า 700-800 กองทุนในไทย จึงเชื่อว่าแอพฯนี่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการวิเคราะห์ได้


จากซ้ายไปขวา วรยุทธ เพชรสุวรรณรังษี > พงศธร ธนบดีภัทร > วิศรุต ศรสิงห์ > นันทพร ดีศิลปกิจ


โดยในทีม co-founder 4 คนเป็นนักศึกษาสถาบันเดียวกันทั้งหมด แต่อีกหนึ่ง co-founder ที่สนับสนุนข้อมูลวิเคราะห์ตลาดเงินตลาดทุน เป็นผู้บริหารในบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) แห่งหนึ่ง ซึ่งพร้อมจะเข้าร่วมการพัฒนาเว็ลธ์ แอดไวเซอร์เต็มตัวหลังระดมทุนรอบแรกได้

ด้านโมเดลธุรกิจ "พงศธร" กล่าวว่า ระยะยาว แอพฯนี้จะจดทะเบียนเป็นบลน.เพื่อหักค่าคอมมิชชั่นจากบลจ. 0.2-0.6% แล้วแต่เงื่อนไขแต่ละกองทุนรวมตามหลักการธุรกิจของบลน.ทั่วไป (ไม่ได้หักจากฝั่งยูสเซอร์) ซึ่งในระยะทดลองยังเป็นตัวช่วยวิเคราะห์เท่านั้น ยังไม่เปิดทำการซื้อขาย



ส่วนระยะสั้น คือการประชาสัมพันธ์สร้างฐานผู้ใช้งานให้มากที่สุด ตั้งเป้ามีผู้ใช้งาน 7,000 คนภายใน 1 ปี คิดเป็นสัดส่วน 0.1% ของบัญชีกองทุนรวม 7.4 ล้านบัญชีขณะนี้ และมองว่ากลุ่ม Early Adopter คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบและเริ่มทำงาน น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

"ด้วยหลักการของเทคสตาร์ทอัพ (Tech StartUp) จะต้องสร้างฐานยูสเซอร์ในไทยให้ได้ระดับที่เป็นโมโนโพลี่ของตลาดภายใน 3-4 ปี เมื่อถึงจุดนั้น แม้รายใหญ่จะพยายามเข้ามาในตลาดก็จะทำตลาดสู้ไม่ไหว สิ่งที่รายใหญ่จะทำได้คือเทคโอเวอร์สตาร์ทอัพหรือขอเป็นหุ้นส่วน นั่นเป็นแนวทางที่เราพยายามจะไปให้ถึง"



โดยสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือที่เรียกว่า "ฟินเทค" (Fin Tech) แบบนี้ ในเมืองไทยยังมีน้อย และส่วนใหญ่จะจับกลุ่มนักลงทุนตลาดหุ้น เพราะมูลค่าซื้อขายต่อวันมีสูง เว็ลธ์ แอดไวเซอร์ จึงเป็นแอพฯวิเคราะห์กองทุนรวมแอพฯแรก

"พงศธร" เสริมว่า ขณะนี้นักลงทุนรายย่อยกว่าครึ่งหนึ่งซื้อกองทุน LTF เพื่อหักลดหย่อนภาษี แต่ที่จริงแล้วกองทุนรวมเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่อยากลงทุนในหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว แต่เงินเก็บไม่เพียงพอตามเงื่อนไขซื้อขายของหุ้นบางตัว การซื้อกองทุนจึงเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นผ่านบลจ.

หากใครสนใจทดลองใช้เว็ลธ์ แอดไวเซอร์ ต้องอดใจรออีกนิด เพราะขณะนี้แอพพลิเคชั่นยังอยู่ระหว่างทดลองตลาดในกลุ่มผู้ใช้งาน 100-200 ราย และจะใช้เวลาพัฒนาอีก 2-3 เดือน จึงจะเปิดดาวน์โหลดเป็นการทั่วไป


รายชื่อทีมผู้พัฒนา:
1)นายพงศธร ธนบดีภัทร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2)นางสาวนันทพร ดีศิลปกิจ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3)นายวิศรุต ศรสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4)นายวรยุทธ เพชรสุวรรณรังษี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1446801227

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.