Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 จากรายงานการศึกษาประจำปีฉบับล่าสุด Ericsson ConsumerLab TV & Media Report 2015 ที่ศึกษาพฤติกรรม และสัมภาษณ์ผู้บริโภคกว่า 22,500 คน ใน 20 ประเทศ พบว่า ดยพฤติกรรม Binge View ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นประจำในกลุ่มผู้ใช้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (S-VOD การรับชมแบบสมาชิก) โดย 87% ของกลุ่มผู้ใช้บริการ S-VOD จะดูแบบ Binge View อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ S-VOD ซึ่งมีอยู่ 74%

ประเด็นหลัก


Binge View จุดเปลี่ยนโฆษณา

ส่วนการที่ค่ายผลิตภาพยนตร์ หรือซีรีส์ทยอยนำเนื้อหามาแพร่ภาพบนช่องทางนี้ก่อน เพราะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมกับผู้บริโภคได้มากกว่า เช่น ฉายพร้อมกันตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งการรับชมรายการทีวีหลายตอนแบบต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ หรือ Binge Viewing ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมบันเทิง ด้วยว่ากลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการและคาดหวัง

โดยพฤติกรรม Binge View ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นประจำในกลุ่มผู้ใช้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (S-VOD การรับชมแบบสมาชิก) โดย 87% ของกลุ่มผู้ใช้บริการ S-VOD จะดูแบบ Binge View อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ S-VOD ซึ่งมีอยู่ 74%

ขณะเดียวกันยังทำให้การทำโฆษณากับช่องทางสตรีมมิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อคนที่เข้ามารับชมต้องการรับชมสิ่งนั้นจริง ๆ ไม่ได้เป็นคนกลุ่มใหญ่ การโฆษณาจึงต้องลงลึกไปถึงตัวบุคคล รวมถึงการสร้างภาพยนตร์หรือซีรีส์เพื่อตอบโจทย์เฉพาะกลุ่มด้วย โดยการดึงผู้บริโภคเข้ามารับชมสตรีมมิ่งจำเป็นต้องใช้แผนการตลาดต่าง ๆ เช่น การใช้โปรโมชั่นหรือการกระตุ้นผ่านโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ผู้ทำ "สตรีมมิ่ง" ที่มีประสิทธิภาพยังจำเป็นต้องใช้ "บิ๊กดาต้า" เพื่อประมวลผลข้อมูลของผู้บริโภคแต่ละคนเพื่อส่งรายการต่าง ๆ ออกไปได้ตรงจุดมากที่สุด




_________________________________________



"วิดีโอสตรีมมิ่ง" เขย่าโลกบันเทิง จุดเปลี่ยน "ทีวี-ผู้ผลิตคอนเทนต์-โฆษณา"


ในอดีตการรับชมรายการต่าง ๆ ต้องทำผ่านโทรทัศน์ โดยมีเจ้าของช่องเป็นผู้คัดเลือกรายการให้ผู้บริโภค แต่ปัจจุบันแม้การแพร่ภาพโทรทัศน์ในประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากระบบแอนะล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้มีช่องเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก แต่ไม่ได้ทำให้ความนิยมเพิ่มขึ้น ด้วยว่าพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ของคนยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ได้ยึดติดการรับชมทางหน้าจอโทรทัศน์อีกต่อไป

"วิดีโอสตรีมมิ่ง" หรือวิดีโอออนดีมานด์ (การนำข้อมูลในรูปแบบของภาพและเสียงส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต) กลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มากกว่า เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา แต่จะดูที่ไหน เมื่อไรก็ได้

วิดีโอสตรีมมิ่งฮิตทั่วโลก

จากรายงานการศึกษาประจำปีฉบับล่าสุด Ericsson ConsumerLab TV & Media Report 2015 ที่ศึกษาพฤติกรรม และสัมภาษณ์ผู้บริโภคกว่า 22,500 คน ใน 20 ประเทศ ระบุว่า 1 ใน 3 (35%) ของการรับชมทีวีทั่วโลกเป็นระบบวิดีโอออนดีมานด์ เพราะเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา และการรับชมวิดีโอบนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นถึง 71% ตั้งแต่ปี 2012 โดยเกือบ 2 ใน 3 ของเวลาทั้งหมดที่วัยรุ่นรับชมทีวีและวิดีโอจะชมผ่านอุปกรณ์โมบายต่าง ๆ

เช่นกันกับความนิยมในการรับชม User-Generated Content หรือภาพและวิดีโอที่จัดทำโดยผู้บริโภคเองก็เพิ่มมากขึ้น และเกือบ 1 ใน 10 ของผู้บริโภครับชม YouTube มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน

อย่างไรก็ตาม บริการทีวีที่ออกอากาศทั่วไปยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะความนิยมในการรับชมรายการถ่ายทอดสด เช่น การแข่งขันกีฬา และรายการสดที่ผู้คนชื่นชอบและเฝ้าติดตาม ซึ่งพฤติกรรมการดูทีวีจะสัมพันธ์กับช่วงอายุ โดยกว่า 82% ของคนอายุ 60-69 ปี จะดูทีวีเป็นกิจวัตรประจำวัน แต่กลุ่ม Gen Y (อายุ 16-34 ปี) จะดูประมาณ 60%

Gen Y ดูทีวีบนสมาร์ทดีไวซ์

"บัญญัติ เกิดนิยม" ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า กระแสการรับชมรายการต่าง ๆ ของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว โดยมีสมาร์ทดีไวซ์ที่ราคาลดลงเป็นตัวแปรหลักที่มาพร้อมกับความเร็ว และความครอบคลุมของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้ผู้บริโภคเป็นผู้เลือกรายการต่าง ๆ ที่ชื่นชอบด้วยตนเอง และยอมจ่ายเงินเพื่อรายการที่มีคุณภาพ แตกต่างจากในอดีตที่มองว่าเป็น "ของฟรี" ทำให้มีผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่งเกิดขึ้นจำนวนมาก

การเติบโตของสตรีมมิ่งหรือ "วิดีโอออนดีมานด์" อ้างอิงจากพฤติกรรมการรับชมรายการผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่กินเวลา 30 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยดูหนังซีรีส์รายการต่าง ๆ และหนังแบบออนดีมานด์ทางทีวีสูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากปี 2011 ที่อยู่ที่ 2.9 ชั่วโมง และเป็นการรับชมซีรีส์และภาพยนตร์เป็นหลัก รองลงมาเป็นการรับชมช่องโทรทัศน์ปกติในรูปแบบออนไลน์

นอกจากนี้ การที่ผู้บริโภคมีระบบ 4G ทำให้มีทางเลือกในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น เพราะการรับชมสตรีมมิ่งจะทำผ่านสัญญาณไวไฟที่ส่งมาจากอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูง โดยกว่า 50% ของผู้บริโภคต่างดูวิดีโอออนดีมานด์ผ่านระบบสตรีมมิ่งอย่างน้อยวันละครั้ง เพิ่มจากปี 2012 ซึ่งมีเพียง 30%

กลุ่ม Gen Y (อายุ 16-34 ปี) จะดูทีวีส่วนใหญ่บนสมาร์ทโฟน แล็ปทอป หรือแท็บเลต คิดเป็นประมาณ 53% ของเวลาการดูทีวีและวิดีโอทั้งหมด ซึ่งจำนวนผู้บริโภคที่ดูวิดีโอบนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นถึง 71% และสูงขึ้นเป็น 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เมื่อเทียบกับปี 2012

4G ดันโมบายดาต้าพุ่ง

"ประเทศที่มี 4G แล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และเกาหลีใต้ ต่างมีการใช้ดาต้าเติบโต 2.5-4 เท่า เมื่อเทียบกับตอนที่ให้บริการ 3G เพราะเมื่อความเร็วอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคจะกล้าตัดสินใจที่จะนำสัญญาณอินเทอร์เน็ตมารับชมสตรีมมิ่ง จากเดิมที่กลัวว่าจะดูได้ไม่ต่อเนื่อง และเสี่ยงต่อความเร็วที่จะลดลงอย่างมาก โดยในสหรัฐอเมริกามีการรับชมสตรีมมิ่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือสูงถึง 29% ปัจจัยนี้เองทำให้มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 การใช้โมบายดาต้าเพื่อรับชมสตรีมมิ่งจะสูงถึง 60% ของโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหมด หรือเติบโต 13 เท่าตัว"

ในทางกลับกัน การรับชมรายการผ่านโทรทัศน์จะหดตัวลงอย่างช้า ๆ จนในปี 2563 ลงมาเท่ากับการรับชม "สตรีมมิ่ง" โดยเหลือเพียงคนอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือคนที่อยู่นอกเขตเมือง ส่วนคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นจะให้ความสำคัญกับการรับชมแบบสตรีมมิ่งมากกว่า รองลงมาเป็นการรับชมคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์และการรับชมอะไรก็ตามผ่าน "ยูทูบ" ทำให้การรับชมโทรทัศน์ยุคก่อนที่ประกอบด้วยฟรีทีวี, ระบบการอัดรายการและเพย์ทีวีต่างต้องปรับตัวเพื่อสร้างความแตกต่างไปจากบริการสตรีมมิ่งและยูทูบให้ได้

"ตอนนี้การรับชมแบบสตรีมมิ่งเริ่มเหนือกว่าช่องทางปกติเพราะเริ่มใช้โมเดลเอ็กซ์คลูซีฟในการให้รับชมซีรีส์หรือภาพยนตร์ก่อนที่จะเข้าไปฉายในช่องปกติเสียอีก จากที่อีริคสันเข้าไปสำรวจผู้บริโภคกว่า 20,000 คน ใน 40 ประเทศ พบว่ามีเพียง 5% เท่านั้นที่ไม่เคยรับชมบริการสตรีมมิ่ง และกว่า 87% ของผู้ใช้งานเข้าใช้สัปดาห์ละครั้ง และมีถึง 50% ที่เข้าใช้งานเป็นประจำทุกวันเพื่อรับชมรายการต่าง ๆ ที่ตนเองชื่นชอบ"

Binge View จุดเปลี่ยนโฆษณา

ส่วนการที่ค่ายผลิตภาพยนตร์ หรือซีรีส์ทยอยนำเนื้อหามาแพร่ภาพบนช่องทางนี้ก่อน เพราะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมกับผู้บริโภคได้มากกว่า เช่น ฉายพร้อมกันตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งการรับชมรายการทีวีหลายตอนแบบต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ หรือ Binge Viewing ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมบันเทิง ด้วยว่ากลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการและคาดหวัง

โดยพฤติกรรม Binge View ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นประจำในกลุ่มผู้ใช้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (S-VOD การรับชมแบบสมาชิก) โดย 87% ของกลุ่มผู้ใช้บริการ S-VOD จะดูแบบ Binge View อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ S-VOD ซึ่งมีอยู่ 74%

ขณะเดียวกันยังทำให้การทำโฆษณากับช่องทางสตรีมมิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อคนที่เข้ามารับชมต้องการรับชมสิ่งนั้นจริง ๆ ไม่ได้เป็นคนกลุ่มใหญ่ การโฆษณาจึงต้องลงลึกไปถึงตัวบุคคล รวมถึงการสร้างภาพยนตร์หรือซีรีส์เพื่อตอบโจทย์เฉพาะกลุ่มด้วย โดยการดึงผู้บริโภคเข้ามารับชมสตรีมมิ่งจำเป็นต้องใช้แผนการตลาดต่าง ๆ เช่น การใช้โปรโมชั่นหรือการกระตุ้นผ่านโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ผู้ทำ "สตรีมมิ่ง" ที่มีประสิทธิภาพยังจำเป็นต้องใช้ "บิ๊กดาต้า" เพื่อประมวลผลข้อมูลของผู้บริโภคแต่ละคนเพื่อส่งรายการต่าง ๆ ออกไปได้ตรงจุดมากที่สุด

ดิจิทัลทีวีต้องปรับตัว

สำหรับในประเทศไทย การรับชมสตรีมมิ่งกำลังเติบโตขึ้นเช่นกัน สังเกตจากผู้ให้บริการประเภทนี้เข้ามาทำตลาดมากกว่า 5 ราย นอกจากนี้ สังคมเมือง หรือการใช้ชีวิตแบบคนเมือง เริ่มกระจายเข้าสู่จังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้การใช้โทรศัพท์มือถือ และกลุ่มวัยรุ่นก็เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แต่ด้วยปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ราคาค่าบริการสตรีมมิ่งในประเทศไทยยังอยู่ในอัตราที่ต่ำเพื่อกระตุ้นการรับชม แตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้สูงถึง 100 เหรียญสหรัฐ/เดือน (ราว 3,600 บาท)

"คนไทยใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ย 8.2 ชั่วโมง/วันโดยในจำนวนนี้ 66% รับชมวิดีโอแบบสั้น ๆและที่เหลือจะรับชมภาพยนตร์หรือซีรีส์จบเป็นเรื่อง ๆ ทำให้โอกาสการทำตลาดสตรีมมิ่งค่อนข้างเปิดกว้างในประเทศไทย และไม่ใช่แค่ผู้เล่นหน้าเดิมที่ต้องตื่นตัว แต่รวมถึงผู้ให้บริการทีวีดิจิทัล และเพย์ทีวี ต้องมองช่องทางนี้เพื่อเป็นโอกาสในการทำตลาดใหม่ ๆ ด้วย ถ้ายังจมอยู่กับที่เดิมจะมีฐานผู้ชมลดน้อยลง

ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการทีวีดิจิทัลในประเทศไทยยังไม่ตื่นตัวที่จะแพร่ภาพบนช่องทางอื่นๆ"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447056225

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.