Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 พฤศจิกายน 2558 TOT ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อตรวจนับอุปกรณ์โครงข่าย AIS ตั้งแต่ก่อนที่จะหมดสัมปทาน โดยเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนจะเสร็จเรียบร้อย

ประเด็นหลัก

 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทีโอทีลงพื้นที่เพื่อตรวจนับอุปกรณ์โครงข่ายตั้งแต่ก่อนที่จะหมดสัมปทาน

และเมื่อต้นเดือน ต.ค.เอไอเอสได้แจ้งมาว่าจะเริ่มส่งมอบอุปกรณ์ตามสัมปทาน โดยมีการทำบัญชีรายการแนบมาให้ ซึ่งทีโอทีได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 9 คณะให้ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นหัวหน้าแต่ละชุดเพื่อตรวจรับ โดยเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนจะเสร็จเรียบร้อย

"เรามีการปรึกษากับอัยการสูงสุดแล้วว่า หากส่งมอบไม่ครบหรือไม่ตรงตามสัญญาจะเรียกร้องสิทธิ์ต่อไป ทรัพย์สินที่รับมอบมาทั้งหมดคาดหวังว่าถ้าคนประมูล 900 MHz ไปได้ก็น่าจะเข้ามาขอเช่าใช้ทั้งเสา, ไฟเบอร์ออปติก และสถานีฐานทำให้เรามีรายได้ต่อไป รวมถึงเสาและอุปรณ์ 3G บนคลื่น 900 MHz ที่มีพ่วงอยู่ด้วยราว 3,000 สถานีฐานที่พร้อมให้ใช้งานได้ทันที"

นายมนต์ชัย กล่าวถึงความคืบหน้าในการเจรจาหาพันธมิตรธุรกิจด้วยว่า ฝ่ายบริหารได้คัดเลือกเหลือหนึ่งบริษัทในแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อเสนอให้บอร์ดพิจารณาแล้ว แต่การประชุมบอร์ดทีโอทีที่ผ่านมายังไม่ได้พิจารณา ซึ่งเหลือแค่รายเดียวในธุรกิจมือถือที่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นกันกับกรณีเสาโทรคมนาคมที่ต้องเจรจากับเอไอเอสรายเดียว โจทย์คือต้องเจรจาเพื่อระงับข้อพิพาท ขณะที่ผลประกอบการ 9 เดือนปี 2558 ขาดทุน 1,260 ล้านบาท

"ธุรกิจโมบายเข้าด้ายเข้าเข็มที่สุด รวมถึงทาวเวอร์โคใกล้สรุปแล้ว พยายามจะให้จบก่อนประมูล 900 ไม่อย่างนั้นจะลดความน่าสนใจของทีโอทีลงไป แต่ก็พยายามไม่เป็นผลมาหลายรอบแล้วต้องพยายามต่อ ไม่ได้มีแผนสำรอง ถ้าพลาดจะยิ่งเสียโอกาสในการหารายได้"




_________________________________________



9 เดือนทีโอทีขาดทุน 1,260 ล้าน ฟุ้งไอเดียตั้งกองทุนอินฟราฯ



"ทีโอที" 9 เดือน ขาดทุน 1,260 ล้านบาท แถมจบไม่ลงเคลียร์ข้อพิพาท-ปิดดีลพันธมิตร "เอไอเอส" แต่ผุดไอเดียใหม่ตั้งกองทุน "ท่อร้อยสายโทรคมนาคม" ระดมทุนหมื่นล้านบาทปีหน้า พร้อมตั้งคณะทำงาน 9 ชุดตรวจอุปกรณ์โครงข่ายมือถือ 900 MHz หลังสัมปทานหมดอายุ

นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทีโอที (30 ต.ค. 2558) เห็นชอบให้ฝ่ายบริหารศึกษาเรื่องการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อระดมทุนสร้างท่อร้อยสายเพื่อให้บริษัทโทรคมนาคมเช่าใช้มูลค่า 10,000 ล้านบาท โดยขณะนี้กำลังยกร่างทีโออาร์เพื่อจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน คาดว่าจะเสนอให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติหลักการในการจ้างที่ปรึกษาได้ในการประชุมครั้งหน้าภายใน พ.ย.นี้ ซึ่งตามแผนจะขออนุมัติคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.), ครม. และเข้ากระบวนการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อระดมทุนในปลายปี 2559 ได้

"การไฟฟ้านครหลวงมีโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน 261 กิโลเมตร ครม.อนุมัติแล้ว ดังนั้นเสาโทรคมนาคมตามเส้นทางนี้ก็จะหายไป จำเป็นต้องมีการวางท่อใต้ดินแทน ซึ่งกระทบผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั้งหมด โดยจะเป็นท่อแยกต่างหากจากของการไฟฟ้าฯ คาดว่าต้องใช้เงินราว 7,000 ล้านบาท

เดิมทีโอทีมีให้เช่าอยู่แล้ว 25,000 กิโลเมตร เป็นในกรุงเทพฯ 20,000 กิโลเมตร แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน เพราะส่วนใหญ่ต้องกันไว้ใช้เองด้วย แต่ละปีจะมีรายได้ราว 400-500 ล้านบาท ขณะที่ทางกรุงเทพมหานครไม่ยินยอมให้เอกชนทำ ซึ่งเราเองก็วางแผนไว้ว่าจะนำรายได้ที่จะเกิดจากการให้เช่าท่อร้อยสายเป็นทรัพย์สินของกองทุน เพื่อเอาเงินไปสร้าง"

และคาดว่าจะสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท ถ้าระดมทุนได้จะเริ่มในกรุงเทพฯและปริมณฑลในพื้นที่ 261 กิโลเมตรที่การไฟฟ้าฯจะนำสายไฟลงดิน ถ้าระดมทุนได้มากขึ้นจะขยายไปตามหัวเมืองใหญ่ แต่ต้องหารือกับแคท เพราะตามมติ ครม.ให้ทำโครงการนี้ร่วมกัน ทั้งแคทก็มีท่อร้อยสายเดิมอยู่ราว 1,000 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม โครงการท่อร้อยสายนี้เป็น 1 ใน 4 แนวทางในการหารายได้ในอนาคตของทีโอที นอกเหนือไปจากการหาพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G บนคลื่น 2100 MHz ที่หากทำได้จะสร้างรายได้ปีละ 1,000 ล้านบาท, การยุติข้อพิพาทเสาโทรคมนาคมกับเอไอเอส หากยุติได้จะมีเสา 16,000 ต้นพร้อมให้บริการและสร้างรายได้ปีละ 4,000 ล้านบาท รวมถึงการนำคลื่น 2300 MHz มาให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงตามที่ กสทช.เพิ่งอนุมัติ โดยอยู่ระหว่างทำแผนการลงทุนเสนอบอร์ดทีโอที คาดว่าจะลงทุนอยู่ที่ 1,000 บาทต่อพอร์ต แต่ทยอยตามพื้นที่ ในเบื้องต้นจะเริ่มที่ 500,000 พอร์ต ใช้เงินราว 500 ล้านบาท

ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิ์ในคลื่น 900 MHz ยังไม่สรุปว่าจะยื่นฟ้อง กสทช.เพื่อไม่ให้นำคลื่น 900 MHz ออกมาประมูลหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าเรื่องสิทธิ์ในคลื่นยังไม่เคลียร์จึงให้ฝ่ายบริหารรวบรวมข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะกฎหมายขัดกันหลายส่วน

ขณะที่การจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับเอไอเอสเมื่อ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา นายมนต์ชัยกล่าว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทีโอทีลงพื้นที่เพื่อตรวจนับอุปกรณ์โครงข่ายตั้งแต่ก่อนที่จะหมดสัมปทาน

และเมื่อต้นเดือน ต.ค.เอไอเอสได้แจ้งมาว่าจะเริ่มส่งมอบอุปกรณ์ตามสัมปทาน โดยมีการทำบัญชีรายการแนบมาให้ ซึ่งทีโอทีได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 9 คณะให้ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นหัวหน้าแต่ละชุดเพื่อตรวจรับ โดยเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนจะเสร็จเรียบร้อย

"เรามีการปรึกษากับอัยการสูงสุดแล้วว่า หากส่งมอบไม่ครบหรือไม่ตรงตามสัญญาจะเรียกร้องสิทธิ์ต่อไป ทรัพย์สินที่รับมอบมาทั้งหมดคาดหวังว่าถ้าคนประมูล 900 MHz ไปได้ก็น่าจะเข้ามาขอเช่าใช้ทั้งเสา, ไฟเบอร์ออปติก และสถานีฐานทำให้เรามีรายได้ต่อไป รวมถึงเสาและอุปรณ์ 3G บนคลื่น 900 MHz ที่มีพ่วงอยู่ด้วยราว 3,000 สถานีฐานที่พร้อมให้ใช้งานได้ทันที"

นายมนต์ชัย กล่าวถึงความคืบหน้าในการเจรจาหาพันธมิตรธุรกิจด้วยว่า ฝ่ายบริหารได้คัดเลือกเหลือหนึ่งบริษัทในแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อเสนอให้บอร์ดพิจารณาแล้ว แต่การประชุมบอร์ดทีโอทีที่ผ่านมายังไม่ได้พิจารณา ซึ่งเหลือแค่รายเดียวในธุรกิจมือถือที่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นกันกับกรณีเสาโทรคมนาคมที่ต้องเจรจากับเอไอเอสรายเดียว โจทย์คือต้องเจรจาเพื่อระงับข้อพิพาท ขณะที่ผลประกอบการ 9 เดือนปี 2558 ขาดทุน 1,260 ล้านบาท

"ธุรกิจโมบายเข้าด้ายเข้าเข็มที่สุด รวมถึงทาวเวอร์โคใกล้สรุปแล้ว พยายามจะให้จบก่อนประมูล 900 ไม่อย่างนั้นจะลดความน่าสนใจของทีโอทีลงไป แต่ก็พยายามไม่เป็นผลมาหลายรอบแล้วต้องพยายามต่อ ไม่ได้มีแผนสำรอง ถ้าพลาดจะยิ่งเสียโอกาสในการหารายได้"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1446708751

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.