Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2558 แหล่งข่าววิเคราะห์ว่า ปัจจุบันทีวีช่องเก่ายังครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ของงบฯโฆษณาทีวี แม้เรตติ้งทีวีดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก 2 ช่องหลักได้ และงบฯโฆษณาของทีวีดิจิทัลปัจจุบันถูกแบ่งมาจากช่อง 5 และช่อง 9 ซึ่งไม่มากนัก

ประเด็นหลัก



แหล่งข่าวจากธุรกิจทีวีดิจิทัลรายใหญ่ ให้มุมมองกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มทีวีดิจิทัลจากนี้ไปคงเหนื่อยมากขึ้น โดยปี 2559 ต้องประเมินจากสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมอีกครั้ง ส่วนปี 2560 ภาพรวมทีวีดิจิทัลอาจจะฟื้นตัวขึ้น จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่น่าจะค่อย ๆ เติบโตขึ้น ขณะที่ปี 2562-2563 แม้ช่องทีวีแอนะล็อกจะยุติการออกอากาศก็ไม่น่าจะส่งผลต่อภาพรวมทีวีดิจิทัล เพราะทุกช่องได้ออกอากาศคู่ขนานแล้ว

แหล่งข่าววิเคราะห์ว่า ปัจจุบันทีวีช่องเก่ายังครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ของงบฯโฆษณาทีวี แม้เรตติ้งทีวีดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก 2 ช่องหลักได้ และงบฯโฆษณาของทีวีดิจิทัลปัจจุบันถูกแบ่งมาจากช่อง 5 และช่อง 9 ซึ่งไม่มากนัก



__________________




ทีวีดิจิทัลระส่ำ! หวั่นโดมิโน "ไทยทีวี" ลามช่องอื่น


เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ในจำนวนทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่อง จะมีที่ไปตลอดรอดฝั่งไม่กี่ราย ที่เหลือก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ รวมทั้งบางช่องที่สายป่านไม่ยาวพอ ต้องยอมปล่อยให้จอดับ

สด ๆ ร้อน ๆ คือ การชิงพับแผนอย่างเป็นทางการ ยุติการออกอากาศทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ไทยทีวี และ เอ็มทีวีแฟมิลี่ เมื่อคืนวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา สำหรับ บริษัท ไทยทีวี จำกัด ก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะออกคำสั่งพักใบอนุญาตครั้งที่ 1 รวม 30 วัน โดยไทยทีวียังไม่จ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 2 จำนวน 288 ล้านบาท ตามกำหนดหรือภายในสิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

กระบวนการต่อจากนี้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ชี้แจงผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าจะพักใบอนุญาตครั้งละ 30 วัน ไม่เกิน 3 ครั้ง รวม 90 วัน ระหว่างนี้จะไม่สามารถออกอากาศได้ในทุกระบบ และหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลา 90 วันดังกล่าว กสท.จะเพิกถอนใบอนุญาต และดำเนินการตามกฎ กติกา ในการเรียกชำระเงินตามหลักประกันที่มีการวางหนังสือรับรองธนาคารไว้

ไม่เพียงเท่านั้น สปริงนิวส์ยังสร้างแรงสั่นสะเทือนให้แก่วงการทีวีดิจิทัลอีกรอบ หลังจากประกาศแผนธุรกิจปี 2559 อย่างฮึกเหิม ก่อนตามมาด้วยการประกาศปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดรับนโยบายของการเป็นสถานีข่าวอันดับ 1 ของประเทศทุกแพลตฟอร์มด้วยการลดพนักงาน 40 อัตรา

แหล่งข่าวจากธุรกิจทีวีดิจิทัลรายใหญ่ ให้มุมมองกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มทีวีดิจิทัลจากนี้ไปคงเหนื่อยมากขึ้น โดยปี 2559 ต้องประเมินจากสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมอีกครั้ง ส่วนปี 2560 ภาพรวมทีวีดิจิทัลอาจจะฟื้นตัวขึ้น จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่น่าจะค่อย ๆ เติบโตขึ้น ขณะที่ปี 2562-2563 แม้ช่องทีวีแอนะล็อกจะยุติการออกอากาศก็ไม่น่าจะส่งผลต่อภาพรวมทีวีดิจิทัล เพราะทุกช่องได้ออกอากาศคู่ขนานแล้ว

แหล่งข่าววิเคราะห์ว่า ปัจจุบันทีวีช่องเก่ายังครองส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% ของงบฯโฆษณาทีวี แม้เรตติ้งทีวีดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก 2 ช่องหลักได้ และงบฯโฆษณาของทีวีดิจิทัลปัจจุบันถูกแบ่งมาจากช่อง 5 และช่อง 9 ซึ่งไม่มากนัก

เมื่องบฯโฆษณาจำกัด ปีหน้าผู้ประกอบการทีวีก็คงต้องเหนื่อยมากขึ้น ขณะที่ต้นทุนคอนเทนต์และค่าใช้จ่ายคงที่ เทียบเท่ากับช่องเก่า แต่ราคาโฆษณาแตกต่างกัน

ความเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง คือ การล้มหายตายจากของผู้ประกอบการทีวี อาจจะมีผู้ประกอบการบางช่องตัดสินใจคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลตามมาอีก

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของงบฯโฆษณานั้น แม้ลูกค้า (สินค้า) จะมีงบฯโฆษณา แต่ธุรกิจทีวีต้องพึ่งพาความนิยมของผู้ชม (เรตติ้ง) เป็นหน่วยวัดสำหรับการซื้อขาย เมื่อเรตติ้งของช่องทีวีดิจิทัลไม่ขยับ โครงข่ายการรับชมทีวีดิจิทัลยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ การคืนทุนของผู้ประกอบการอาจต้องเลื่อนออกไปจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ 3-5 ปี

ส่วนจะยืดออกไปนานแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแนวทางธุรกิจของแต่ละช่อง

"หลังจากทีวีดิจิทัลออกอากาศมา 17 เดือน พบว่า กสทช.ไม่ได้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลที่เป็นรูปธรรม ขณะที่การแจกคูปองเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลผิดเพี้ยนไปจากวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขณะที่โครงข่าย (ช่วงแรก) ก็ยังไม่ครอบคลุม ผู้ชมสับสนในช่องทางรับชมทีวีดิจิทัล ในมุมมองของผู้ประกอบการถึงจุดหนึ่งก็จำเป็นต้องหยุดการขาดทุน สิ่งที่เกิดขึ้นตลอด 17 เดือนที่ผ่านมา คือ บางช่องขอคืนใบอนุญาต ขณะที่บางช่องก็รวมตัวกันเพื่อฟ้องร้อง เรียกร้องให้ กสทช.ออกมาเยียวยาธุรกิจ"

ขณะที่กรณีไทยทีวีแหล่งข่าวคนเดิมวิเคราะห์ว่า หากไทยทีวีสามารถคืนใบอนุญาตได้สำเร็จ อาจจะมีรายอื่น ๆ ตามมาอีก เนื่องจาก ขณะนี้จำนวนช่องทีวีดิจิทัลก็เกินความต้องการของผู้ชม ถ้าดำเนินธุรกิจแล้วไปไม่ได้ก็ต้องยุติการขาดทุน

เมื่อการดำเนินธุรกิจมีความเสี่ยง หากผู้ประกอบการไม่พร้อมก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเท่าตัว บทเรียนไทยทีวีครั้งนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความไม่พร้อมทางการแข่งขัน

แต่รวมถึงปัจจัยลบที่กำลังเกิดขึ้นบนธุรกิจทีวีดิจิทัลทั้งงบฯโฆษณาที่ไม่โต โครงข่ายไม่ครอบคลุม ช่องที่เดินหน้าต่อจึงก็ต้องงัดหมัดเด็ดออกมาสู้เพื่อฝ่าวงล้อมนี้ให้ได้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1446701426

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.