Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 พฤศจิกายน 2558 (บทความ) ใครอยู่เบื้องหลัง ทำประมูล 4 G เลือดสาด // โมบาย บรอดแบนด์ 4 จี เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะทำตลาดคู่กับบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต ให้บริการภายใต้ชื่อ “3BB” ใช้เงินลงทุน 2.5-3.5 หมื่นล้านบาท จุดคุ้มทุนภายใน 1-2 ปี จากฐานลูกค้าในช่วงแรก 1-2 ล้านราย

ประเด็นหลัก


ก่อนหน้านี้ พิชญ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า กำลังหาพันธมิตรทั้งเกาหลี และ ญี่ปุ่น เข้ามาร่วมทุนถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50% โดยแผนธุรกิจใหม่ โมบาย บรอดแบนด์ 4 จี เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะทำตลาดคู่กับบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต ให้บริการภายใต้ชื่อ “3BB” ใช้เงินลงทุน 2.5-3.5 หมื่นล้านบาท จุดคุ้มทุนภายใน 1-2 ปี จากฐานลูกค้าในช่วงแรก 1-2 ล้านราย




__________________




ใครอยู่เบื้องหลัง ทำประมูล 4 G เลือดสาด

การประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4จี

จบไปอย่างสุดล้า สำหรับการประมูลครั้งประวัติศาสตร์ ประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีในคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อที่เคาะสู้ราคาข้ามวันข้ามคืนยาวนานถึง 33 ชั่วโมง (เริ่มประมูล 11 พ.ย.) เวลา 10.00 น. ข้ามวันข้ามคืนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน สิ้นสุดในเวลา 19.05 น.

ในที่สุดผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ ทรู ประมูลใบอนุญาตชุดที่ 1 ในช่วงความถี่ 1710 – 1725 เมกะเฮิรตซ์ และ ในช่วง 1805-1820 เมกะเฮิรตซ์ จำนวนย่านความถี่ทั้งสิ้น 15 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่าประมูลอยู่ที่ 3.97 หมื่นล้านบาท

ส่วน บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอไอเอส ประมูลในชุดที่ 2 ในช่วงความถี่ 1725-1740 เมกะเฮิรตซ์ และ 1820-1835 เมกะเฮิรตซ์ จำนวนย่านความถี่ทั้งสิ้น 15 เมกะเฮิรตซ์ มูลค่าประมูลอยู่ที่ 4.09 หมื่นล้านบาท

สิ้นสุดการประมูลครั้งนี้ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้เงินเข้ารัฐจำนวนทั้งสิ้น 8.07 หมื่นล้านบาท

การประมูลครั้งนี้กลายเป็นบันทึกประวัติศาสตร์กันไปเลยทีเดียว เพราะใช้เวลายาวนาน ที่สำคัญบรรดาผู้เข้าร่วมประมูลจำนวน 4 ราย คาดไม่ถึงว่าจะยาวนานเพียงนี้ จึงไม่ได้เตรียมพร้อมนำเครื่องนุ่งห่มเข้ามาเปลี่ยนแต่อย่างใด

แต่ทว่าการประมูลครั้งนี้ ถูกตั้งคำถามว่า? ทำไม และ เพราะอะไร ถึงสู้กันดุเดือดเลือดพล่านได้ถึงขนาดนี้ มีเพียงกลุ่มทุนรายเดียวเท่านั้นที่ถอยออกไปในช่วงต้นประมูล เหลือเพียง 3 รายที่ปักธงสู้จนนาทีสุดท้าย

“แจสโมบาย”ตัวแปร

หากวิเคราะห์กันแบบตรงไปตรงมา การประมูลคราวนี้ มีผู้เล่นเพิ่มขึ้น แม้ไม่ใช่รายใหม่เพราะอยู่ในแวดวงโทรคมนาคมมายาวนานเช่นเดียวกันนั้นก็ คือ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด หรือแจส กลายเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะ มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) มีรายชื่อเข้ามาเป็นผู้ประมูล

พลันที่ “จัสมิน” เสนอตัวเข้ามา ถูกตั้งคำถามว่าเป็นตัว”หลอก”เข้าประมูลเพื่อสร้างกระแสปั่นหุ้น มากกว่าที่ลงมาเล่นอย่างจริงจัง

แต่ในวันจริง “พิชญ์ โพธารามิก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารวัย 43 ปี ของ กลุ่มจัสมิน นั่งรถเบนท์ลีย์ พร้อมดรีมทีมจำนวน 5 คน มานั่งบัญชาการเคาะราคาด้วยตัวเอง เช่นเดียวกับกลุ่มทรูที่”ศุภชัย เจียรวนนท์”ลูกชายเจ้าสัวธนินท์ มาคุมเกมเอง ส่วน เอไอเอส กับ ดีแทด มีทีมผู้บริหารระดับสูงมารับศึกประมูลรอบนี้ “ของจริงเขาไม่มากันเยอะหรอกเจ้าของมาเองตัดสินใจง่ายกว่า ประมูลครั้งนี้เลือดสาดจริง ๆ ครั้งหน้าประมูลคลื่น 900 เลือดจะสาดกว่านี้อีก” นั่นคือคำบอกเล่าของ “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช.

การปรากฏตัวของ “พิชญ์” ครั้งนี้มีนัยสำคัญ เพราะเมื่อคราวประมูลทีวีดิจิตอล บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด เข้าร่วมประมูลประเภทช่องทั่วไปความคมชัดปกติ (SD) ในราคา 2.25 พันล้านบาท แต่ครั้งนั้น “พิชญ์” ไม่ได้เข้าประมูลด้วย

ก่อนหน้านี้ พิชญ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า กำลังหาพันธมิตรทั้งเกาหลี และ ญี่ปุ่น เข้ามาร่วมทุนถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50% โดยแผนธุรกิจใหม่ โมบาย บรอดแบนด์ 4 จี เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะทำตลาดคู่กับบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต ให้บริการภายใต้ชื่อ “3BB” ใช้เงินลงทุน 2.5-3.5 หมื่นล้านบาท จุดคุ้มทุนภายใน 1-2 ปี จากฐานลูกค้าในช่วงแรก 1-2 ล้านราย

  3 รายแข่งสู้

การประมูลครั้งนี้ กสทช. กำหนดราคาไว้ที่ 1.98 หมื่นล้านบาท ราคาตั้งต้นอยู่ที่ 1.59 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็น 80% เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 5% หรือคิดเป็น 796 ล้านบาท เมื่อเคาะราคาถึง 1.98 หมื่นล้านบาท ราคาเคาะประมูลเหลือครั้งละ 2.5% หรือ 398 ล้านบาท ใบอนุญาตอยู่ที่ 18 ปี ใช้เวลาเคาะแต่ละครั้ง 15 นาที มีเอกชน 4 ราย เข้าร่วม ประกอบด้วย บริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด, บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด, บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด

ในชั่วโมงแรกของการประมูล (11 พ.ย. เวลา 10.00-11.00 น.) มีการเคาะราคา 3 รอบ ปรากฏว่า ชุดที่ 1 ราคาประมูลอยู่ที่ 1.75 หมื่นล้านบาท โดยมีผู้แข่งขันอยู่เพียงรายเดียว เริ่มเคาะราคารอบแรก 1.67 หมื่นล้านบาทที่ทุกรายต้องเคาะราคาและรอบ 2 เคาะเพิ่มเป็น 1.75 หมื่นล้านบาท ส่วนรอบ 3 ยืนราคาเดิม ระหว่างการประมูลตลอดครึ่งวันมีการขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด ใครหยุดเคาะถือว่าสละสิทธิ์ และ ผู้ประมูลมีสิทธิ์ WAVE (ยกเลิก) ได้ 3 ครั้ง แต่ปรากฏว่าในช่วงต้นของการประมูล 1 ราย หยุดเคาะราคาแข่งขันไปแล้ว ทำให้เหลืออีก 3 รายต้องสู้ข้ามวันข้ามคืน

ในชั่วโมงที่ 3 ราคาเริ่มขยับขึ้นจาก 1.83 หมื่นล้านบาท เป็น 1.90 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดช่วงนี้เองที่ ดีแทค ยกธงขาว เมื่อเหลือผู้เล่นเพียง 3 ราย การแข่งขันยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะใบอนุญาตที่ 1 ซึ่งมีผู้เล่นหมายตา 2 ราย นัยว่าการขับเคี่ยวเพื่อชิงชัยเริ่มตั้งแต่ตรงนั้นและเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาประมูลใบอนุญาต 4 จีสูงเกินความคาดหมายของหลายฝ่าย ก่อนที่การประมูลใบอนุญาตที่ 1 ไปจบลงที่ชัยชนะของทรูที่ ราคา 3.97 หมื่นล้านบาท สูงกว่าราคาที่แจสเสนอ เพียง 799 ล้านบาท (แจสเสนอราคารอบที่ 82 หรือครั้งสุดท้าย 3.89 หมื่นล้านบาท)

น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความเห็นต่อการประมูลครั้งนี้ ว่า “แจสคงมีพันธมิตรที่ไม่เปิดเผยเขา(แจส)จึงกล้าตัดสินใจสู้ราคาประมูล ” ทั้งนี้ นายฐากร เลขาธิการ กสทช.ออกมาแถลงข่าวว่า ดีแทค เป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ออกจากการประมูลในคลื่นความถี่ชุดที่ 1 ในรอบที่ 6-7 โดยเคาะราคาสุดท้ายที่ 1.75 หมื่นล้านบาท * 17 พ.ย.ชงเรื่องเข้าบอร์ด กทค.

หลังได้ผู้ชนะการประมูลทั้ง 2 รายแล้ว นายฐากร เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ภายในวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายนนี้ เตรียมนำรายชื่อผู้ชนะจำนวน 2 รายนำเสนอเรื่องเข้าบอร์ด กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) เพื่อให้คณะธรรมาภิบาลดำเนินการตรวจสอบและรับรองผลการประมูลไม่เกิน 15 วันและให้ผู้ชนะประมูลมาจ่ายเงินงวดแรก 50% ภายใน 90 วันจ่ายเมื่อไหร่ก็ได้ใบอนุญาตทันที
ผลการประมูล 1800 ปิดฉากอย่างเป็นทางการต้องรอลุ้นคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จะสู้กันเลือดสาดเหมือนกรณี 1800 หรือไม่

ที่สำคัญยักษ์ใหญ่เบอร์ 1 อย่าง เอไอเอส หายใจเต็มปอดหลังได้คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ไปบริหารจัดการ จากเดิมที่หายใจไม่ทั่วท้อง

หลังจากนี้เกมการแข่งขันมือถือรุนแรงขึ้น เบอร์ 1 อย่าง เอไอเอส ต้องรักษาความเป็นผู้นำ แต่เบอร์ 2 อย่าง “ดีแทค” นี่สิน่าสนใจยิ่งว่าจะรักษาที่มั่นเบอร์ 2 ได้หรือไม่ !

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,105 วันที่ 15 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

http://www.thansettakij.com/2015/11/17/18317

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.