Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 พฤศจิกายน 2558 TDRI ชี้ การประมูล 4G สูง ไม่มีผลต่อราคาค่าบริการ แต่กำไรของผู้ประกอบการที่ได้น้อยกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้สะท้อนออกมาในราคาหุ้นของผู้เข้าประมูลที่ปรับตัวลดลง

ประเด็นหลัก



- ทีดีอาร์ไอแจงประมูลสูงไม่เจ๊งแค่กำไรหด

ด้านนักวิชาการอย่าง นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นว่า ราคาประมูลเกิดขึ้นจากการพิจารณาของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูล ซึ่งล้วนเป็นผู้บริหารมืออาชีพในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ละรายมีการทำแบบจำลองทางการเงินและมีข้อมูลครบถ้วนที่ทำให้ทราบว่า มูลค่าคลื่นที่เหมาะสมสำหรับตนอยู่เท่าใด ในทางวิชาการ หากมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ที่มีข้อมูลครบถ้วน ราคาที่ได้จากการประมูลจะเป็น "ราคาที่เหมาะสม" ไม่ใช่ราคาที่สูงหรือต่ำเกินไป อันที่จริงการที่ไม่ทราบ "มูลค่าที่แท้จริง" ของคลื่นความถี่ เป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูลเพื่อให้ทราบมูลค่าที่แท้จริง การประมูลคลื่นความถี่จึงเป็นวิธีที่เหมาะสม

"มูลค่าประมูลที่สูงจะทำให้ราคาค่าบริการแพงหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีผลต่อราคาค่าบริการ เพราะค่าบริการจะขึ้นกับความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภค และการแข่งขันในตลาด ไม่ได้ขึ้นกับมูลค่าประมูล มูลค่าประมูลเป็นเพียงการแบ่งกำไรของผู้ประกอบการมาให้รัฐเท่านั้น ทั้งนี้ กำไรของผู้ประกอบการที่ได้น้อยกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้สะท้อนออกมาในราคาหุ้นของผู้เข้าประมูลที่ปรับตัวลดลง"



__________________




4จี เลือดสาด มูลค่าแสนล้านไม่กระเทือนค่ายมือถือ-ผู้บริโภค "รุ่งหรือร่วง" เดี๋ยวก็รู้


เสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดประมูลไปเมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

แต่ผลพวงจากการประมูลรอบนี้ เป็นที่กล่าวขานถึงคือ การแข่งขันราคาของผู้เข้าประมูลทั้ง 4 ราย ที่มีการเก็บตัวเคาะราคากันข้ามวันข้ามคืน กินเวลาไปกว่า 33 ชั่วโมง ส่งผลให้การประมูลใบอนุญาตจากที่มีมูลค่าราคาตั้งต้นการประมูลที่ใบอนุญาตละ 15,912 ล้านบาท หรือรวม 2 ใบอนุญาตจะอยู่ที่ราคา 31,824 ล้านบาท กลับมีราคาสุดท้ายพุ่งสูงขึ้นไปถึง 80,778 ล้านบาท

โดยในการประมูลทั้ง 2 ใบอนุญาต มีผู้สมหวังทั้งสิ้น 2 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ที่ชนะไปด้วยเงินประมูล 40,986 ล้านบาท และ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชนะไปด้วยเงินประมูล 39,792 ล้านบาท ส่วนผู้ผิดหวังไปในรอบนี้ ก็ได้แก่ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ในเครือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)



จากราคาที่พุ่งขึ้นไปสูงถึง 80,778 ล้านบาท เพียงแค่การประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ 2 ใบอนุญาตนี้ ยังไม่นับรวมการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ อีก 2 ใบอนุญาต ที่จะเกิดขึ้น ในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ที่การันตีได้ 100% ว่าหากรวมทั้ง 4 ใบอนุญาต จะมีมูลค่าสูงกว่า 100,000 ล้านบาท วงเงินดังกล่าวต้องจัดส่งเข้ารัฐ ให้รัฐบาลนำไปใช้พัฒนาประเทศได้อีกมากมาย จึงเป็นที่มาของคำถามที่หลายฝ่ายข้องใจว่า การประมูลมูลค่า 100,000 ล้านบาท ที่มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายที่ต้องรับผิดชอบเงินดังกล่าว จะเพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไปหรือไม่ และจะมีผลกระทบอันใดส่งมาถึงผู้บริโภคหรือไม่จาก ต้นทุนที่สูงลิบเช่นนี้

- กสทช.ยันราคาไม่กระทบค่ายมือถือ-ผู้บริโภค

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ในฐานะผู้จัดการประมูล 4จี ได้ให้ความเห็นต่อราคาประมูลความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่สูงครั้งนี้ ว่า การแข่งขันราคาที่ค่อนข้างสูงถึง 80,778 ล้านบาท และมีการเคาะราคาข้ามวันข้ามคืนของค่ายมือถือทั้ง 4 ราย ชนิด "เลือดสาด" ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดความคาดหมายของ กสทช. เนื่องจากเดิม กสทช.ประเมินการแข่งไว้เพียงที่ราว 40,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ในทางกลับกันการแข่งขันที่สูง ก็สะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสในการประมูลที่ไม่น่าจะมีการสมยอมราคา หรือ "ฮั้ว" ประมูลระหว่างกัน อีกทั้งยังสะท้อนถึงผลประโยชน์เข้ารัฐในการนำส่งเงินที่ได้จากการประมูลให้รัฐบาลนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้มากขึ้น ซึ่งในส่วนของค่ายมือถือที่เสนอราคาประมูลสูงๆ เชื่อว่าจะไม่กระทบ เพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการแต่ละรายมีการประเมินศักยภาพของตนมาอย่างดีพอแล้วก่อนเคาะราคาแต่ละครั้ง

อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ กสทช.ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์อย่างเป็นทางการ และเดินหน้าจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีความดุเดือดเช่นกัน

"การที่ราคาประมูลสูง ไม่ใช่ค่าบริการจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่จะถูกลงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ เพราะ กสทช.ได้ออกกฎให้ผู้รับใบอนุญาต 4จี ต้องมีค่าโทรถูกกว่า 3จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ คือ ค่าโทรต้องไม่เกิน 69 สตางค์ต่อนาที และค่าเน็ตต้องไม่เกิน 26 สตางค์ต่อเมกะบิต อีกทั้งเมื่อ 4จี ถูกลง กลไกตลาดก็จะทำให้ค่าบริการ 3จี ถูกลงไปด้วย" นายฐากรกล่าว

- เอไอเอส-ทรูราคาสูงไม่กระทบ

ด้านผู้บริหารของผู้เข้าประมูล 2 รายที่ชนะการประมูล ซึ่งให้ความเห็นได้เพียงสั้นๆ ตามข้อจำกัดของ กสทช.ก่อนประมูลคลื่นต่อไป เริ่มกันที่ นายสมประสงค์ บุญยะชัย รองประธานกรรมการ เอไอเอส กล่าวว่า ดีใจกับผลการประมูล พอใจที่มีโอกาสได้มีส่วนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ส่วนราคาที่บริษัทชนะประมูลใบอนุญาตด้วยราคาสูงสุดที่ 40,986 ล้านบาทนั้น ถือว่าอยู่ในช่วงที่กำหนดไว้แล้วสำหรับการดำเนินธุรกิจ และรับได้กับราคาดังกล่าว

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทรู คอร์ เปอเรชั่น กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้ถือว่าเป็นการแข่งขันกันหนักพอสมควรแต่ก็พอใจกับผลการประมูลที่ได้ โดยราคาที่ประมูลเป็นราคาที่สูงแต่ก็รับได้เพราะอยู่ในช่วงที่บริษัทคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งราคาที่ประมูลได้เป็นใบอนุญาตที่มีราคา 39,792 ล้านบาท

- ทีดีอาร์ไอแจงประมูลสูงไม่เจ๊งแค่กำไรหด

ด้านนักวิชาการอย่าง นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นว่า ราคาประมูลเกิดขึ้นจากการพิจารณาของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูล ซึ่งล้วนเป็นผู้บริหารมืออาชีพในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ละรายมีการทำแบบจำลองทางการเงินและมีข้อมูลครบถ้วนที่ทำให้ทราบว่า มูลค่าคลื่นที่เหมาะสมสำหรับตนอยู่เท่าใด ในทางวิชาการ หากมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ที่มีข้อมูลครบถ้วน ราคาที่ได้จากการประมูลจะเป็น "ราคาที่เหมาะสม" ไม่ใช่ราคาที่สูงหรือต่ำเกินไป อันที่จริงการที่ไม่ทราบ "มูลค่าที่แท้จริง" ของคลื่นความถี่ เป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องจัดสรรคลื่นความถี่ด้วยการประมูลเพื่อให้ทราบมูลค่าที่แท้จริง การประมูลคลื่นความถี่จึงเป็นวิธีที่เหมาะสม

"มูลค่าประมูลที่สูงจะทำให้ราคาค่าบริการแพงหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีผลต่อราคาค่าบริการ เพราะค่าบริการจะขึ้นกับความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภค และการแข่งขันในตลาด ไม่ได้ขึ้นกับมูลค่าประมูล มูลค่าประมูลเป็นเพียงการแบ่งกำไรของผู้ประกอบการมาให้รัฐเท่านั้น ทั้งนี้ กำไรของผู้ประกอบการที่ได้น้อยกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้สะท้อนออกมาในราคาหุ้นของผู้เข้าประมูลที่ปรับตัวลดลง"

- ผู้บริโภคชี้ประมูลสูงไม่สะเทือนถึง

ส่วนในมุมมองของผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ประมูล 4จี ที่มีราคาสูงลิบ จะไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด โดยมีเหตุสำคัญ 2 ข้อ ประกอบด้วย 1.คลื่นความถี่ที่นำมาประมูลมีมูลค่าสูง อย่างคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เฉลี่ยตามระยะเวลาใบอนุญาต 18 ปี จะพบว่า เอไอเอสจ่ายอยู่ที่ราวปีละ 2,270 ล้านบาท ทรูจ่ายอยู่ที่ราวปีละ 2,200 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับรายได้อย่างน้อยที่สุดที่ทั้ง 2 บริษัทเคยจ่ายค่าสัญญาสัมปทานใช้งานคลื่นความถี่ เอไอเอสจ่ายอยู่ที่ ปีละ 9,600 ล้านบาท ทรูจ่ายอยู่ที่ ปีละ 4,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าต่างกันมาก ฉะนั้น ถึงประมูลมาด้วยจำนวนดังกล่าวก็จะไม่กระทบสถานะการเงินทางผู้ชนะการประมูลด้วยเช่นกัน

ขณะที่ 2.เงื่อนไขใบอนุญาต ที่ระบุว่าผู้รับใบอนุญาต 4จี ทั้งคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ต้องมีราคาค่าใช้บริการที่ต่ำกว่า 3จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ ก็น่าจะเพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักประกันไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบใดๆ ได้

แต่ส่วนตัวมองว่า ในการกำหนดอัตราราคาขั้นต่ำในการให้บริการเสียงไม่เกิน 69 สตางค์ต่อนาที ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่การกำหนดให้ต่ำลงมาอีกอยู่ที่ 50 สตางค์ต่อนาที ดูจะเป็นตัวเลขที่เหมาะสมกว่า ส่วนการใช้งานอินเตอร์เน็ตควรกำกับให้เพิ่มความเร็วขั้นต่ำ จากการโดนลดความเร็วเมื่อลูกค้าใช้งานอินเตอร์เน็ตครบตามปริมาณที่กำหนดในแพคเกจ จาก 345 กิโลบิต เพราะเมื่อมี 4จี ให้บริการแล้ว ก็ควรได้ใช้งานเร็วขึ้น

ทั้งนี้ จากความเห็นของแต่ละภาคส่วนนั้นค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า ประมูล 4จี ที่จะมีมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท ไม่น่ากระเทือนถึงค่ายมือถือ ไม่ซ้ำรอยทีวีดิจิตอล และที่สำคัญที่สุดไม่กระเทือนต่อผู้บริโภค แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่คงต้องรอดูกันอีกครั้งหลังจากเปิดใช้บริการแล้ว

ซึ่งตามข้อมูลของ กสทช. ก็คือ เดือนมกราคม 2559

คงไม่นานเกินรอ..




ที่มา : นสพ.มติชน

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1447659482

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.