Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ธันวาคม 2558 สำหรับระบบ "เอฟไอเอส" ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ในธนาคาร 11 แห่ง จาก 13 แห่งในประเทศไทย เช่น ระบบบริหารจัดการตู้เอทีเอ็ม, คอร์แบงกิ้ง และโซลูชั่นอีเพย์เมนต์ เป็นต้น และในปี 2559 บริษัทจะทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพื่อขยายจำนวนผู้ใช้งานระบบให้มากขึ้น เช่น กลุ่มน็อนแบงก์ หรือกลุ่มผู้ให้บริการอีวอลเลต

ประเด็นหลัก

สำหรับระบบ "เอฟไอเอส" ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ในธนาคาร 11 แห่ง จาก 13 แห่งในประเทศไทย เช่น ระบบบริหารจัดการตู้เอทีเอ็ม, คอร์แบงกิ้ง และโซลูชั่นอีเพย์เมนต์ เป็นต้น และในปี 2559 บริษัทจะทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพื่อขยายจำนวนผู้ใช้งานระบบให้มากขึ้น เช่น กลุ่มน็อนแบงก์ หรือกลุ่มผู้ให้บริการอีวอลเลต นอกจากจะขยายบริการให้ใช้งานครบทุกธนาคารผ่านการส่งโซลูชั่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ตู้เอทีเอ็มที่ใช้รหัสคิวอาร์โค้ดยืนยันตัวตนแทนบัตรเอทีเอ็ม พร้อมโซลูชั่นที่เกี่ยวกับ "อีมันนี่" เพื่อเดินตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของภาครัฐ


_______________________________________




"เอฟไอเอส"เจาะนาโนไฟแนนซ์ หนุนสถาบันการเงินบูมอีมันนี่



"เอฟไอเอส" ชี้แบงก์ไทยยังลงทุนด้านไอทีต่อเนื่อง ย้ำ "ซิเคียวริตี้-มาร์เก็ตติ้ง"สำคัญสุด ดันบริการใหม่เจาะตลาด "นาโนไฟแนนซ์" ชูประสบการณ์อินเดียการันตี พร้อมสนับสนุนไทยเข้าสู่ยุคอีมันนี่เต็มรูปแบบ

นายชิฮารี บาต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก เอฟไอเอส ผู้ให้บริการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการเงินกล่าวว่า ธนาคารต่าง ๆ ยังคงมีการลงทุนด้านไอทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัย และนำข้อมูลต่าง ๆมาวิเคราะห์ในเชิงบิ๊กดาต้าสำหรับการทำตลาด ถือเป็นสองด้านที่มีการลงทุนไอทีที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ คาดว่าในปี 2559 จะลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยแต่ไม่สามารถระบุมูลค่าได้ เพราะแต่ละธนาคารมีงบประมาณด้านไอทีต่างกัน และบางรายเน้นเฉพาะการรักษาความปลอดภัย

โดยในปี 2558 ยังเห็นการลงทุนของธนาคารในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะชะลอตัว เพราะทุกธนาคารต้องปรับมาตรการด้านความปลอดภัยให้ตรงกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้อยู่แล้ว แต่ที่เห็นมากขึ้นคือการใช้ไอทีไปพัฒนาในการตลาด รวมถึงออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบใหม่ เพราะการนำข้อมูลของลูกค้าจำนวนมากมาวิเคราะห์อย่างถูกต้องสามารถทำตลาดได้ตรงจุดมากที่สุด และจุดนี้เองทำให้แต่ละธนาคารแข่งขันกันลงทุนเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด

สำหรับระบบ "เอฟไอเอส" ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ในธนาคาร 11 แห่ง จาก 13 แห่งในประเทศไทย เช่น ระบบบริหารจัดการตู้เอทีเอ็ม, คอร์แบงกิ้ง และโซลูชั่นอีเพย์เมนต์ เป็นต้น และในปี 2559 บริษัทจะทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพื่อขยายจำนวนผู้ใช้งานระบบให้มากขึ้น เช่น กลุ่มน็อนแบงก์ หรือกลุ่มผู้ให้บริการอีวอลเลต นอกจากจะขยายบริการให้ใช้งานครบทุกธนาคารผ่านการส่งโซลูชั่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ตู้เอทีเอ็มที่ใช้รหัสคิวอาร์โค้ดยืนยันตัวตนแทนบัตรเอทีเอ็ม พร้อมโซลูชั่นที่เกี่ยวกับ "อีมันนี่" เพื่อเดินตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของภาครัฐ

ล่าสุดเตรียมสร้างบริการเกี่ยวกับนาโนและไมโครไฟแนนซ์เพื่อทำตลาดในประเทศไทยเนื่องจาก ธปท.เปิดช่องให้สถาบันการเงินมาขอใบอนุญาตการปล่อยกู้ในระดับรายย่อย โดยบริษัทจะนำโซลูชั่นที่ติดตั้งให้ บมจ.ไอร่า แอนด์ ไอฟุล ที่ให้บริการบัตรกดเงินสดในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ A Money ไปปรับแต่งเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสถาบันการเงินอื่นได้ ผ่านการวางระบบที่ไม่ซับซ้อน และต้นทุนในการบริหารที่ต่ำกว่ารายอื่น แต่ยังเน้นเรื่องความปลอดภัย

"ก่อนหน้านี้เอฟไอเอสได้ให้บริการโซลูชั่นนาโนไฟแนนซ์กับธนาคารในอินเดียที่มีผู้ใช้งานกว่า6.5ล้านราย และมีสาขากว่า 500 แห่ง ทำให้ถึงเพิ่งจะเข้ามาทำตลาดโซลูชั่นนาโนไฟแนนซ์ไม่นาน แต่ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจพัฒนาระบบไอทีที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเงิน ทำให้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถทำตลาดในประเทศไทยและภูมิภาคนี้เกี่ยวกับเรื่องนาโนไฟแนนซ์ได้แน่นอน โดยเป้าหมายยังไม่ได้วางไว้ชัดเจน แต่ในประเทศไทยจะพยายามเจรจากับสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้เข้ามาติดตั้งระบบของเรามากเท่าที่จะทำได้"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1449116288

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.