Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 ธันวาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.ฐากร ระบุ บื้องต้น สำนักงาน กสทช. คาดว่าหากการประมูลยาวนานไป 3 วัน ประมาณการณ์;ว่าจะได้วงเงินสูงถึง 66,638 ล้านบาท โดยมาจากปัจจัยหลักๆ

ประเด็นหลัก

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาบเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้วิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซจำนวน 2 ใบที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.58 ว่า จะมีการแข่งขันกันดุเดือดแบบเลือดตกอย่างออกอย่างแน่นอน เบื้องต้น สำนักงาน กสทช. คาดว่าหากการประมูลยาวนานไป 3 วัน ประมาณการณ์;ว่าจะได้วงเงินสูงถึง 66,638 ล้านบาท โดยมาจากปัจจัยหลักๆ คือผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อครั้งที่ผ่านมาจะไม่ปล่อยให้ผู้ที่จะชนะการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์







____________________________________________________________



กสทช.วิเคราะห์ประมูลคลื่น900เอกชนแข่งเดือด


„กสทช.วิเคราะห์ประมูลคลื่น900เอกชนแข่งเดือด กสทช. คาดการณ์ประมูลคลื่น900เมกะเฮิร์ตซ วันที่ 15ธ.ค. นี้ แข่งเลือดตกยางออก ประเมินสถานการณ์เคาะ3วันวงเงินจะสูงกว่า 6หมื่นล้านบาท ยันผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ต่อเนื่อง วันพุธที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 12:49 น. วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาบเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้วิเคราะห์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซจำนวน 2 ใบที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธ.ค.58 ว่า จะมีการแข่งขันกันดุเดือดแบบเลือดตกอย่างออกอย่างแน่นอน เบื้องต้น สำนักงาน กสทช. คาดว่าหากการประมูลยาวนานไป 3 วัน ประมาณการณ์;ว่าจะได้วงเงินสูงถึง 66,638 ล้านบาท โดยมาจากปัจจัยหลักๆ คือผู้ที่ชนะการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อครั้งที่ผ่านมาจะไม่ปล่อยให้ผู้ที่จะชนะการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ครั้งนี้ ได้คลื่นไปในราคาที่ต่ำกว่าอย่างแน่นอนเพื่อไม่ให้ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มีต้นทุนต่ำกว่าและได้เปรียบในการกำหนดราคาค่าบริการ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการมีความจำเป็นที่ต้องการใช้คลื่นความถี่อย่างต่อเนื่องโดยจากวิเคระห์แล้วยังพบว่า บริษัทแจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด หรือจัสมิน นั้นยังไม่มีคลื่นความถี่ ส่วนเครือบริษัท เอไอเอส และเครือ บริษัททรู นั้นแม้จะมีคลื่นความถี่แต่ยังถือว่าน้อยและมีความต้องการครอบครองคลื่นความถี่เช่นกัน ในขณะที่บริษัทดีแทค แม้จะถือครองคลื่นความถี่มากที่สุดแต่คลื่นจำนวน 50 เมกะเฮิร์ซจะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561 ดังนั้น กสทช.จึงมองว่า 900 เมกะเฮิร์ตซ จะไม่มีใครถอยให้ใครอย่างแน่นอน นายฐากร กล่าวว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยังมีมติให้ใช้ราคาคลื่นความถี่ที่ประมูลได้ในครั้งนี้ไปคำนวณราคากลางในการประมูลคลื่นความถี่ในอนาคต และส่งผลให้มีราคาสูงอย่างแน่นอน รวมถึงเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซนี้ ได้กำหนดแตกต่างไปจาก 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยราคาที่เคาะเกินมูลค่าคลื่น 100% ผู้ที่ชนะการประมูลสามารถนำไปจ่ายในปีที่ 4 ได้“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/365962

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.