Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 ธันวาคม 2558 (บทความ) เริ่มแล้ว ! สงครามมือถือ 4G ใครจะ “สตรอง” กว่ากัน ? // แผนการลงทุนของ TRUE นั้น ไม่ต้องลงทุนเครือข่ายใหม่ แต่จะใช้วิธีการ “ปรับจูน” สถานีฐานเดิม 10,000 แห่ง ที่เคยรองรับ 4 G คลื่น 2100 MHz ให้มารองรับกับคลื่น 1800 MHz เพิ่มขึ้น

ประเด็นหลัก




แผนการลงทุนของทรูนั้น ไม่ต้องลงทุนเครือข่ายใหม่ แต่จะใช้วิธีการ “ปรับจูน” สถานีฐานเดิม 10,000 แห่ง ที่เคยรองรับ 4 G คลื่น 2100 MHz ให้มารองรับกับคลื่น 1800 MHz  เพิ่มขึ้น  ดังนั้นเมื่อคู่แข่งที่เป็นเบอร์ 1 อย่างเอไอเอสเริ่มมาประชิด ทรูจึงต้องเร่งมือปรับจูนสถานีฐานให้เสร็จ 5,000 สถานี ภายในปี 58 เพื่อเปิดบริการให้ครบ 77 จังหวัด จากนั้นในปีหน้า จะปรับจูนอีก 5,000 สถานีที่เหลือ พร้อมกับขยายสถานีฐานเพิ่มอีก ให้ครอบคลุมการใช้งาน ซึ่งทรูคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ในช่วง 2 ปี คือ 2559-2560
สิ่งที่ทรูต้องเร่งทำ คือ ขยายลูกค้าฐาน 4G ที่เป็นรายเดือน เพราะถือเป็นลูกค้ากระเป๋าหนัก เพิ่มจาก 2.2 ล้านราย เป็น 4.4 ล้านราย และหากการแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้น จะยิ่งเพิ่มจำนวนผู้ใช้ให้มากขึ้นไปอีก
ด้วยการผลักดันให้ลูกค้า 3G ที่เวลานี้มีอยู่ 20 ล้านเลขหมาย ที่ใช้ดาต้ามากๆ จะหันมาใช้บริการ 4G เพิ่มขึ้น โดยทรูจะไม่ลดราคาแพ็กเกจลง แต่จะใช้วิธีให้ดาต้าเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาเทียบต่อยูนิตของดาต้า จะทำให้ค่าบริการ 4G ถูกกว่า 3G
วิธีนี้เท่ากับว่าทรูยังมีรายได้บริการ 4G เฉลี่ยต่อเลขหมาย ในอัตรา 700-800 บาท เท่าเดิม และไม่ผิดกติกาที่ กสทช .กำหนดให้ค่าบริการ 4G ต้องถูกกว่า 3G
ขณะเดียวกัน ทรูเองก็ต้องเริ่มทำตลาด 4G กับลูกค้าบัตรเติมเงิน แม้จะกระเป๋าหนักไม่เท่ากับรายเดือน แต่ก็เป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ด้วยการออกแพ็กเกจราคาที่ต่ำลง แต่ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
ศุภชัยมองว่า การแข่งขันในปีหน้า ดาต้า และจะเป็นเรื่องของคอนเทนต์และแมทชีนทูแมทชีน เช่น การนำซิมสมาร์ทโฟนไปใช้กับรถยนต์ หรือตามอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จะส่งผลให้เกิดบิ๊กดาต้าเกิดขึ้นมากมาย




____________________________________________________________



เริ่มแล้ว ! สงครามมือถือ 4G ใครจะ “สตรอง” กว่ากัน ?



เปิดเกมไล่ล่า ชิงความเป็น 1 บนสมรภูมิมือถือ 4G  ระหว่าง 3 ค่ายมือถือ เอไอเอส ทรู และดีแทค ที่นับจากนี้ ดีกรีความร้อนแรงจะเพิ่มขึ้นทุกนาที

ยังไม่ทันที่จะเปิดให้บริการ 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz อย่างเป็นทางการ ดีกรีการแข่งขันระหว่างเอไอเอส และทรูมูฟ ก็ดุเดือดเลือดพล่านแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ถือเป็นฤกษ์งามยามดีของ ทรูมูฟในการเดินทางมารับใบอนุญาต 4G คลื่น 1800 MHz  จาก กสทช. ในเวลา 11.00 น.  ซึ่งงานนี้ทรูมูฟได้จัดเตรียมพิธีรีตรองกันเต็มที่ เพราะถือเป็นฤกษ์ดี ทำมาค้าขึ้น เหมาะกับการเริ่มต้นบริการใหม่อย่าง 4G
เริ่มกันด้วยขบวนพาเหรดวงดุริยางค์ บรรเลงเอาฤษ์เอาชัยให้กับทีมผู้บริหารของทรู นำโดย ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการ และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น ระหว่างเดินจากอาคารสำนักงานใหญ่ กสทช. มายังหอประชุม เพื่อรับมอบใบอนุญาตจาก กสทช. ก่อนจะปิดท้ายของงาน ด้วยกลองสะบัดชัย 4 ภาค ของศุภชัย และ พล.อ.อ ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. เพื่อเรียกพลังตามหลักฮวงจุ้ย              



ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด  ระบุว่า ปัจจุบันถือว่าทรูได้ให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz มาแล้ว 2 ปี โดยมีลูกค้าใช้บริการ 2.2 ล้านราย การได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 MHz มา จึงเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ความจุ และความเร็วของบริการ 4G ให้เร็วขึ้น ในราคาแพ็กเกจเดิม
ตามรูปแบบการลงทุนเครือข่าย 4G ของทรู จะเป็นการนำคลื่นความถี่มาให้บริการ 4G  ร่วมกัน แบ่งเป็น คลื่น1800 MHz จำนวนแบนด์วิธ 10 MHz จากที่มีอยู่ 15 MHz นำมาให้บริการ 4G ควบคู่ไปกับคลื่น 2100 MHz จำนวน 10 MHz จากที่มีอยู่ 15 MHz เพื่อให้บริการ 4G  มีความเร็ว และความจุเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เท่า
ภายในเวลา 12 เดือนข้างหน้า เมื่อทรูย้ายลูกค้า 2G ที่มีอยู 1 ล้านรายเสร็จ ทรูจะนำคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่เหลืออีก 5 MHz และอีก 5 MHz บนคลื่นความถี่ 2100 MHz มาใช้กับ 4G เพิ่ม จะทำให้บริการ 4G ของทรูมีความจุและเร็วขึ้นเป็น 3 เท่า
แผนการลงทุนของทรูนั้น ไม่ต้องลงทุนเครือข่ายใหม่ แต่จะใช้วิธีการ “ปรับจูน” สถานีฐานเดิม 10,000 แห่ง ที่เคยรองรับ 4 G คลื่น 2100 MHz ให้มารองรับกับคลื่น 1800 MHz  เพิ่มขึ้น  ดังนั้นเมื่อคู่แข่งที่เป็นเบอร์ 1 อย่างเอไอเอสเริ่มมาประชิด ทรูจึงต้องเร่งมือปรับจูนสถานีฐานให้เสร็จ 5,000 สถานี ภายในปี 58 เพื่อเปิดบริการให้ครบ 77 จังหวัด จากนั้นในปีหน้า จะปรับจูนอีก 5,000 สถานีที่เหลือ พร้อมกับขยายสถานีฐานเพิ่มอีก ให้ครอบคลุมการใช้งาน ซึ่งทรูคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ในช่วง 2 ปี คือ 2559-2560
สิ่งที่ทรูต้องเร่งทำ คือ ขยายลูกค้าฐาน 4G ที่เป็นรายเดือน เพราะถือเป็นลูกค้ากระเป๋าหนัก เพิ่มจาก 2.2 ล้านราย เป็น 4.4 ล้านราย และหากการแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้น จะยิ่งเพิ่มจำนวนผู้ใช้ให้มากขึ้นไปอีก
ด้วยการผลักดันให้ลูกค้า 3G ที่เวลานี้มีอยู่ 20 ล้านเลขหมาย ที่ใช้ดาต้ามากๆ จะหันมาใช้บริการ 4G เพิ่มขึ้น โดยทรูจะไม่ลดราคาแพ็กเกจลง แต่จะใช้วิธีให้ดาต้าเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาเทียบต่อยูนิตของดาต้า จะทำให้ค่าบริการ 4G ถูกกว่า 3G
วิธีนี้เท่ากับว่าทรูยังมีรายได้บริการ 4G เฉลี่ยต่อเลขหมาย ในอัตรา 700-800 บาท เท่าเดิม และไม่ผิดกติกาที่ กสทช .กำหนดให้ค่าบริการ 4G ต้องถูกกว่า 3G
ขณะเดียวกัน ทรูเองก็ต้องเริ่มทำตลาด 4G กับลูกค้าบัตรเติมเงิน แม้จะกระเป๋าหนักไม่เท่ากับรายเดือน แต่ก็เป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ด้วยการออกแพ็กเกจราคาที่ต่ำลง แต่ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
ศุภชัยมองว่า การแข่งขันในปีหน้า ดาต้า และจะเป็นเรื่องของคอนเทนต์และแมทชีนทูแมทชีน เช่น การนำซิมสมาร์ทโฟนไปใช้กับรถยนต์ หรือตามอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จะส่งผลให้เกิดบิ๊กดาต้าเกิดขึ้นมากมาย
ส่วนเป้าหมาย จะพลิกจากเบอร์ 3 ขึ้นเบอร์ 2  ตามที่ทรูวางไว้ภายในปีหน้าได้หรือไม่นั้น “ถ้าเทียบเดือนต่อเดือน ยอดเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้ลดลง และถ้าเทียบเฉพาะยอดผู้ใช้รายเดือนเราชนะไปแล้ว แต่พรีเพดยังไม่ชนะ” นี่คือคำตอบ ของศึก 4G ในยกแรก
เอไอเอส ดีเดย์มกราคม 59
สำหรับเอไอเอสนั้น ไม่ปล่อยให้ทรูชิงพื้นที่สื่อไปได้รายเดียว เพราะแว่วมาแล้วว่า การที่เอไอเอสต้องเลือกมาแถลงข่าวในวันที่ 4 ธันวาคม ก็มีเบื้องลึกเบื้องหลังจากการถูกเตะสกัดจากคู่แข่งจนทำให้ “เอไอเอส” ต้องขอเอาคืนกลับ
โดยในช่วงบ่ายในวันเดียวกัน เอไอเอสยกทีมผู้บริหารพร้อมกับทีมงานมาที่ กสทช. โดยใช้สถานที่เดียวกัน ประกาศความพร้อมของเอไอเอส ในการเปิดให้บริการ AIS 4G  คลื่น 1800 MHz เต็มรูปแบบภายในเดือนมกราคม 2559


สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือเอไอเอส ระบุว่า เอไอเอสจะเปิดให้บริการ 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz เต็มรูปแบบในเดือนมกราคม 2559 โดยระหว่างนี้ คือ ตั้งแต่ 4 ธันวาคม เป็นต้นไป จะเปิดให้ลูกค้าของเอไอเอสได้ทดลองใช้บริการ 4G ตามพื้นที่ที่ให้บริการไปก่อน เป็นเวลา 1 เดือน
ตามแผนการลงทุน 4G ของเอไอเอส จะใช้งบลงทุน 14,520 ล้านบาท ขยายจุดให้บริการ โดยในเดือนมกราคมเอไอเอสจะมีสถานีฐาน 4G จำนวน 6,000 สถานี จากปัจจุบันที่ติดตั้งไปแล้ว 1,000 สถานี และคาดว่าจะติดตั้งครบ 2.1 หมื่นสถานี ทั่วประเทศ ภายในปี 2559
เวลานี้เอไอเอสคาดว่าจะมีลูกค้าใช้บริการ 4G เฟสแรกราว 4 ล้านราย และมีลูกค้าที่มีอุปกรณ์รองรับ 4G ประมาณ 2 ล้านราย จากจำนวนลูกค้าทั้งหมด  37.8 ล้านราย
งานนี้ นอกจากเอไอเอสจะใช้จุดขายเรื่องของฐานลูกค้าที่มีมากกว่า และการเตรียมเรื่องของคอนเทนต์ และแอปพลิเคชัน ที่ถือเป็นหัวใจของการแข่งขันบริการ 4G แล้ว เอไอเอสยังใช้โอกาสนี้โฆษณาบริการ 4G ชิ้นแรก เพื่อสื่อสารเรื่องราวของ “ชีวิตดิจิทัล” ที่เอไอเอสเริ่ม เริ่มนำเสนอออกมาบ้างตั้งแต่ปีที่แล้ว และหลังจากนี้เอไอเอสจะทำให้ภาพเหล่านี้จะชัดเจนขึ้น เมื่อมีบริการ 4G เริ่มต้นขึ้น
นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้เผยโฉมโลโก้ใหม่ ที่ออกมาเพื่อรับกับบริการ 4G  เป็นสูตรการตลาดเดียวกับที่เอไอเอส เคยทำในช่วงคลอดบริการ 3G โดยมี บริษัทเซ็นทริส เอเยนซีเจ้าประจำมาเป็นผู้ออกแบบให้
บิ๊กไอเดียของโลโก้ 4G ครั้งนี้ อยู่ที่การนำคำว่า 4G สีเขียว วางอยู่บนวงกลมสีดำ เพื่อสื่อถึงการเคลื่อนไหวของพลังของ 4G ทีพุ่งออกมา และยังเปรียบได้กับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ การเลือกใช้สีดำเพื่อต้องการให้เกิดอิมแพ็กต์ชัดเจน และขับเน้นคำว่า 4G ให้โดดเด่นยิ่งขึ้น และนำคำว่า Advance มาใช้ ที่นอกจากสื่อถึงชื่อ แบรนด์เอไอเอส ยังหมายถึงการพัฒนาอีกขั้นของบริการ 4G

แม้จะยืนยันว่าไม่ได้ใช้ซินแส หรือดูฮวงจุ้ยมาช่วยดูให้ แต่โลโก้นี้ เอไอเอสก็เชื่อมั่นว่า เฮงแน่ๆ เพราะถูกหลักตามศาสตร์ของชาวจีน
ดีแทคเพิ่มแบนด์วิธ 4G 1800
ส่วนดีแทคนั้น เมื่อประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้ ก็ต้องสู้ยิบตา โดยการนำคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 10 MHz ที่มีอยู่ในมือ (สัมปทานหมดปี 2018 ) นำมาอัปเกรดให้บริการ 4G ควบคู่ไปกับคลื่น 2100 MHz จำนวน 5 MHz  ที่ได้เปิดให้บริการไปก่อนหน้านี้ รวมแล้วดีแทคจะมีคลื่นความถี่รวม 15 MHz ไว้ให้บริการ 4G

การนำคลื่น 1800 MHz เพื่อรองรับกับความต้องการในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในที่ความต้องการสูงแล้ว ยังเป็นการประกาศว่า ไม่ต้องรอประมูล ดีแทคก็มีคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะให้บริการแล้วเช่นกัน ส่วนคลื่น 2100 MHz จะไปให้บริการใน 30 หัวเมือง
เมื่อเห็นว่าคู่แข่ง ทั้งทรู และเอไอเอส พร้อมใจจัดงานแถลงข่าวบริการ 4G คลื่น 1800 MHz ในวันที่ 4 ธันวาคม ดีแทคจึงไม่รอช้า ชิงประกาศเพิ่มแบนด์วิธบริการ 4G คลื่น 1800 MHz จาก 10 MHz อีก 5 MHz รวมเป็น 15 MHz พร้อมกับเร่งขยายเสาสัญญาณมากกว่าเป้าหมายที่เดิมตั้งไว้ 1800 สถานี เพิ่มเป็น 2,200 สถานี เพื่อให้ครอบคลุมกรุงเทพฯ และปริมณฑล และรองรับการใช้งาน 4G ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดีแทคระบุว่า ด้วยกระแส 4G  ส่งผลให้มีผู้ใช้ 4G อยู่ประมาณ 2 ล้านราย เติบโตขึ้น 4 เท่า เมื่อเทียบเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ที่ยังมีผู้ใช้บริการ 4G อยู่แค่ 5 แสนราย และปัจจุบันมีลูกค้าที่มีอุปกรณ์รองรับ 4G 3.8 ล้านราย จากลูกค้าในเครือข่าย 25 ล้านราย คาดว่าสิ้นปี 2558 จะมีเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านราย
วัดพลัง 4G
ต้องนับเป็นยกแรกของศึก 4G ที่จะเริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปีหน้า แต่เพียงแค่นี้ก็ส่อเค้าแล้วว่า งานนี้ทั้ง 3 ค่ายไม่มีใครยอมใครแน่ๆ
เอไอเอสนั้น มีข้อได้เปรียบในเรื่องของฐานลูกค้าที่มีเกือบ 40 ล้านราย มากกว่าดีแทคที่มีอยู่ 24.9ล้านราย และทรูที่มีอยู่ 23 ล้านราย รวมทั้งความพร้อมในเรื่องของเงิน
แต่จุดอ่อนของเอไอเอส อยู่ที่การเปิดให้บริการล่าช้ากว่าคู่แข่งอีก 2 ราย  ที่ได้ช่วงชิงลูกค้า 4G ที่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากระเป๋าหนัก เอไอเอสจึงต้องเร่งสปีดเต็มที่ในการเปิดให้บริการ 4G ให้เร็ว เพื่อช่วงชิงลูกค้าให้กลับคืนมา โดยใช้จุดขายเรื่องบริการ
ส่วนทรู ตั้งความหวังไว้กับบริการ 3G และ 4G  จะเป็นจุดพลิกผันทำให้ทรูก้าวจากเบอร์ 3 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 2หากดูตัวเลขผู้ใช้บริการรวมและ ผู้ใช้บริการ 4G ของทรู ก็วิ่งไล่ดีแทคมาติดๆ โดยเฉพาะในส่วนลูกค้าพรีเพท ที่ศุภชัยยืนยันว่า “ถ้าเทียบเดือนต่อเดือน ยอดผู้ใช้รายเดือนของทรูชนะไปแล้ว แต่ลูกค้าพรีเพด หรือบัตรเติมเงินเท่านั้นที่ยังตามหลังอยู่”
ดังนั้นในปีหน้า ทรูจึงต้องเร่งเต็มที่ ทั้งการปรับจูนสถานีฐาน และการออกแพ็กเกจบริการ 4G ออกมารองรับลูกค้าพรีเพดเพิ่มขึ้น และต้องเน้นความหลากหลาย เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้ามาเพิ่ม
ขณะที่ดีแทคจะมีข้อได้เปรียบในเองของการมีคลื่น ที่มีทั้ง 2100 MHz คลื่น 1800 MHz และคลื่น 850 MHz ในมือ แต่เกมการแข่งขันของดีแทคยังเป็นเกมรับมากกว่าเกมรุก
ดีแทคนั้น ให้น้ำหนักกับการขยายโครงข่าย 3G ให้ครอบคลุม 95% ของจำนวนประชากร ควบคู่ไปกับการขยาย 4G เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่ใช้วอยซ์ และอินเทอร์เน็ตบนมือถือในเวลาเดียวกัน จนเมื่อประเมินแล้วว่าสงคราม 4G ดุเดือดขึ้นแน่หลังจากคู่แข่งทั้งทรูและเอไอเอสคว้าคลื่น 1800 MHz มาได้ ดีแทคจึงต้องหันมารับมือ และให้น้ำหนักกับ 4G ด้วยการเพิ่มแบนด์วิธ และพื้นที่บริการให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
อีกไม่กี่วัน การประมูลคลื่น 900 MHz  ขนาดแบรนด์วิธ 10 MHz ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ จะเป็นอีกหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญ การชี้ชะตากับอนาคตของโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย บนสมรภูมิ 4G กันอีกครั้ง

http://www.positioningmag.com/content/61980

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.