Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 ธันวาคม 2558 กสทช. ชี้ ได้นำราคาประมูลรวมของไทยในรอบ 190 มูลค่า 147,766 ล้านบาทมาเป็นตัวตั้ง คิดเป็นราคาต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ต่อ 1 ประชากรที่ 55.1 บาทนั้น ปรากฏเป็นราคาที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ขณะที่อันดับ 1 เป็นมูลค่าการประมูลที่ฮ่องกง เมื่อปี 2554 ซึ่งราคาอยู่ที่ 61.3 บาท

ประเด็นหลัก






นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าจากการเปรียบเทียบราคาประมูล 4 จี คลื่น 900 ของประเทศไทยกับประเทศทั่วโลก ด้วยการใช้สูตรคำนวณเดียวกันกับองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศอังกฤษ หรือออฟคอม ซึ่ง กสทช. ได้นำราคาประมูลรวมของไทยในรอบ 190 มูลค่า 147,766 ล้านบาทมาเป็นตัวตั้ง คิดเป็นราคาต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ต่อ 1 ประชากรที่ 55.1 บาทนั้น ปรากฏเป็นราคาที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ขณะที่อันดับ 1 เป็นมูลค่าการประมูลที่ฮ่องกง เมื่อปี 2554 ซึ่งราคาอยู่ที่ 61.3 บาท ขณะที่อันดับ 3 เป็นการประมูลในประเทศฮังการี ในปี 2555 มีราคาอยู่ที่ 36.1 บาทต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ต่อ 1 ประชากร ตามมาด้วยการประมูลในกรีซ ราคา 12.5 บาท สเปน 10.5 บาท โรมาเนีย ราคา 9.9 บาท และเยอรมนี ซึ่งเพิ่งประมูลในปีนี้เช่นกันที่ 9.4 บาท

“การเคาะราคาในครั้งนี้ ทุบสถิติในทุกสถานการณ์ ซึ่งถือเป็นการประมูลที่กินระยะเวลายาวนานที่สุด สำหรับการประมูลแบบปิด จำกัดสถานที่ อย่างไรก็ตามยืนยันว่า การเคาะราคาครั้งนี้ ผู้ประมูลพิจารณามาอย่างดี ราคามาถึงขนาดนี้แค่ขาดทุนกำไร เพราะถ้าขาดทุนจริง ต้องหยุดเคาะ ผมเคยพูดย้ำเสมอว่า ธุรกิจโทรคมนาคมมีเพียงเลขหมายให้บริการ 10 ล้านเลขหมาย แต่ละเลขหมายสร้างรายได้ 100-200 บาทต่อเดือน ก็จะทำให้มีรายได้เดือนละ 1,000-2,000 ล้านบาท หรือปีละ 12,000-24,000 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว เชื่อว่าผู้ประกอบการมีกำไรอย่างแน่นอน” นายฐากรกล่าว





_____________________________________________________________________




4จีเกิน1.5แสนล้าน สูงที่2ของโลก กสทช.ยืนยัน ยังไงก็มีกำไร!


ประมูล 4จี คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ สู้กันมันหยด ราคาเคาะประมูลทะลุ1.5 แสนล้านบาท แพงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยการแข่งขันวันที่ 4 รุนแรงขึ้น มีการไล่ราคาให้ 2 ใบอนุญาตมีมูลค่าใกล้เคียงกัน

การประมูล 4 จีคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเวลา 09.00 น. ของวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็ได้ใช้เวลาประมูลยาวนานกว่า 4 วันเต็มแล้ว โดยหลังมูลค่ารวม 2 ใบอนุญาตทะลุ 100,000 ล้านบาท ในช่วงเช้าของวันที่ 17 ธ.ค.นั้น การเคาะราคายังเดินหน้าต่อ เนื่องจากผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 4 ราย อันได้แก่ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟเอช และแจสโมบาย ยังเคาะราคาสู้กันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

กระทั่งเวลา 20.20 น. ของวันที่ 18 ธ.ค. ซึ่งการประมูลดำเนินมาครบ 83 ชั่วโมง ในรอบการประมูลที่ 196 ราคารวม 2 ใบอนุญาตขยับขึ้นสู่ 150,986 ล้านบาท ใบอนุญาตแรกมีราคา 75,010 ล้านบาท และใบอนุญาตที่ 2 ราคา 75,976 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตการประมูลมาตลอด 195 รอบที่ผ่านมา พบว่าในช่วงท้ายของวันที่ 4 การแข่งขันเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น และมีความพยายามไล่ราคาให้ใบอนุญาตที่ 1 และ 2 ราคาใกล้เคียงกัน โดยจากการวิเคราะห์การเคาะราคาล่าสุด คาดว่าจะมีผู้เข้าประมูล 1 รายยอมหมอบราคาเรียบร้อยแล้ว เหลือ 3 รายยังอยู่ในการแข่งขัน

ต่อมาเวลา 21.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประมูลดำเนินมาถึงรอบที่ 198 ราคารวม 2 ใบอนุญาตขยับขึ้นสู่ 151,952 ล้านบาท ใบอนุญาตแรกมีราคา 75,654 ล้านบาท และใบอนุญาตที่ 2 ราคา 76,620 ล้านบาท จากนั้นจะหยุดพักการประมูล 3 ชั่วโมง และจะเริ่มประมูลใหม่หลังเที่ยงคืน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าจากการเปรียบเทียบราคาประมูล 4 จี คลื่น 900 ของประเทศไทยกับประเทศทั่วโลก ด้วยการใช้สูตรคำนวณเดียวกันกับองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศอังกฤษ หรือออฟคอม ซึ่ง กสทช. ได้นำราคาประมูลรวมของไทยในรอบ 190 มูลค่า 147,766 ล้านบาทมาเป็นตัวตั้ง คิดเป็นราคาต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ต่อ 1 ประชากรที่ 55.1 บาทนั้น ปรากฏเป็นราคาที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ขณะที่อันดับ 1 เป็นมูลค่าการประมูลที่ฮ่องกง เมื่อปี 2554 ซึ่งราคาอยู่ที่ 61.3 บาท ขณะที่อันดับ 3 เป็นการประมูลในประเทศฮังการี ในปี 2555 มีราคาอยู่ที่ 36.1 บาทต่อ 1 เมกะเฮิรตซ์ต่อ 1 ประชากร ตามมาด้วยการประมูลในกรีซ ราคา 12.5 บาท สเปน 10.5 บาท โรมาเนีย ราคา 9.9 บาท และเยอรมนี ซึ่งเพิ่งประมูลในปีนี้เช่นกันที่ 9.4 บาท

“การเคาะราคาในครั้งนี้ ทุบสถิติในทุกสถานการณ์ ซึ่งถือเป็นการประมูลที่กินระยะเวลายาวนานที่สุด สำหรับการประมูลแบบปิด จำกัดสถานที่ อย่างไรก็ตามยืนยันว่า การเคาะราคาครั้งนี้ ผู้ประมูลพิจารณามาอย่างดี ราคามาถึงขนาดนี้แค่ขาดทุนกำไร เพราะถ้าขาดทุนจริง ต้องหยุดเคาะ ผมเคยพูดย้ำเสมอว่า ธุรกิจโทรคมนาคมมีเพียงเลขหมายให้บริการ 10 ล้านเลขหมาย แต่ละเลขหมายสร้างรายได้ 100-200 บาทต่อเดือน ก็จะทำให้มีรายได้เดือนละ 1,000-2,000 ล้านบาท หรือปีละ 12,000-24,000 ล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว เชื่อว่าผู้ประกอบการมีกำไรอย่างแน่นอน” นายฐากรกล่าว

ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ได้รายงานให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.รับทราบถึงการแข่งประมูลกันอย่างดุเดือดแล้ว ซึ่งนายกฯ ได้ฝากขอบคุณทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประมูลทุกรายด้วย เพราะได้ทำประโยชน์เพื่อชาติ เนื่องจากรายได้จากการประมูล ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งจะนำไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไปได้ นอกจากนี้ต่างชาติยังให้ความสนใจการประมูล 4 จีของประเทศไทยอย่างมาก โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้าการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนครั้ง 4 จีนสนใจสอบถามความเคลื่อนไหวการประมูลด้วย

“จากการประมูลครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าคลื่นความ ถี่มีมูลค่ามาก จึงต้องหันมาเร่งรัดบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท ที่ถือครองคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติอยู่เป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องปฏิรูปตัวเอง และปรับเปลี่ยนการทำงานแบบคิดใหม่ทำใหม่ ขณะนี้ ทั้งทีโอทีและแคท กำลังเร่งทำแผนปฏิรูปองค์กร คาดว่าในเร็วๆนี้จะเห็นผลเป็นรูปธรรมแน่นอน” นายอุตตมระบุ

https://www.thairath.co.th/content/551158

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.