Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 ธันวาคม 2558 ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ ชี้ มีความเป็นไปได้ว่า DTAC อาจจะมีความร่วมมือกับ jas ขึ้นได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการประสานผลประโยชน์และการต่อรองทางธุรกิจระหว่างกัน.

ประเด็นหลัก



ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย มองว่า การที่บริษัท ทรูมูฟฯ สามารถชนะการประมูลคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งที่ผ่านมา และยังสามารถประมูลได้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ในครั้งนี้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกนั้น ยังสามารถกล่าวได้ว่าบริษัท ทรูมูฟฯ จะเข้ามาผูกขาดในตลาดกิจการโทรคมนาคม เพราะเราก็ยังเห็นผู้แข่งขันที่ยังคงเล่นอยู่ในตลาด หากแต่เป็นการแย่งชิงความเป็นที่หนึ่ง ความเป็นที่สองในตลาด

กรณีผลกระทบที่มีต่อกลุ่มเอไอเอส แม้ว่าในปัจจุบันจะเป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ดร.มานะกล่าวว่า การที่เอไอเอสไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ได้นั้น ในระยะสั้นคิดว่าจะเกิดผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อกลุ่มผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจจะทำให้มีการย้ายเครือข่ายเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่จะหาทางป้องกันแก้ไขต่อไป แต่เอไอเอสจะเสียโอกาสขยายธุรกิจในระยะยาว ขณะที่ผลกระทบที่จะมีต่อดีแทค มองว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะประสบปัญหามากที่สุด ซึ่งผลกระทบระยะสั้นอาจเกิดเช่นเดียวกับกรณีเอไอเอส แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าดีแทคอาจจะมีความร่วมมือกับบริษัท แจส โมบายฯ ขึ้นได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการประสานผลประโยชน์และการต่อรองทางธุรกิจระหว่างกัน.







_____________________________________________________________________




แจส-ทรู’ทุบทุกสถิติ เคาะ4Gมาราธอน66ชั่วโมง1.5แสนล้าน/หวั่นผูกขาดโทรคมนาคม


ประมูล 4 จีทุบทุกสถิติ 4 วันเสร็จ "แจส-ทรู" เคาะมาราธอนร่วม 66 ชั่วโมง เงินเข้ารัฐ 151,952 ล้านบาท ขณะที่เอไอเอสฮึมฮัมแจงคิดรอบคอบแล้วสู้ไม่ได้เพราะบริษัทอยู่ในตลาดหุ้น! ส่วนดีแทคจะเอาเงินกลับไปพัฒนาโครงข่าย นักวิชาการหวั่นทรูจะเข้ามาผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่เวลา 00.15 น. ของวันที่ 19 ธ.ค.2558 การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ได้จบลงเป็นที่เรียบร้อย ใช้เวลากว่า 4 วัน รวมเวลาเคาะราคา 65 ชม. 55 นาที จบลงด้วยราคามูลค่ารวม 151,952 ล้านบาท โดยเป็นการยืนราคานี้ตั้งแต่ในรอบที่ 198 ของการประมูล และมีการยืนยันโดยไม่เสนอราคาอีกครั้งในรอบที่ 199 ทำให้ได้ผู้ชนะชั่วคราวในชุดที่ 1 ช่วงคลื่น 895-905/940-950 เมกะเฮิรตซ์ คือบริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด ในราคา 75,654 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ผู้ชนะชั่วคราว ช่วงคลื่น 905-915/950-960 เมกะเฮิรตซ์ คือบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในราคา 76,298 ล้านบาท ขณะที่บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ได้เสนอราคาสุดท้ายในชุดที่ 1 รอบที่ 181 มูลค่า 70,180 ล้านบาท ส่วนบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค บริษัทในเครือเอไอเอส ได้เสนอราคาสุดท้ายในชุดที่ 2 รอบที่ 196 มูลค่า 75,956 ล้านบาท

ทั้งนี้ หลังการประมูลจบลง เอไอเอสได้ชี้แจงผ่านแถลงการณ์ทันทีว่า การตัดสินใจไม่ประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ต่อ ถือเป็นการตัดสินใจที่บริษัทได้พิจารณามาแล้วอย่างรอบคอบ เนื่องจากบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีผู้ถือหุ้นและนักลงทุนเป็นจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในบริษัท ดังนั้นการวางแผนในการดำเนินธุรกิจจึงต้องมีความรอบคอบ มีการศึกษาและพิจารณาถึงความเสี่ยง โอกาส ความน่าจะเป็นในหลายๆ ประการ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการจัดการที่ดีที่สุด

โดยเอไอเอสยืนยันว่า มีจำนวนคลื่นความถี่มากเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการให้กับลูกค้า ทั้งคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ที่ปัจจุบันสามารถให้บริการ 3 จีได้ทั่วประเทศด้วยความครอบคลุมกว่า 97% ของประชากร และยังมีแบนด์วิธ (bandwidth) ที่เพียงพอในการขยายรองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น และมีคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ได้ประมูลมาได้ในเดือนที่แล้ว ซึ่งบริษัทจะเปิดให้บริการ 4 จีต่อไป รวมถึงความร่วมมือระหว่างบริษัทกับ บมจ.ทีโอที ที่อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประโยชน์สูงสุด ซึ่งถือว่ายังมีความแข็งแกร่งในด้านโครงข่ายที่สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านนายลาร์ส นอร์ลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า การแข่งขันประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ผ่านมามีความสำคัญยิ่งกับการเดินทางของดีแทคในก้าวต่อๆ ไป ชาวดีแทคทุกคนขอขอบคุณทุกเสียงทุกกำลังใจที่ร่วมสู้ไปด้วยกัน และขอประกาศรุกให้บริการ 4 จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่มีอยู่ ด้วยการเร่งขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทุกจังหวัดทั่วไทยโดยเร็วที่สุดเพื่อบริการลูกค้า

สำหรับเงินที่จะนำไปประมูลนั้น ดีแทคจะนำกลับมาเป็นเงินที่ลงทุนพัฒนาเครือข่ายและรุกทำการตลาดที่เข้มข้นในการให้บริการ 4 จี และ 3 จีของสังคมไทย โดยลูกค้าจะได้ใช้บริการในอัตราค่าบริการที่คุ้มค่าที่สุด ดีแทคมั่นใจในจำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมดที่ถือครองว่ามีมากพอที่จะให้บริการทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์, 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 850 เมกะเฮิรตซ์ โดยทั้งหมดมีจำนวนแบนด์วิธเพียงพอในการให้บริการแก่ลูกค้าสำหรับการใช้งานทั้งบริการเสียง และอินเทอร์เน็ตบนมือถือ

โดยขณะนี้ดีแทคได้เปิดให้บริการ 4 จี บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ จากคลื่นในระบบใบอนุญาตและยังเปิดให้บริการ 4 จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีกจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ และวางแผนต่อเนื่องขยาย 4 จีทุกจังหวัดทั่วไทยต้องครอบคลุมด้วยสัญญาณดีแทคภายในปีหน้า รองรับการเติบโตการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือสำหรับลูกค้าทั่วประเทศ ขอให้สัญญาว่าจะนำบริการที่ดีที่สุดมาสู่ลูกค้าทุกคน

ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า แม้ราคาใบอนุญาตจะมีมูลค่าสูง แต่ขอยืนยันว่า กสทช.มีเงื่อนไขแนบท้ายใบประมูลที่ผู้เข้าร่วมรับทราบดีอยู่แล้ว ว่าจะต้องให้บริการในราคาที่ถูกกว่าบริการ 3 จีของคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมั่นใจว่ามาตรการที่มีจะสามารถกำกับดูแลผู้ที่ได้รับใบอนุญาตได้แน่นอน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปจะมีการนำเข้าที่ประชุมกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อลงมติรับรองผู้ชนะการประมูลในสัปดาห์หน้า โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องนำเงินมาจ่ายงวดแรกภายใน 90 วัน ในอัตรา 50% จากราคาตั้งต้น 16,080 ล้านบาท หรือจ่ายจำนวน 8,040 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนในงวดที่ 2 และ 3 จ่าย 25% หรือ 4,020 ล้านบาทต่องวด และให้นำส่วนต่างของราคาจากงวดแรก ซึ่งคิดจากมูลค่าของใบอนุญาตที่ประมูลได้มาจ่ายในงวดที่ 4 โดยการจ่ายเงินงวดแรก ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องนำเงินมาจ่ายพร้อมกับเอกสารรับรองจากธนาคาร หรือแบงก์การันตี ในวงเงินเต็มจำนวนของราคาใบอนุญาตที่ได้รับไปด้วย

ทั้งนี้ หากผู้ได้รับใบอนุญาตนำเงินมาจ่ายในงวดแรกแล้ว กสทช.จะแจ้งให้ผู้ที่ได้รับสัมปทานเดิมดำเนินการระงับการให้บริการในคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ทันที ดังนั้นจึงขอย้ำว่า หลังจากมีผู้ชนะมาจ่ายเงินงวดแรกแล้ว ซิมการ์ดที่ใช้บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จะดับลงทันที ไม่สามารถใช้บริการได้

นายฐากรกล่าวว่า แม้ราคาประมูลสูงกว่า 150,000 ล้านบาท แต่ กสทช.ได้กำหนดเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตว่า ค่าบริการต้องมีราคาถูกกว่าระบบ 3 จีในปัจจุบัน และผู้ได้รับใบอนุญาตต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 50 ภายใน 4 ปี และเพิ่มเป็นร้อยละ 80 ภายใน 8 ปี รวมถึงต้องจัดแพ็กเกจราคาประหยัดสำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีรายได้น้อยเดือนละไม่เกิน 10,000 บาท มีโอกาสใช้งานบริการโทรศัพท์ระบบ 4 จีด้วย

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย มองว่า การที่บริษัท ทรูมูฟฯ สามารถชนะการประมูลคลื่นความถี่ 1,800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งที่ผ่านมา และยังสามารถประมูลได้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ในครั้งนี้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกนั้น ยังสามารถกล่าวได้ว่าบริษัท ทรูมูฟฯ จะเข้ามาผูกขาดในตลาดกิจการโทรคมนาคม เพราะเราก็ยังเห็นผู้แข่งขันที่ยังคงเล่นอยู่ในตลาด หากแต่เป็นการแย่งชิงความเป็นที่หนึ่ง ความเป็นที่สองในตลาด

กรณีผลกระทบที่มีต่อกลุ่มเอไอเอส แม้ว่าในปัจจุบันจะเป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ดร.มานะกล่าวว่า การที่เอไอเอสไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ได้นั้น ในระยะสั้นคิดว่าจะเกิดผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อกลุ่มผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจจะทำให้มีการย้ายเครือข่ายเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่จะหาทางป้องกันแก้ไขต่อไป แต่เอไอเอสจะเสียโอกาสขยายธุรกิจในระยะยาว ขณะที่ผลกระทบที่จะมีต่อดีแทค มองว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะประสบปัญหามากที่สุด ซึ่งผลกระทบระยะสั้นอาจเกิดเช่นเดียวกับกรณีเอไอเอส แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าดีแทคอาจจะมีความร่วมมือกับบริษัท แจส โมบายฯ ขึ้นได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการประสานผลประโยชน์และการต่อรองทางธุรกิจระหว่างกัน.
ฅฅhttp://www.thaipost.net/?q=‘แจส-ทรู’ทุบทุกสถิติ-เคาะ4gมาราธอน66ชั่วโมง15แสนล้านหวั่นผูกขาดโทรคมนาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.