Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 (บทความ) "กสทช." ดาวเด่นปี"58 จุดพลุประมูลคลื่นพลิกเกมธุรกิจ // เร่งปิดดีลกับเอกชน บอร์ด "ทีโอที" จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการเบื้องต้นในการเลือก "เอไอเอส" เป็นพันธมิตรธุรกิจโมบาย หลังจากใช้เวลาสรรหาอยู่เป็นปี โดยตัดสินใจเดินตามโมเดลแบบ BFKT คือให้ "เอไอเอส" ลงทุนโครงข่าย 3G บนคลื่น 2100 MHz

ประเด็นหลัก




เร่งปิดดีลกับเอกชน

เพื่อดิ้นรนให้อยู่รอด ในที่สุดเมื่อ พ.ย. 2558 บอร์ด "ทีโอที" จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการเบื้องต้นในการเลือก "เอไอเอส" เป็นพันธมิตรธุรกิจโมบาย หลังจากใช้เวลาสรรหาอยู่เป็นปี โดยตัดสินใจเดินตามโมเดลแบบ BFKT คือให้ "เอไอเอส" ลงทุนโครงข่าย 3G บนคลื่น 2100 MHz เพิ่มอีกกว่าหมื่นแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ทีโอทีเช่าอุปกรณ์ ก่อนที่เอไอเอสจะมาซื้อความจุโครงข่าย 80% ของความจุทั้งหมด ทำให้ทีโอทีมีรายได้ขั้นต่ำกว่า 3,500 ล้านบาท/ปี และยังจะมีรายได้จากการระงับข้อพิพาท ที่เอไอเอสจะคืนเสาโทรคมนาคมให้ทีโอทีนำออกเช่า ซึ่งก็จะมีรายได้ขั้นต่ำอีกกว่า 3,000 ล้านบาท/ปีซึ่งในเวลาต่อมา ดีลกับทีโอทีก็เป็นประโยชน์กับ "เอไอเอส" ด้วยเช่นกัน เมื่อพลาดประมูลคลื่น 900 MHz

ขณะที่ฝั่ง "แคท" เร่งยื่นโครงการขออนุมัติ ครม. ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ "ดีแทค" ในการใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อระงับข้อพิพาทจากสัมปทาน และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อใช้โมเดล BFKT ลงทุนอัพเกรดคลื่น 1800 MHz ส่วน Upper band จำนวน 20 MHz ด้วย แม้ว่า สตง. รวมถึง ป.ป.ช. ยังคงหยิบประเด็นการทำสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ ระหว่างแคทกับกลุ่มทรูฯ ขึ้นมาพิจารณาว่าทำให้รัฐเสียเปรียบเอกชนก็ตาม




__________________________________________________________






"กสทช." ดาวเด่นปี"58 จุดพลุประมูลคลื่นพลิกเกมธุรกิจ


ปี 2558 กลายเป็นปีที่แวดวงโทรคมนาคม และบรอดแคสต์ เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีแรงกระเพื่อมมากมาย โดย "กสทช." หรือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญ ในฐานะผู้กำกับดูแลกิจการ

บังคับลงทะเบียนซิม

ปรากฏการณ์แรกที่สะเทือนถึงประชาชนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่กว่า 120 ล้านเลขหมายทั่วประเทศ เมื่อ กสทช. ผลักดันให้การลงทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นวาระแห่งชาติ จนเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2558 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ หลังจากนั้น "กสทช." จึงเร่งรัดให้ค่ายมือถือเร่งเก็บข้อมูลลงทะเบียนซิม (ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท) จนกระทั่งขีดเส้นตายในวันที่ 30 ก.ย. 2558 มียอดลงทะเบียนทั้งสิ้น 74.7 ล้านเลขหมาย หรือ 87.3% ของจำนวนเลขหมายทั้งหมดในขณะนั้น มีประมาณ 14 ล้านเลขหมายที่ซิมดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นซิมที่ไม่ได้มีการใช้งานเป็นประจำ



ประมูล 4G ทะลุ 2 แสนล้าน

ปรากฏการณ์สั่นสะเทือนวงการและเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ของคนทั้งประเทศ หนีไม่พ้นการประมูลคลื่น 4G ระลอกแรกกับคลื่น 1800 MHz เมื่อ 11 พ.ย. 2558 ที่ 4 ยักษ์ใหญ่ค่ายโทรคมนาคมส่งบริษัทลูกเข้าชิงชัย ทั้งบริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ในเครือเอไอเอส บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ในเครือดีแทค บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือทรู และบริษัท แจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด ในเครือจัสมิน โดยเบ็ดเสร็จเคาะราคาแบบข้ามวัน 86 รอบใช้เวลากว่า 33 ชั่วโมง ราคาพุ่งกระฉูดจากที่เปิดประมูล 15,912 ล้านบาทไปถึงกว่า 200% สุดท้าย "ทรูมูฟเอช"

คว้าชัยไปในราคา 39,792 ล้านบาท ส่วน "AWN" ชนะในราคา 40,986 ล้านบาท ทำให้สำนักงาน กสทช.มีเงินส่งเข้ารัฐ 80,778 ล้านบาท ขณะที่เบอร์ 2 ในตลาดอย่าง "ดีแทค" ถอดใจยกธงขาวตั้งแต่การประมูลรอบที่ 7

คลื่น 1800 MHz ว่าดุเดือดเกินคาดแล้ว ยังเทียบไม่ได้กับการประมูลคลื่น 900 MHz ที่กดปุ่มเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2558 ที่ผ่านมา เมื่อ 4 ค่ายรายเดิมเคาะราคายาวนานกว่า 87 ชั่วโมง ดันราคาแต่ละไลเซนส์พุ่งทะลุเดือด แถมผลการประมูลยังหักปากกาเซียน เมื่อตัวเต็งจ๋าอย่าง "เอไอเอส" ถอดใจไม่เคาะราคาต่อ ทำให้น้องเล็กในยุทธจักรมือถือ "ทรูมูฟ เอช" คว้าใบอนุญาตไปได้ในราคาสูงถึง 76,298 ล้านบาท และ "แจส โมบาย" ในราคา 75,654 ล้านบาท รวมแล้วมีรายได้เข้ารัฐ 151,952 ล้านบาท

พลิกธุรกิจปลุก ศก. 1 ล้านล้าน

"พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี" ประธาน กสทช. ย้ำว่าผลการประมูล ถือเป็นความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาตที่เป็นที่ยอมรับในสากล ซึ่งทั้งประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์จากการใช้คลื่นความถี่อย่างเต็มที่ โดยจากนี้จะเดินหน้าจัดสรรคลื่นใหม่เพิ่ม เนื่องจากตอนนี้มีคลื่นโทรคมนาคมที่ กสทช.นำออกมาประมูลแค่ 95 MHz และทั้งประเทศมีการใช้งานคลื่นด้านนี้ไม่ถึง 300 MHz น้อยกว่าต่างประเทศมาก

ขณะที่ "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า การประมูลครั้งนี้จะทำให้เกิดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท และจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท

ที่สำคัญที่สุดคือทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่าง "แจส โมบาย" ซึ่งทุกฝ่ายทั้ง กสทช. นักวิชาการ และผู้ประกอบการด้วยกันเองต่างชี้ว่านี่คือจุดเปลี่ยนของตลาดโทรศัพท์มือถือไทยที่จะพลิกโฉมอย่างสิ้นเชิงทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนคลื่นในมือของค่ายมือถือ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน โดย "กสทช." มองว่าจะเป็นแรงผลักสำคัญให้เกิดกลไกตลาดที่จะย้อนกลับมาคุ้มครองผู้บริโภคด้วย ต้องจับตากันต่อไปว่าจะเป็นกลไกที่ทำงานได้แค่ไหน

ยื่นหมูยื่นแมวแลกเปลี่ยนคลื่น

ด้วยรายได้จากการประมูลคลื่น 4G ที่ กสทช.ต้องส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมดอยู่ที่ 232,730 ล้านบาท นอกจากจะกลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงของ กสทช.แล้ว ส่วนหนึ่งยังช่วยลดแรงกดดันจากรัฐวิสาหกิจเจ้าของคลื่นสัมปทานเดิมอย่าง "ทีโอที-กสท โทรคมนาคม" ที่ต้องการยื้อคลื่นสัมปทานของตนเองไว้ให้นานที่สุด

แต่ด้วยนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ชัดเจนว่าต้องการให้เปิดประมูล ทำให้ฝ่ายบริหารรวมถึงบอร์ด 2 รัฐวิสาหกิจลดทีท่าที่แข็งกร้าว และยอมถอยที่จะไม่ยื่นฟ้องล้มประมูลอย่างที่เคยมีกระแสมาก่อนนี้ จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การที่บอร์ด กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) อนุมัติให้ "ทีโอที" อัพเกรดคลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz ตามแผนที่จะนำไปให้บริการบรอดแบนด์ได้ถึงปี 2568 และให้ "แคท" อัพเกรดคลื่น 1800 MHz ในส่วน Upper band 20 MHz ภายใต้สัมปทานดีแทคได้ โดยให้สิทธิ์ใช้งานได้ถึงปี 2561 (ยกเว้นจะมีหลักฐานใหม่ยืนยันสิทธิ์ให้แคทใช้งานได้ถึงปี 2568) เท่ากับเปิดทางถอยให้ทั้งสององค์กร

จึงมีเพียงแต่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้งคู่ยื่นฟ้องศาลปกครอง และขู่ว่าจะฟ้องฝ่ายบริหารของตนเองหากปล่อยให้ "กสทช." นำคลื่นไปประมูล แต่สุดท้ายศาลปกครองกลางก็ยกฟ้อง

ทีโอทีวิกฤต-แคท เฝ้าระวัง

การสิ้นสุดสัมปทานของ "เอไอเอส" ในเดือน ก.ย. 2558 ส่งผลสะเทือนถึงฐานะการเงินของ "ทีโอที" อย่างมาก เนื่องด้วยยังไม่สามารถหารายได้อื่นมาทดแทนได้ โดยเมื่อกลางปีที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้ทำรายงานวิเคราะห์ชี้ชัดว่า "ทีโอทีและแคท" อยู่ในภาวะที่ต้องเร่งพลิกฟื้นองค์กรโดยด่วน เริ่มจาก "ทีโอที" จัดอยู่ในกลุ่ม "วิกฤต" ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้บริหารระดับสูงได้ให้ข้อมูลว่า หากไม่เร่งพลิกฟื้นด้วยการหาพันธมิตรสร้างรายได้ใหม่ให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ ในไตรมาส 3 ปี 2559 อาจมีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน โดยเฉพาะกระแสเงินสด ขณะที่ "แคท" จัดอยู่ในกลุ่ม "เฝ้าระวัง"

เร่งปิดดีลกับเอกชน

เพื่อดิ้นรนให้อยู่รอด ในที่สุดเมื่อ พ.ย. 2558 บอร์ด "ทีโอที" จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการเบื้องต้นในการเลือก "เอไอเอส" เป็นพันธมิตรธุรกิจโมบาย หลังจากใช้เวลาสรรหาอยู่เป็นปี โดยตัดสินใจเดินตามโมเดลแบบ BFKT คือให้ "เอไอเอส" ลงทุนโครงข่าย 3G บนคลื่น 2100 MHz เพิ่มอีกกว่าหมื่นแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ทีโอทีเช่าอุปกรณ์ ก่อนที่เอไอเอสจะมาซื้อความจุโครงข่าย 80% ของความจุทั้งหมด ทำให้ทีโอทีมีรายได้ขั้นต่ำกว่า 3,500 ล้านบาท/ปี และยังจะมีรายได้จากการระงับข้อพิพาท ที่เอไอเอสจะคืนเสาโทรคมนาคมให้ทีโอทีนำออกเช่า ซึ่งก็จะมีรายได้ขั้นต่ำอีกกว่า 3,000 ล้านบาท/ปีซึ่งในเวลาต่อมา ดีลกับทีโอทีก็เป็นประโยชน์กับ "เอไอเอส" ด้วยเช่นกัน เมื่อพลาดประมูลคลื่น 900 MHz

ขณะที่ฝั่ง "แคท" เร่งยื่นโครงการขออนุมัติ ครม. ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ "ดีแทค" ในการใช้โครงข่ายร่วมกันเพื่อระงับข้อพิพาทจากสัมปทาน และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อใช้โมเดล BFKT ลงทุนอัพเกรดคลื่น 1800 MHz ส่วน Upper band จำนวน 20 MHz ด้วย แม้ว่า สตง. รวมถึง ป.ป.ช. ยังคงหยิบประเด็นการทำสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ ระหว่างแคทกับกลุ่มทรูฯ ขึ้นมาพิจารณาว่าทำให้รัฐเสียเปรียบเอกชนก็ตาม

"จอดำ-วิ่งรอกขึ้นศาล"

ด้าน "กสทช." ฝั่งบรอดแคสต์ ปี 2558 เป็นปีที่ต้องรับศึกหนักหน่วงอีกปี "สุภิญญา กลางณรงค์" กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่าถือเป็นปีที่หนักหนาที่สุด ทั้งเรื่องการเปลี่ยนผ่านการรับชมโทรทัศน์สู่ระบบดิจิทัล การออกอากาศคู่ขนานระหว่างทีวีแอนะล็อก และดิจิทัลบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยหลายเรื่องต้องทำงานและต้องสู้คดีในชั้นศาล รวมทั้งเรื่องการเรียงช่องที่เพิ่งผ่านไป

"การทำงานของ กสท.เองยังมีอุปสรรคต่าง ๆ ที่ต้องแก้ไข กรรมการ มีความเห็นที่ต่างกัน ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ในหลายเรื่อง อุปสรรคที่เจอต่อไปในปีหน้าคือในเรื่องของโครงข่ายที่ต้องทำอย่างไรให้เป็นไปตามแผนที่ 95% ในเรื่องของคูปองทีวีดิจิทัล ทำอย่างไรให้มีการแจกจ่ายครบทั่วถึงประชาชน รวมทั้งความเข้าใจของประชาชนเรื่องทีวีดิจิทัล แต่ปีหน้าที่สำคัญคือเรื่องการยุติแผนการออกอากาศทีวี

แอนะล็อกที่จะต้องยุติในปี 2561"สำหรับปมปัญหาแรกเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนดจ่ายเงินประมูลช่องทีวีดิจิทัลงวดที่ 2 เมื่อ 25 พ.ค. 2558 ซึ่งช่วงแรกผู้ประกอบการรวมตัวขอให้ กสทช.ผ่อนผัน เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีดิจิทัลล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน แต่สุดท้าย กสทช.ไม่เลื่อนให้ เนื่องจากทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และสำนักงานอัยการสูงสุด ตอบข้อหารือกลับมาว่า การเลื่อนการชำระเงินอาจจะทำให้รัฐเสียหาย

เมื่อครบกำหนดชำระเงินจึงมี 22 ช่องที่จ่ายรวม 8,404.422 ล้านบาท อีก 2 ช่อง ได้แก่ "ไทยทีวี" และ "โลก้า" ของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ที่มี "ติ๋ม-ทีวีพูล" นางพันธุ์ทิพา

ศกุณต์ไชย เป็นเจ้าของ ไม่ชำระงวดที่ 2 ราว 288 ล้านบาท และต้องยุติออกอากาศไปเมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา หลังมีการแถลงข่าวตอบโต้กันไปมา และได้ยื่นฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง แม้ที่ผ่านมาจะมีกระแสข่าวว่ากำลังเจรจากับกลุ่มทุนหลายราย แต่สุดท้ายก็ไม่มีความคืบหน้า



เปิดศึกเคเบิลทีวี-ทีวีดาวเทียม

อีกประเด็นที่ร้อนแรงคือ การบังคับใช้ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ หรือหลักเกณฑ์การเรียงช่องฉบับใหม่ ซึ่งมีผลตั้งแต่ 2 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่บังคับให้ทีวีทุกแพลตฟอร์มต้องเรียงเลขช่องทีวีดิจิทัลไว้ในลำดับที่ 1-36 เหมือนกันทั้งหมด หลังจากก่อนนี้กำหนดผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและดาวเทียมเรียงเลขช่อง 10 อันดับแรกได้ตามอิสระ

สุดท้ายบรรดาผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมได้ยื่นฟ้อง "กสทช." ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าว แต่ศาลปกครองมีคำสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณา ขณะนี้ทำให้มีเพียงทรูวิชั่นส์ที่ยังยืนยันจะไม่เรียงเลขช่องตามประกาศของ กสทช.

4 เดือน รมต.ไอซีทีใหม่

ด้านกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) การเปลี่ยนรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ทำให้แผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (DE) ต้องหยุดชะงักและมีการรื้อยกแผง แม้แต่ชื่อกระทรวงที่เดิมจะเปลี่ยนไปเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม

"อุตตม สาวนายน" เข้ามาเป็นเจ้ากระทรวงไอซีทีคนใหม่ ผ่านไป 4 เดือน มีผลงานสำคัญส่งท้ายปีสุด คือ การอนุมัติโครงการนำร่องขับเคลื่อน DE ของ ครม.ที่อนุมัติให้แปลงงบประมาณในการวางโครงข่าย WiFi ตามโครงการแจกแท็บเลตนักเรียน 3,755 ล้านบาท มาใช้ขับเคลื่อน 24 โครงการใหม่แทนโครงการรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจคนเก่า ทั้งบรอดแบนด์แห่งชาติ และดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ

เจ้ากระทรวงไอซีทีกล่าวว่า ปี 2558 เพิ่งรับตำแหน่งได้ 4 เดือน จึงมีงานที่ทำไม่ได้ดั่งใจเยอะ ทั้งปัญหาเก่าของทีโอทีกับแคท การวางแผนเรื่อง DE แต่ปี 2559 จะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะได้เห็นเป็นรูปธรรม เป็นก้าวแรกที่สำคัญ เพราะ ครม.ได้อนุมัติโครงการนำร่องแล้ว ขณะที่ร่างแผนแม่บท DE ก็เตรียมเข้า ครม. แล้ว

"ปัญหาเก่าของทีโอที กับแคท ต้องเดินหน้าแก้ต่อไป แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะปัญหามันยาวนานสะสมมา 20 ปีแล้ว ถ้าแก้ได้ง่าย ๆ รัฐบาลก่อนนี้คงทำสำเร็จไปแล้ว"

ส่วนร่างชุดกฎหมาย DE ทั้งหมดมีการนำมาทบทวนใหม่ คาดว่าจะนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ราว มี.ค.นี้



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1451542431

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.