Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 DTAC ระบุ จะเห็นสงคราม 4G ในปี 2016 ดีแทคจะทำทุกอย่างเรื่อง 4G โดยปัจจุบันดีแทค มีลูกค้าราว 2.2 ล้านเลขหมาย และในปีหน้าจะมีลูกค้าถึง 4.5 ล้านเลขหมาย ดีแทคจะลงทุนขยายการติดตั้งโครงข่าย และอุปกรณ์ที่รองรับ 4G มากขึ้น

ประเด็นหลัก




นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทคเปิดเผยหลังจากพลาดหวังการประมูล 4Gทั้ง 2 คลื่นความถี่ ว่าดีแทค มีคลื่นความถี่เพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคลื่นทั้ง 2 ความถี่ ไม่ใช่คลื่นของดีแทค จึงทำให้ดีแทคก่อนและหลังการประมูลดีแทคไม่ได้ศูนย์เสียคลื่นความถี่แต่มีความถี่เท่าเดิม และเงินที่ดีแทคนำไปประมูลสามารถนำมาลงทุนโครงข่ายให้ดีขึ้นโดยเป้าหมายดีแทคหลังจากนี้คือในเรื่องของ 1.โครงข่าย 2.พัฒนาแพ็กเกจ 3.การพัฒนาสังคมให้เป็นไปตามดิจิตอลอีโคนามี่ โดยจะเพิ่มความเร็วของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G ให้เป็นไฮสปีด ถึง 100 เมกะบิต (Mbps) ในเขต กทม.และเป็นไฮสปีด 4G ขยายการให้บริการในเขตหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ

“หลังจากนี้จะเห็นสงคราม 4G ในปี 2016 ดีแทคจะทำทุกอย่างเรื่อง 4G โดยปัจจุบันดีแทค มีลูกค้าราว 2.2 ล้านเลขหมาย และในปีหน้าจะมีลูกค้าถึง 4.5 ล้านเลขหมาย ดีแทคจะลงทุนขยายการติดตั้งโครงข่าย และอุปกรณ์ที่รองรับ 4G มากขึ้น ดีแทคเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือเทเลนอร์ ที่มีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยคาดว่าในปีหน้าจะลงทุนมากกว่าปีก่อนที่ลงทุนไปราว 20,000 ล้านบาท”

นายลาร์สกล่าวอีกว่าเทเลเนอร์ลงทุนในประเทศไทยมาเป็น 10 ปี และยังยืนยันที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไปถึงแม้จะหมดอายุสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz และคลื่นย่าน 850 MHz จำนวน 10 MHz ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2561 ขณะเดียวกันดีแทคได้หารือกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้สัญญาสัมปทานแก่ ดีแทค โดยเบื้องต้นได้หารือกันในเรื่องจะนำคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งาน ย่าน 1800 MHz ที่เหลืออยู่ 20 MHz มานำมาทำในรูปแบบขายต่อขายส่ง (โฮลเซลล์)



__________________________________________________________






นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทคเปิดเผยหลังจากพลาดหวังการประมูล 4Gทั้ง 2 คลื่นความถี่ ว่าดีแทค มีคลื่นความถี่เพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าคลื่นทั้ง 2 ความถี่ ไม่ใช่คลื่นของดีแทค จึงทำให้ดีแทคก่อนและหลังการประมูลดีแทคไม่ได้ศูนย์เสียคลื่นความถี่แต่มีความถี่เท่าเดิม และเงินที่ดีแทคนำไปประมูลสามารถนำมาลงทุนโครงข่ายให้ดีขึ้นโดยเป้าหมายดีแทคหลังจากนี้คือในเรื่องของ 1.โครงข่าย 2.พัฒนาแพ็กเกจ 3.การพัฒนาสังคมให้เป็นไปตามดิจิตอลอีโคนามี่ โดยจะเพิ่มความเร็วของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G ให้เป็นไฮสปีด ถึง 100 เมกะบิต (Mbps) ในเขต กทม.และเป็นไฮสปีด 4G ขยายการให้บริการในเขตหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ

“หลังจากนี้จะเห็นสงคราม 4G ในปี 2016 ดีแทคจะทำทุกอย่างเรื่อง 4G โดยปัจจุบันดีแทค มีลูกค้าราว 2.2 ล้านเลขหมาย และในปีหน้าจะมีลูกค้าถึง 4.5 ล้านเลขหมาย ดีแทคจะลงทุนขยายการติดตั้งโครงข่าย และอุปกรณ์ที่รองรับ 4G มากขึ้น ดีแทคเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือเทเลนอร์ ที่มีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยคาดว่าในปีหน้าจะลงทุนมากกว่าปีก่อนที่ลงทุนไปราว 20,000 ล้านบาท”

นายลาร์สกล่าวอีกว่าเทเลเนอร์ลงทุนในประเทศไทยมาเป็น 10 ปี และยังยืนยันที่จะลงทุนในประเทศไทยต่อไปถึงแม้จะหมดอายุสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz และคลื่นย่าน 850 MHz จำนวน 10 MHz ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2561 ขณะเดียวกันดีแทคได้หารือกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้สัญญาสัมปทานแก่ ดีแทค โดยเบื้องต้นได้หารือกันในเรื่องจะนำคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้งาน ย่าน 1800 MHz ที่เหลืออยู่ 20 MHz มานำมาทำในรูปแบบขายต่อขายส่ง (โฮลเซลล์)

ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอสภายในไตรมาส 1 ปีหน้า เอไอเอสจะสามารถนำคลื่น 3จี ย่าน 2100 MHz มาที่บรรลุการทำสัญญากับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 15 MHz ในสัญญา 10 ปีได้อย่างทางการ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอทีได้ผ่านการอนุมัติไปแล้ว รอเพียงขั้นตอนทางเอกสารเท่านั้น

ดังนั้น ในปีหน้า เอไอเอส จะมีคลื่นความถี่รวม 45 MHz แบ่งเป็นคลื่น 2100 MHz ที่เอไอเอสประมูลได้เมื่อปี 2555 จำนวน 15 MHz คลื่น 1800 MHz ที่ประมูลได้จำนวน 15 MHz เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา และคลื่น 2100 ที่ร่วมกับทีโอที สถานีฐานมากกว่า 25,000 แห่ง และสถานีฐานเดิมที่เอไอเอสส่งมอบให้ ทีโอที ภายใต้สัญญาสัมปทานจำนวน 13,500 แห่ง ก็จะทำให้เอไอเอสยังคงเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคมต่อไป ทั้งในแง่ส่วนแบ่งรายได้ 52% และจำนวนลูกค้า 40%

“การตัดสินใจไม่เคาะราคาสู้ในการประมูลคลื่น 900 MHz เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า มูลค่าดังกล่าวเป็นราคาที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจและไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นดังนั้น เมื่อเอไอเอสไม่ได้คลื่นความถี่มา และไม่ต้องเสียเงินค่าใบอนุญาต 75,000 ล้านบาท ทำให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่าปีนี้จะได้ปันผล 100% ตามเดิม”

http://www.naewna.com/business/194295

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.