Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มกราคม 2559 กสทช. ขอ MCOT ประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHz โดยวงคลื่นความถี่ของ อสมท ทั้งหมด 120 MHz อาจเจรจาขอมาประมูลเพียง 60 MHz

ประเด็นหลัก


นอกจากนี้ กสทช.ยังต้องหารือกับ บมจ.อสมท เพิ่มในการนำคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ครอบครองอยู่ในปัจจุบันนำออกมาประมูลด้วย หากมีความคืบหน้าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายในปี 2559 ยอมรับว่าอาจต้องเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)แก้ไขข้อกำหนดเพิ่มด้วยการจัดสรรเงินบางส่วนส่งให้กับ อสมท เจ้าของคลื่นความถี่ เพราะเป็นบริษัทมหาชน และช่วงคลื่นความถี่ของ อสมท ทั้งหมด 120 MHz อาจเจรจาขอมาประมูลเพียง 60 MHz เพื่อให้ อสมท นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น และหารายได้ในการบริหารกิจการของ อสมท

มีรายงานแจ้งว่า ในสมัยที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านเศรษฐกิจ เคยรับปากกับ กสทช.ว่าจะไปเรียกคืนคลื่นความถี่มาให้ แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนครม.เสียก่อน






__________________________________________________________






กสทช.ลุ้นได้คลื่น‘อสมท’คืน

l ‘ฐากร’เล็งนำมาจัดสรรใหม่

l ชี้ปีหน้ามือถือแข่งเดือดแน่

“ฐากร” ชี้ตลาดมือถือรุนแรงมากขึ้น หลัง “แจส โมบาย” มาเข้าร่วมชิงตลาดจากรายเดิม ลุ้นได้คลื่น 2600 คืนจาก อสมท อีก 60 MHz เล็งคุมเข้มบริการชำระเงินผ่านมือถือ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังจาก บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เข้ามาเป็นผู้บริการค่ายมือถือรายใหม่เพิ่มจากรายเดิม (เอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ) ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการอย่างหลากหลายในอนาคต เพราะมือถือกลายเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน

“หลังจาก กสทช.ประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา และจะเปิดให้บริการในช่วงต้นเดือนมกราคม 2559 และคลื่น 900 MHz จะเปิดให้บริการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 การแข่งขันจึงมีความรุนแรงมากขึ้น”

นายฐากร กล่าวอีกว่า ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายการใช้เงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) จากนี้ไปจะเห็นภาพการให้บริการผ่านมือถือ หรือ Mobile-Payment เช่น การให้ลูกค้าเติมเงินเข้าไปในระบบซิมการ์ดจำนวนหนึ่ง เช่น 5,000-10,000 บาท เพื่อให้บริการอินเตอร์เนตฟรี จากนั้นสามารถนำเงินในมือถือไปซื้อสินค้าผ่านห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการในการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องใช้เงินสด นับเป็นการระดมทุนอีกรูปแบบหนึ่งของผู้ให้บริการค่ายมือถือ ซึ่งเป็นการพัฒนารูปแบบทางการเงินอีกด้านหนึ่ง แนวทางดังกล่าวเริ่มใช้แล้วหลายประเทศในยุโรป

ดังนั้น กสทช. จึงเตรียมหารือกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจาก ธปท.เป็นผู้ดูแลควบคุมการใช้บริการทางการเงิน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ดูแลด้านราคาสินค้า ส่วน กสทช.ควบคุมดูแลบริการด้านมือถือ จึงต้องวางข้อกำหนดร่วมกันในการดูแลผู้บริโภค เพราะต่อไปประชาชนสามารถใช้การเติมเงินในซิมการ์ดไปใช้บริการจ่ายค่าโดยสาร ค่าบริการ หรือซื้อสินค้า จึงต้องควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนผู้ใช้เงินผ่านระบบมือถือ ซึ่งจะพัฒนาเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ กสทช.ยังต้องหารือกับ บมจ.อสมท เพิ่มในการนำคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ครอบครองอยู่ในปัจจุบันนำออกมาประมูลด้วย หากมีความคืบหน้าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายในปี 2559 ยอมรับว่าอาจต้องเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)แก้ไขข้อกำหนดเพิ่มด้วยการจัดสรรเงินบางส่วนส่งให้กับ อสมท เจ้าของคลื่นความถี่ เพราะเป็นบริษัทมหาชน และช่วงคลื่นความถี่ของ อสมท ทั้งหมด 120 MHz อาจเจรจาขอมาประมูลเพียง 60 MHz เพื่อให้ อสมท นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น และหารายได้ในการบริหารกิจการของ อสมท

มีรายงานแจ้งว่า ในสมัยที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้านเศรษฐกิจ เคยรับปากกับ กสทช.ว่าจะไปเรียกคืนคลื่นความถี่มาให้ แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนครม.เสียก่อน



ส่วนคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เคยให้ กสทช. กสทช.กลับไปดูว่ามีคลื่นไหนที่จะนำมาประมูลได้เพิ่มเติมบ้าง ซึ่ง กสทช.สามารถนำคลื่นตั้งแต่ 900 MHz-2600 MHz มาจัดประมูลได้ทั้งหมดตามความเหมาะสมด้วย


http://www.naewna.com/business/193943

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.