Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มกราคม 2559 CAT ขอ TRUE การเจรจากับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือทรูฯ เพื่อขอให้ปรับปรุงเทคโนโลยี 3G บนคลื่นย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เป็นเทคโนโลยี 4G // แต่การโรมมิ่ง เจรจาเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลง CAT กับ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล มาโดยตลอดโดยการเจรจาสัญญาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ

ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทฯ  เปิดเผยถึงผลการเจรจา ระหว่าง กสทฯ กับ กลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับเรื่องสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบHSPA กับ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งสัญญาดังกล่าวได้ทำไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 และเปิดให้บริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA แก่ เรียลมูฟ ตั้งแต่ วันที่ 28 กรกฏาคม 2558 เป็นต้นมา และยังมีเงินที่ยังคงค้างไม่ชำระอีกราว 12,199 ล้านบาท

ขณะเดียวกันกลุ่มทรูฯ ยังค้างชำระ การให้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ (Domestic บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นจำกัด ซึ่ง บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ได้เสนอขอใช้บริการโรมมิ่ง  บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G (HSPA) ของ กสทฯ เพื่อรองรับผู้ใช้บริการจำนวน 3 ล้านเลขหมาย โดย กสทฯ ได้ตอบตกลงให้ ทรู มูฟ เอชฯ เพื่อให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นมา  โดยเงื่อนไขในการใช้บริการและอัตราค่าใช้บริการโรมมิ่ง มีการคิดคำนวณค่าบริการเป็นนาที ในการให้บริการเสียง (วอยซ์) หน่วยเป็น เมกะไบต์ (MB) สำหรับบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) เมื่อมีอุปกรณ์สถานีฐานจำนวน 13,500 แห่ง เป็นเกณฑ์ แทนการใช้จำนวนผู้ให้บริการ 3 ล้านราย

ทั้งนี้ กสทฯ ได้เจรจาเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล มาโดยตลอดโดยการเจรจาสัญญาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจาก การคิดคำนวณปริมาณการใช้งานบริการด้านวอยซ์ และดาต้า  ของผู้ใช้บริการ 1 ราย สามารถใช้บริการโรมมิ่งด้านวอยซ์ เฉลี่ย 600 นาทีต่อเดือน และบริการดาต้า เฉลี่ย 2 กิกะไบต์ (Gigabyte) ต่อเดือน ในขณะที่ กสทฯ เสนอจำนวน ผู้ใช้บริการ 1 ราย สามารถใช้วอยซ์ได้เฉลี่ย 210 นาทีต่อเดือน และดาด้า เฉลี่ย 370 MB ต่อเดือน ซึ่งขณะนี้บริษัท ทรูฯ ยังไม่ได้ชำระค่าบริการโรมมิ่งแต่อย่างใด

นอกจากนี้ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังได้ขอใช้บริการโรมมิ่ง บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ตั้งแต่เดือน เมษายน 2554 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ที่ยังมีพื้นที่บริการไม่มาก โดยหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยบริษัท ทรูมูฟ ยังเป็นผู้ให้บริการตามประกาศ  กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการหลังสิ้นสุดสัมปทาน โดยที่ กสทฯ ยังเป็นเจ้าของโครงข่าย 2G และเป็นผู้ให้บริการโรมมิ่ง และขณะนี้ บริษัท เรียล มูฟ ยังไม่ได้ชำระค่าบริการโรมมิ่งเช่นกัน

ซึ่งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการทางธุรกิจ และการแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาสัมปทาน บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัทพันธมิตรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าการเจรจากับกลุ่ม บริษัท ทรูฯ ยังมีหลายประเด็นที่ยังอยู่ระหว่างการเจราจา และคาดว่าจะไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในระยะเวลาอันนั้น

พันเอก สรรพชัย กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ เปิดเผยว่า การเจรจากับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือทรูฯ เพื่อขอให้ปรับปรุงเทคโนโลยี 3G บนคลื่นย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เป็นเทคโนโลยี 4G ซึ่งขณะนี้ทรูฯ ยังไม่ได้ขออย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่า จะสามารถเจรจาได้ลุล่วงภายในไตรมาสที่ 1ของปี 2559 โดยทันทีที่การเจรจาของทรูฯ ได้ข้อสรุป กสทฯ ก็จะเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นควาถี่ย่านดังกล่าว ที่บริษัทเอกชนทำการปรับปรุงคลื่นให้ก่อนตามที่ได้มีการตกลงกันในเงื่อนไขสัญญา คาด กสท สามารถเปิดให้บริการ 4จี ได้ภายในไตรมาส2 ของปี 2559 โดยการให้บริการ 4จี ของ กสท จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การทำเอ็มวีเอ็นโอ และการให้บริการ 4 จี ภายใต้แบรนด์ "มาย" ที่เป็นของ กสทฯ

"การขออัพเกรด 4G ของกลุ่มทรูฯ ได้พูดมาตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่เป็นการพูดกันในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และยังไม่ได้มีการส่งหนังสือขออัพเกรดมาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด ซึ่ง กสทฯ ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ เนื่องจากยังไม่ทราบความชัดเจนจากทรูฯ" พันเอก สรรพชัย กล่าว







_________________________________________________





15 ม.ค.59 แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ที่ชนะการประมูล 4G บนคลื่นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)  ที่ชนะใบอนุญาตชุดที่สอง ราคา 76,298 ล้านบาท โดยได้เสนอขอหนังสือค้ำประกันทางการเงินจากสถาบันการเงินหลายที่ ซึ่งแต่ละแบงก์ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาทั้งสิ้น

ทั้งนี้ กลุ่มทรูฯ จะต้อง ชำระเงิน ชำระ 4 งวด งวดแรก ชำระ 8,040 ล้านบาท ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล งวดที่สอง ชำระ 4,020 ล้านบาท ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่ได้รับใบอนุญาต งวดที่สาม ชำระ 4,020 ล้านบาท ภายใน 15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่สี่ ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 4 ปี นับแต่ได้รับใบอนุญาต และต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40 % ภายใน 4 ปี และ 80 % ภายใน 8 ปี

แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ กลุ่มทรูฯ มีข้อพิพาทที่ยังค้างชำระกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในการทำสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA ของ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปและยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคมและการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน

นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ ผู้ที่ชนะการประมูล 4G คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz  ทั้ง 2 บริษัท คือ แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในเครือ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS  ชนะใบอนุญาตชุดที่ 1 ราคา 75,654 ล้านบาท และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือ ทรูฯ  ชนะใบอนุญาตชุดที่สอง ราคา 76,298 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีผู้ที่ชนะการประมูลรายใดเข้ามาชำระเงินประมูลในงวดแรก แต่ กสทช.ยังมีกำหนดระยะเวลานับจากรับรองผล ภายใน 90 วัน ซึ่งได้ผ่านพ้นไปแล้วกว่า 25 วัน และยังเหลือเวลาอีก 75 วัน

"เรายังมองโลกในแง่ดีกว่ายังเหลือเวลาอีกเยอะที่ ผู้ชนะการประมูลมีเวลามาชำระเงินประมูลงวดแรก ซึ่งหากภายใน 90 วันยังไม่มีผู้มาชำระเงินดังกล่าว กสทช.ยังไม่มีมาตรการใดที่จะมารองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีผู้มาชำระ ซึ่งจะต้องนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กทค. เพื่อพิจารณา และจะต้องมาหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากยังไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีผู้มาชำระเงิน โดยแนวทางเบื้องต้น สิ่งแรกจะต้องยึดเงินประกันจำนวน 5% ของราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 13,000 ล้านบาท หรือราว 600 ล้านบาท และผู้ชนะการประมูลจะไม่สามารถเข้าร่วมประมูลในคลี่นความถี่อื่นๆ ได้ 2.แนวทางเลือกต่อไปอาจจะต้องให้ใบอนุญาตแก่ผู้ชนะรายถัดไป ซึ่งก็เป็นความเสี่ยงที่ผู้ชนะรายถัดไปอาจจะไม่รับก็เป็นได้ เนื่องจากมีราคาที่สูงเกินไปที่บริษัทรับได้ และอีกแนวทางหนึ่ง คือประมูลใหม่ ซึ่งการประมูลใหม่อาจจะไม่ได้ราคาประมูลในครั้งแรก" นายแพทย์ ประวิทย์ กล่าว

แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทฯ  เปิดเผยถึงผลการเจรจา ระหว่าง กสทฯ กับ กลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับเรื่องสัญญาบริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบHSPA กับ บริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งสัญญาดังกล่าวได้ทำไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 และเปิดให้บริการขายส่งบริการบนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ HSPA แก่ เรียลมูฟ ตั้งแต่ วันที่ 28 กรกฏาคม 2558 เป็นต้นมา และยังมีเงินที่ยังคงค้างไม่ชำระอีกราว 12,199 ล้านบาท

ขณะเดียวกันกลุ่มทรูฯ ยังค้างชำระ การให้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ (Domestic บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่นจำกัด ซึ่ง บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล ได้เสนอขอใช้บริการโรมมิ่ง  บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G (HSPA) ของ กสทฯ เพื่อรองรับผู้ใช้บริการจำนวน 3 ล้านเลขหมาย โดย กสทฯ ได้ตอบตกลงให้ ทรู มูฟ เอชฯ เพื่อให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2556 เป็นต้นมา  โดยเงื่อนไขในการใช้บริการและอัตราค่าใช้บริการโรมมิ่ง มีการคิดคำนวณค่าบริการเป็นนาที ในการให้บริการเสียง (วอยซ์) หน่วยเป็น เมกะไบต์ (MB) สำหรับบริการด้านสื่อสารข้อมูล (ดาต้า) เมื่อมีอุปกรณ์สถานีฐานจำนวน 13,500 แห่ง เป็นเกณฑ์ แทนการใช้จำนวนผู้ให้บริการ 3 ล้านราย

ทั้งนี้ กสทฯ ได้เจรจาเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลงกับ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล มาโดยตลอดโดยการเจรจาสัญญาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจาก การคิดคำนวณปริมาณการใช้งานบริการด้านวอยซ์ และดาต้า  ของผู้ใช้บริการ 1 ราย สามารถใช้บริการโรมมิ่งด้านวอยซ์ เฉลี่ย 600 นาทีต่อเดือน และบริการดาต้า เฉลี่ย 2 กิกะไบต์ (Gigabyte) ต่อเดือน ในขณะที่ กสทฯ เสนอจำนวน ผู้ใช้บริการ 1 ราย สามารถใช้วอยซ์ได้เฉลี่ย 210 นาทีต่อเดือน และดาด้า เฉลี่ย 370 MB ต่อเดือน ซึ่งขณะนี้บริษัท ทรูฯ ยังไม่ได้ชำระค่าบริการโรมมิ่งแต่อย่างใด

นอกจากนี้ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังได้ขอใช้บริการโรมมิ่ง บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ตั้งแต่เดือน เมษายน 2554 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ที่ยังมีพื้นที่บริการไม่มาก โดยหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยบริษัท ทรูมูฟ ยังเป็นผู้ให้บริการตามประกาศ  กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการหลังสิ้นสุดสัมปทาน โดยที่ กสทฯ ยังเป็นเจ้าของโครงข่าย 2G และเป็นผู้ให้บริการโรมมิ่ง และขณะนี้ บริษัท เรียล มูฟ ยังไม่ได้ชำระค่าบริการโรมมิ่งเช่นกัน

ซึ่งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการทางธุรกิจ และการแก้ไขข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาสัมปทาน บริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัทพันธมิตรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าการเจรจากับกลุ่ม บริษัท ทรูฯ ยังมีหลายประเด็นที่ยังอยู่ระหว่างการเจราจา และคาดว่าจะไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในระยะเวลาอันนั้น

พันเอก สรรพชัย กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ เปิดเผยว่า การเจรจากับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือทรูฯ เพื่อขอให้ปรับปรุงเทคโนโลยี 3G บนคลื่นย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เป็นเทคโนโลยี 4G ซึ่งขณะนี้ทรูฯ ยังไม่ได้ขออย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่า จะสามารถเจรจาได้ลุล่วงภายในไตรมาสที่ 1ของปี 2559 โดยทันทีที่การเจรจาของทรูฯ ได้ข้อสรุป กสทฯ ก็จะเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นควาถี่ย่านดังกล่าว ที่บริษัทเอกชนทำการปรับปรุงคลื่นให้ก่อนตามที่ได้มีการตกลงกันในเงื่อนไขสัญญา คาด กสท สามารถเปิดให้บริการ 4จี ได้ภายในไตรมาส2 ของปี 2559 โดยการให้บริการ 4จี ของ กสท จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การทำเอ็มวีเอ็นโอ และการให้บริการ 4 จี ภายใต้แบรนด์ "มาย" ที่เป็นของ กสทฯ

"การขออัพเกรด 4G ของกลุ่มทรูฯ ได้พูดมาตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่เป็นการพูดกันในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และยังไม่ได้มีการส่งหนังสือขออัพเกรดมาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด ซึ่ง กสทฯ ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ เนื่องจากยังไม่ทราบความชัดเจนจากทรูฯ" พันเอก สรรพชัย กล่าว


http://www.naewna.com/business/197601

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.