Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มกราคม 2559 MCOT ดำเนินการแก้ไขสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ที่ทำไว้กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ดลองทดสอบ LTE ซึ่งการทดลองทดสอบไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นการทดลองให้บริการ MMDS

ประเด็นหลัก



และมีมติให้ บริษัท อสทม จำกัด (มหาชน) ไปดำเนินการแก้ไขสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ที่ทำไว้กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด เนื่องจากสัญญาดังกล่างคณะอนุกรรมการพิจารณาว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ อสมท ปล่อยให้เพลย์เวิร์คไปให้บริการโทรทัศน์บนเทคโนโลยีแบบบรอดแบนด์ไร้สาย (BWA) จึงเป็นการให้บริการโทรทัศน์ประเภทอื่นแทนที่จะให้บริการบนระบบ MMDS เท่านั้น กสทช.จึงสั่งการให้ อสมท ไปดำเนินการแก้ไขการใช้งานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในทันที ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

ทั้งนี้ สัญญาระหว่าง อสมท กับ เพลย์เวิร์ค เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นการทดลองทดสอบ LTE ซึ่งการทดลองทดสอบไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นการทดลองให้บริการ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA หรือการใช้เทคโนโลยี LTE หรือ 4G ในกิจการโทรคมนาคมมาให้บริการรับชมโทรทัศน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากคลื่น 2500 - 2690 MHz ตามตารางคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้เป็นคลื่นที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม จึงไม่สามารถอนุญาตให้ได้เพราะไม่ใช่คลื่นในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์






_________________________________________________




ดันประมูลคลื่น 2600 MHz ปี 2560

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี (ซ้าย) และ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ขวา)

        “พล.อ.อ.ประจิน” ดันคลื่น 2600 MHz ของ อสมท ประมูลปี 2560 ย้ำคลื่นยังมีความต้องการหากประเทศไทยจะก้าวไปสู่ผู้ให้บริการ 4G หรือ 5G ต้องมีคลื่น 690 MHz ส่วนเรื่องค่าเยียวยาต้องรอ พ.ร.บ.กสทช.ใหม่คลอด คาดใช้เวลา 6-7 เดือน ขณะที่ อสมท ยินดีคืนคลื่นหลัง กสทช.อนุมัติปรับปรุงคลื่นเพื่อทำธุรกิจทีวีแบบบอกรับสมาชิก ลั่น อสมท ต้องได้เงินก้อนแรกก่อน พร้อมต้องมีบริษัทกลางคิดสัดส่วนเงินเยียวยาจากค่าประมูลอย่างเป็นธรรม แต่อุบจำนวนคลื่นที่คืน
     
       เมื่อเวลา 14.00 น. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และนายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือถึงแนวทางในการขอคืนคลื่นย่าน 2600 MHz จาก อสมท เพื่อนำมาประมูลภายในปี 2560
     
       พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า การหารือร่วมกันระหว่าง กสทช.และ อสมท เพื่อหาแนวทางในการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล จึงได้เชิญ พล.อ.อ.ประจิน เข้ามาหารือเพื่อนำข้อมูลไปเสนอคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอีชั่วคราว) ติดตามเรื่องต่อไป
     
       ด้าน พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า เมื่อปี 2558 ทางซูเปอร์บอร์ดมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วถึง 2 ครั้ง คือ เดือน มี.ค. และ เดือน พ.ค.ซึ่งอดีตรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้เจรจาขอคลื่นคืนจาก อสทม เรียบร้อย และ อสมท เองก็ยินดีคืนคลื่นเพื่อนำมาประมูล ประกอบกับ กสทช.เองก็มีการรายงานมาว่ายังมีความต้องการคลื่นอยู่ แต่ยังติดอยู่ที่อำนาจการเยียวยาของ กสทช. ว่า ต้องรอให้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ. กสทช.) ฉบับใหม่แก้ไขให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน ทำให้คาดว่าจะสามารถนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลได้ในปี 2560 ดังนั้น ในการเจรจาครั้งนี้ต้องให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที นำข้อมูลเพื่อเสนอต่อบอร์ดดีอีชั่วคราวดำเนินการต่อไป

ดันประมูลคลื่น 2600 MHz ปี 2560
นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

        ทั้งนี้ จากการสอบถามข้อมูลจาก กสทช.พบว่า หากประเทศไทยจะก้าวไปสู่การให้บริการ 4G หรือ 5G นั้น ประเทศไทยต้องมีคลื่นความถี่ จำนวน 690 MHz แต่ปัจจุบันไทยยังมีคลื่นในการให้บริการเพียง 250 MHz ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการนำคลื่นมาจัดสรรเพื่อให้บริการ
     
       ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช.ยังติดอยู่คือ การแก้ไขกฎหมาย กสทช.ใหม่ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค.2559 ส่วนระยะเวลาในการนำมาประมูลนั้นคาดว่าจะสามารถประมูลได้ภายในปี 2560 การที่ไม่สามารถประมูลได้ภายในปีนี้ เนื่องจากเงินประมูลคลื่น 900 MHz นั้น ผู้ชนะการประมูลก็ยังไม่ได้นำมาชำระ รวมถึงกระบวนการในการเตรียมการประมูลต่างๆ ก็ต้องใช้เวลา
     
       อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือน ก.ย.2558 กสทช.ได้อนุมัติให้ อสมท ปรับปรุงคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกซึ่งต้องใช้ คลื่นในย่านเดียวกันจาก Multichannel Multipoint Distribution Service (MMDS) เป็นเทคโนโลยี Broadcast over LTE เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ร่วมกับคู่สัญญา คือ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ได้ โดยสัญญาดังกล่าวจะมีอายุ 15 ปี นับจากวันที่เปิดให้บริการ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนำเข้าอุปกรณ์
     
       ด้าน นายศิวะพร กล่าวว่า สำหรับเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าเยียวยานั้น อสมท ต้องได้ค่าเยียวยาก่อนจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ต้องได้ส่วนแบ่งเป็นสัดส่วนจากรายได้จากการประมูลคลื่น 2600 MHz ด้วย โดยต้องมีบริษัทกลางในการประเมินค่าเยียวยาที่เป็นธรรม โดย อสมท ยินดีที่จะร่วมมือนำคลื่นบางส่วนมาใช้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ส่วนจะคืนให้จำนวนเท่าไหร่นั้นต้องรอสอบถามกับคู่สัญญาก่อนว่าจะใช้คลื่นจำนวนเท่าไหร่ และย่านความถี่ไหนบ้างในการประกอบกิจการจากคลื่นที่มีอยู่ทั้งหมด 144 MHz


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004332&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+14-1-59&utm_campaign=20160113_m129268157_MGR+Morning+Brief+14-1-59&utm_term=_E0_B8_94_E0_B8_B1_E0_B8_99_E0_B8_9B_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_A1_E0_B8_B9_E0_B8_A5_E0_B8_84_E0_B8_A5_


________________________________________________


13 ม.ค.59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (12 ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าพบหารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช.และนายศิวพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือถึงแนวทางในการขอคืนคลื่นย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) จาก อสมท ก่อนกำหนดเวลา และนำไปประมูลในปี 2560

โดย พล.อ.อ.ธเรศ กล่าวว่า การหารือร่วมกันระหว่าง กสทช.และ อสมท เพื่อหาแนวทางในการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล จึงได้เชิญ พล.อ.อ.ประจิน เข้ามาหารือ เพื่อนำข้อมูลไปเสนอคณะกรรมการเตรียมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ดดีอีชั่วคราว) ติดตามเรื่องต่อไป

ด้าน พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า เมื่อปี 2558 ทางซุปเปอร์บอร์ดมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วถึง 2 ครั้ง คือเดือน มี.ค.และ พ.ค.ซึ่งอดีตรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ได้เจรจาขอคลื่นคืนจาก อสมท เรียบร้อย และ อสมท เอง ก็ยินดีคืนคลื่นเพื่อนำมาประมูล ประกอบกับ กสทช.เองก็มีการรายงานมาว่ายังมีความต้องการคลื่นอยู่ แต่ยังติดอยู่ที่อำนาจการเยียวยาของ กสทช.ว่าต้องรอให้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ.กสทช.) ฉบับใหม่แก้ไขให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 - 7 เดือน คาดว่าจะสามารถนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลได้ในปี 2560 ดังนั้น ในการเจรจาครั้งนี้ต้องให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) นำข้อมูลเพื่อเสนอต่อบอร์ดดีอีชั่วคราวดำเนินการต่อไป

"ในอนาคตจะมีปริมาณการใช้งานคลื่นความถี่เพิ่มมากขึ้นในระบบ 4G และ 5G ซึ่งจะต้องมีคลื่นความถี่ที่รองรับการใช้งานได้ถึง 690 MHz ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนคลื่นความถี่ที่ใช้งานทั้งหมด 250 MHz เพราะฉนั้นยังมีความต้องการการใช้งานคลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการคืนคลื่นดังกล่าวมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

ขณะที่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช.ยังติดอยู่คือ การแก้ไขกฎหมาย กสทช.ใหม่ หรือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จประมาณเดือน มิ.ย. - ก.ค.2559 ส่วนระยะเวลาในการนำมาประมูลนั้นคาดว่าจะสามารถประมูลได้ภายในปี 2560 ไม่สามารถประมูลได้ภายในปีนี้ เนื่องจากเงินประมูลคลื่น 900 MHz ผู้ชนะการประมูลก็ยังไม่ได้นำมาชำระ รวมถึงกระบวนการในการเตรียมการประมูลต่างๆ ก็ต้องใช้เวลา

ขณะเดียวกัน กสทช.ได้อนุญาตให้ อสมท ปรับปรุงคลื่นความถี่ในการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลี่นความถี่ Multichannel Multipoint Distribution Service (MMDS) เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย Broadcast over LTE (BWA) เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ร่วมกับคู่สัญญา คือ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัดได้ โดยสัญญาดังกล่าวจะมีอายุ 15 ปี ซึ่งที่ผ่านมายังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องนำเข้าอุปกรณ์

นายศิวะพร กล่าวว่า สำหรับเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าเหยียวยานั้น อสมท ต้องหาบริษัทกลางในการประเมินค่าเยียวยาจากสัดส่วนรายได้เงินที่ประมูล โดย อสมท ยินดีที่จะร่วมมือนำคลื่นบางส่วนมาใช้เพื่อประโยชน์ของส่วนจะคืนให้จำนวนเท่าไหร่นั้นต้องรอสอบถามกับคู่สัญญาก่อน

นายฐากร กล่าวต่อว่า ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดย อสมท ยินดีคืนคลื่นมาให้ กสทช.นำไปประมูล การหารือกับ อสมท เป็นไปด้วยดี คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ อย่างไรก็ดี คงต้องรอร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ก่อน จึงจะมีความชัดเจนในการเยียว อสมท เบื้องต้นคาดว่าการประมูลจะพร้อมดำเนินการได้ในปี 2560 ทั้งนี้ เพื่อสอดคล้องกับเอกชนที่จะเข้าร่วมประมูลจะมีความพร้อมในการเข้าร่วม เนื่องจากเพิ่งมีการประมูลคลื่นความถี่เกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้สัญญาดังกล่าว ที่ประชุม กสทช.มีมติรับรองสัญญาระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และบริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด เดินหน้าโครงการโทรทัศน์บอกรับสมาชิกที่ให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีซูเปอร์บรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง หลังจากที่ได้พิจารณารับรองรายละเอียดในสัญญาที่ อสมท ได้ลงนามความร่วมมือกับ เพลย์เวิร์คฯ โดยมีอายุสัญญานาน 15 ปีที่

และมีมติให้ บริษัท อสทม จำกัด (มหาชน) ไปดำเนินการแก้ไขสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ที่ทำไว้กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด เนื่องจากสัญญาดังกล่างคณะอนุกรรมการพิจารณาว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ อสมท ปล่อยให้เพลย์เวิร์คไปให้บริการโทรทัศน์บนเทคโนโลยีแบบบรอดแบนด์ไร้สาย (BWA) จึงเป็นการให้บริการโทรทัศน์ประเภทอื่นแทนที่จะให้บริการบนระบบ MMDS เท่านั้น กสทช.จึงสั่งการให้ อสมท ไปดำเนินการแก้ไขการใช้งานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในทันที ตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

ทั้งนี้ สัญญาระหว่าง อสมท กับ เพลย์เวิร์ค เริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสัญญาดังกล่าวนั้นเป็นการทดลองทดสอบ LTE ซึ่งการทดลองทดสอบไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นการทดลองให้บริการ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA หรือการใช้เทคโนโลยี LTE หรือ 4G ในกิจการโทรคมนาคมมาให้บริการรับชมโทรทัศน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากคลื่น 2500 - 2690 MHz ตามตารางคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้เป็นคลื่นที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคม จึงไม่สามารถอนุญาตให้ได้เพราะไม่ใช่คลื่นในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์



http://www.naewna.com/business/197358

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.