Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 โศรดา ศรประสิทธิ์ เสริมว่า การเชื่อมต่อของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะทำผ่านช่องทางโมบายมากถึง 66% ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็ว และในไม่ช้าจะไปไกลกว่าการเข้าผ่านคอมพิวเตอร์มาก การออกแบบเว็บจึงต้องอิงไปที่การใช้ผ่านสมาร์ทดีไวซ์หรือเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแนวคิดเป็นโมบายเวอร์ชัวไลเซชั่น

ประเด็นหลัก



"โศรดา ศรประสิทธิ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน จำกัด ดิจิทัลเอเจนซี่ เสริมว่า การเชื่อมต่อของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะทำผ่านช่องทางโมบายมากถึง 66% ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็ว และในไม่ช้าจะไปไกลกว่าการเข้าผ่านคอมพิวเตอร์มาก การออกแบบเว็บจึงต้องอิงไปที่การใช้ผ่านสมาร์ทดีไวซ์หรือเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแนวคิดเป็นโมบายเวอร์ชัวไลเซชั่น

"ในมุมดิจิทัลเอเจนซี่ เว็บไซต์เกิดขึ้นทุกวัน ถ้าใครตอบโจทย์การใช้งานผ่านช่องทางโมบายได้ก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนี้ ใครที่ไม่ปรับตัว รวมถึงคอนเทนต์ไม่ดึงดูดพอ โอกาสที่จะเดินหน้าต่อไปก็ลำบาก"



________________________________


เคล็ดวิชา แจ้งเกิดเว็บไซต์ เนื้อหา (ต้อง) โดนใจ-ตอบโจทย์ "โมบาย"


ถึงตอนนี้แม้นักพัฒนารุ่นใหม่จะเบนเข็มไปเป็นสตาร์ตอัพที่ออกแบบแอปพลิเคชั่นให้ผู้บริโภคหรือองค์กรนำไปใช้งานมากขึ้นแต่ธุรกิจดอทคอมแบบดั้งเดิมที่พัฒนาเว็บไซต์ก็ยังคงเติบโตทั้งในแง่การเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ใหม่ๆ และจำนวนคนใช้บริการ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ทำให้การเขียนเว็บไซต์ง่ายขึ้น ไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดที่ยุ่งยากก็สามารถสร้างเว็บหารายได้เลี้ยงชีพได้อย่างมั่นคง สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ร่วมกับ บมจ.ซีพี ออลล์ และไป่ตู้ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ก้าวสู่วิชาชีพ เว็บมาสเตอร์" ครั้งที่ 13 ตอน Digital Revolution

"อภิศิลป์ ตรุงกานนท์" นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีเว็บไซต์ "พันทิป ดอตคอม" กล่าวว่า ปี 2559 นี้จะมีเว็บไซต์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจำนวนมากจนไม่สามารถคาดตัวเลขได้ ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปี แม้จะมีกระแสการใช้แอปพลิเคชั่น หรือการพัฒนาระบบไอทีด้านอื่นมากขึ้น แต่ไม่สามารถหยุดการเกิดเติบโตของเว็บไซต์ได้ เพราะเว็บไซต์เป็นช่องทางกลุ่มแรกที่ผู้บริโภคจะเข้าไปใช้ หลังเริ่มต้นเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทดีไวซ์ต่าง ๆ

การที่เว็บไซต์จะประสบความสำเร็จได้ต้องยึดหลักการเดิม คือ 5W 1H (Who, What, When, Where, Why และ How) ต้องตอบให้ได้ว่าเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร และผู้บริโภคหรือองค์กรกลุ่มไหนจะเข้ามาใช้งาน และที่สำคัญต้องมีแผนธุรกิจในการสร้างรายได้ เช่น ขายพื้นที่โฆษณา, การเก็บค่าสมาชิก, คิดเปอร์เซ็นต์จากมูลค่าเงินที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ หรือขอทุนจากภาครัฐ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เป็นต้น

เนื้อหาเว็บไซต์ก็มีความสำคัญมาก เช่นกันกับการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคโมบายเฟิร์ส

"ธุรกิจดอตคอมยังน่าสนใจเพราะเริ่มต้นง่ายปีนี้คงมีเว็บไซต์เกิดใหม่เยอะปีที่แล้วเว็บClickBait หรือเว็บที่นำพาดหัวมาล่อให้คนเข้าไปอ่าน และสร้างรายได้โฆษณาน่าพอใจ แต่คอนเทนต์ไม่ดี สุดท้ายผู้บริโภคก็ไม่เข้าไป ปีนี้คาดว่า เว็บพวกนี้ก็ยังอยู่ แต่เฟซบุ๊กน่าจะออกโซลูชั่นที่กันไม่ให้เว็บกลุ่มนี้มาแสดงบนหน้าฟีด เพราะ Click Bait อาศัยเฟซบุ๊กเป็นช่องทางเรียกคนเข้าเว็บ"

รูปแบบเว็บไซต์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากในปี 2559 คือ Problem Solving หรือเว็บที่ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งเริ่มมีให้เห็นในปีที่ผ่านมา เช่น เว็บไซต์ Pollios.com เป็นระบบโหวต 2 ผลลัพธ์แบบเรียลไทม์เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และรูปแบบอื่นที่มีคอนเซ็ปต์ใกล้เคียงกัน คือ เป็นตัวกลางจับคู่ดีมานด์กับซัพพลาย เช่น Fastwork.co เว็บไซต์รวมฟรีแลนซ์ หรือเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Sharing Economy เช่น Airbnb.com เว็บให้เช่าที่พักอาศัย และเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเรื่องต่าง ๆ เช่น Wongnai.com เว็บรวมร้านอาหาร เป็นต้น



อย่างไรก็ตาม ยุคที่ผู้บริโภคใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทดีไวซ์ ทำให้การออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงเนื้อหาต้องตอบโจทย์การใช้งานบนสมาร์ทโฟน และแท็บเลต เช่น ให้เว็บไซต์แสดงผลบนโมบายไซต์ได้โดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพในการใช้บนเดสก์ทอป ส่วนเนื้อหาต้องถูกใจเมื่อรับชม หรืออ่านทันที ถ้าทำทั้งหมดนี้ได้ โอกาสที่ยอดผู้ใช้งานเว็บไซต์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็มีสูง และต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ตามที่กำหนดไว้

"ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ" ที่ปรึกษาสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และที่ปรึกษาด้านกฎหมายกล่าวว่า ธุรกิจเว็บไซต์ในประเทศไทยยังมีการเติบโต สังเกตจากมูลค่าเว็บไซต์อันดับต้น ๆ เช่น Sanook.com และ Kapook.com มีมูลค่า 600-700 ล้านบาท จากการประเมินของนักธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นถึงเว็บไซต์จะเก่า แต่ถ้ามีคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ก็จะมีผู้ใช้งานมาก ดังนั้นคอนเทนต์จึงเป็นจุดสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ให้มีผู้ใช้งานอย่างยั่งยืน

ในช่วงแรกของการสร้างเว็บไซต์ใหม่สิ่งที่ยากที่สุดคือการสร้างคอนเทนต์ให้ติดตลาดจึงมีโอกาสที่เว็บไซต์จะใช้วิธีนำคอนเทนต์ที่มีอยู่บนโลกออนไลน์มาใช้ และถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะมีกฎหมายที่เจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องร้องได้รองรับ ดังนั้นผู้พัฒนาเว็บไซต์หน้าใหม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ เพื่อป้องกันการโดนฟ้องร้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยตัวกฎหมายที่ฟ้องร้องได้ประกอบด้วยกฎหมายหมิ่นประมาท และการละเมิด, พ.ร.บ.คอมพ์, เครื่องหมายการค้า และการคุ้มครองผู้บริโภค

"เอาจริง ๆ เว็บไซต์เกือบทั้งหมดละเมิดลิขสิทธิ์ มีเพียงข่าวประจำวันที่เป็นตัวเนื้อข่าว กับคำพิพากษาจากศาลฎีกาเท่านั้นที่ไม่มีลิขสิทธิ์ และลิขสิทธิ์ของเนื้อหาแต่ละอันก็ครอบคลุมตลอดชีวิตผู้เป็นเจ้าของ และเพิ่มไปอีก 50 ปี ดังนั้นผู้ที่ละเมิดโดนฟ้องร้องได้ทันที แต่ถ้าเจ้าของเว็บไซต์สร้างขึ้นมาเพื่อไม่แสวงหากำไรก็ไม่เป็นไร สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ เวลานำไปใช้ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และไม่ดัดแปลง เพื่อป้องกันการผิด พ.ร.บ.คอมพ์ เรื่องการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ เพราะผิดจริง ก็ยังอ้างได้ว่าไม่รู้ และนำมาจากแหล่งอ้างอิง"

"โศรดา ศรประสิทธิ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน จำกัด ดิจิทัลเอเจนซี่ เสริมว่า การเชื่อมต่อของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะทำผ่านช่องทางโมบายมากถึง 66% ซึ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็ว และในไม่ช้าจะไปไกลกว่าการเข้าผ่านคอมพิวเตอร์มาก การออกแบบเว็บจึงต้องอิงไปที่การใช้ผ่านสมาร์ทดีไวซ์หรือเรียกว่า เป็นการเปลี่ยนแนวคิดเป็นโมบายเวอร์ชัวไลเซชั่น

"ในมุมดิจิทัลเอเจนซี่ เว็บไซต์เกิดขึ้นทุกวัน ถ้าใครตอบโจทย์การใช้งานผ่านช่องทางโมบายได้ก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนี้ ใครที่ไม่ปรับตัว รวมถึงคอนเทนต์ไม่ดึงดูดพอ โอกาสที่จะเดินหน้าต่อไปก็ลำบาก"

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453105968

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.