Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 AIS ชี้ หากที่สุดยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ จะมีทางออกอย่างไร เขาตอบว่า เอไอเอสมีทางออกในการทำธุรกิจเสมอ หากร่วมมือกับ TOT ไม่สำเร็จ ก็มีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่นานก็น่าจะมีการนำเอาคลื่นใหม่ๆทั้งคลื่น 2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ออกมาประมูล

ประเด็นหลัก


เมื่อถูกถามว่า ด้วยความปรารถนาดีและความพยายามทั้งหมดของเอไอเอส หากที่สุดยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ จะมีทางออกอย่างไร เขาตอบว่า เอไอเอสมีทางออกในการทำธุรกิจเสมอ หากร่วมมือกับทีโอทีไม่สำเร็จ ก็มีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่นานก็น่าจะมีการนำเอาคลื่นใหม่ๆทั้งคลื่น 2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ออกมาประมูล








_____________________________________________________




ถามหาความกล้าหาญ “ทีโอที” เอไอเอสเข็นเซ็นสัญญาธุรกิจกันเสียที

“เอไอเอส” ค้นใจ“ทีโอที” เรียกหาความกล้าหาญ ปิดจ็อบเซ็นสัญญาร่วมธุรกิจที่ยืดเยื้อมากว่า 2 ปีให้เสร็จเสียที ปฏิเสธเตะสกัดคู่แข่ง หลังพลาดประมูลคลื่น 900 และอาจเสียฐานลูกค้า 2 จีไป ยืนยันสัญญาเป็นลักษณะวิน–วิน ได้ประโยชน์ทั้งคู่จึงต้องผลักดันให้จบเสียที

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ เอไอเอสยังคาดหวังว่าสัญญาการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างเอไอเอสและบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) จะสำเร็จลุล่วงได้ภายในเดือน มี.ค.นี้ เพราะกระบวนการดังกล่าวใช้เวลายาวนานมากว่า 2 ปีแล้ว ก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ “ก่อนประมูลใบอนุญาต 4 จี คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ได้สำเร็จ เอไอเอสอยากเป็นพันธมิตรกับทีโอทีมากเพียงไร หลังประมูลได้คลื่นมาแล้ว ก็ยังเหมือนเดิม”

เขาบอกว่า ข้อเสนอล่าสุดในการทำสัญญาธุรกิจระหว่างเอไอเอสและทีโอที ประกอบด้วย 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1. สัญญาเช่าใช้คลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ของทีโอทีจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ ระยะเวลา 10 ปี ซึ่งเอไอเอสเสนอผลตอบแทนปีละ 3,900 ล้านบาท และมีสิทธิใช้งาน 80% ของเครือข่ายทั้งหมด อีก 20% ทีโอทีสามารถนำไปหารายได้เพิ่มเติม


2. แผนความร่วมมือในการบริหารจัดการเสาสัญญาณมือถือ 13,800 ต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในข้อพิพาทระหว่างกันว่ากรรมสิทธิ์ของเสาจะเป็นของใคร ซึ่งความตั้งใจของเอไอเอสคือการตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) บริหารเสาสัญญาณร่วมกัน แต่สิ่งที่ทีโอทีเป็นห่วงในขณะนี้คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนต้องใช้เวลาระยะหนึ่งตามเงื่อนไขรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ทีโอทีกำลังต้องการรายได้มาเลี้ยงตน ซึ่งเอไอเอสก็เข้าใจ ล่าสุดจึงตกลงที่จะจ่ายค่าเช่าเสาให้กับทีโอที ในอัตราปีละ 3,600 ล้านบาท ซึ่งในทางปฏิบัติถือว่ายอมรับว่าเสาเป็นของทีโอที แต่การจ่ายเงินต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าแผนความร่วมมือเรื่องเสา จะต้องนำไปสู่การตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างกัน และในอนาคต เอไอเอสมีแผนจะนำเสาของเอไอเอสอีกจำนวน 14,000 ต้น เข้ามารวมในบริษัทร่วมทุนแห่งนี้ด้วย

3. ข้อตกลงว่าด้วยการเช่าใช้อุปกรณ์ 2 จีของทีโอที ซึ่งเอไอเอสได้ส่งมอบอุปกรณ์ไปแล้วตามเงื่อนไขสัมปทานเดิม โดยเอไอเอสเสนอผลตอบแทนอีกปีละ 2,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี

“โดยสรุปผลตอบแทนที่เอไอเอสเสนอไปนั้น ทำเงินให้ทีโอทีปีละ 9,500 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ของทีโอทีได้ ถือเป็นทางออกในระยะยาว การที่ทีโอทีไม่รีบดำเนินการ ปล่อยเวลายืดเยื้อมานาน นับว่าเสียโอกาสมากพอแล้ว การเป็นพันธมิตรกับเอไอเอส เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว”

“แม้ความร่วมมือระหว่างกันต้องติดขัดกับระเบียบ ข้อกฎหมายของรัฐวิสาหกิจมากมายเพียงใด แต่ผมคิดว่าเราผ่านอุปสรรคเหล่านั้นมาหมดแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงความกล้าหาญในการเดินทางทำโครงการความร่วมมือให้สำเร็จ จากการพูดคุยกับพนักงานทีโอทีในทุกระดับ ผมยืนยันว่าทุกฝ่ายต้องการร่วมธุรกิจกับเอไอเอสต่อไป เพื่อความอยู่รอด เพื่อนำรายได้มาหล่อเลี้ยงองค์กร แต่ที่ทีโอทียังขาดคือความกล้าหาญในการตัดสินใจ ซึ่งน่าจะถึงเวลาแล้ว”

เมื่อถูกถามว่า ด้วยความปรารถนาดีและความพยายามทั้งหมดของเอไอเอส หากที่สุดยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ จะมีทางออกอย่างไร เขาตอบว่า เอไอเอสมีทางออกในการทำธุรกิจเสมอ หากร่วมมือกับทีโอทีไม่สำเร็จ ก็มีทางเลือกอื่นๆ อีกไม่นานก็น่าจะมีการนำเอาคลื่นใหม่ๆทั้งคลื่น 2300 และ 2600 เมกะเฮิรตซ์ออกมาประมูล

“ล่าสุดที่เอไอเอสพลาดประมูลใบอนุญาต 4 จี บนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นเดิมของเอไอเอสที่ให้บริการ 2 จีอยู่ แต่เราก็เร่งแก้ปัญหาเต็มที่ นอกจากการเร่งเปลี่ยนมือถือให้ลูกค้าใหม่ เพื่อให้ใช้บริการได้ต่อเนื่อง รวมทั้งทุ่มลงทุนยกระดับโครงข่ายให้ดีขึ้น เพื่อรองรับลูกค้าที่จะย้ายมาจาก 2 จีที่ยังมีใช้บริการอยู่ 12 ล้านเลขหมายแล้ว เรายังเพิ่งบรรลุข้อตกลงโรมมิ่ง 2 จีบนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ของดีแทคด้วย ซึ่งจะช่วยรองรับลูกค้าที่ยังไม่เปลี่ยนเครื่อง เปลี่ยนซิม ให้ใช้บริการต่อได้ และนี่เป็นข้อพิสูจน์ว่าเราพยายามหาทางรอดให้ธุรกิจเสมอ”

แต่แม้เชื่อว่าจะมีทางออกเสมอ เขายังยืนยันว่าความร่วมมือกับทีโอที เป็นสิ่งที่เอไอเอสต้องการ เพราะได้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่ทีโอทีมี อย่างการเช่าอุปกรณ์ 2 จีของทีโอทีต่อ แม้เอไอเอสกำลังพยายามยุติการให้บริการ 2 จีอยู่ก็ตาม แต่อุปกรณ์ เช่น ไฟเบอร์ออพติก ทรานสมิทชั่น ก็เป็นประโยชน์ต่อเอไอเอสในการบริหารโครงข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อการให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสาย ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของเอไอเอส

เมื่อถูกถามว่า ความพยายามผลักดันการเซ็นสัญญาให้สำเร็จ ถือเป็นการสกัดคู่แข่งที่เพิ่งประมูลคลื่นความถี่ 900 ได้และกำลังเข้ามาแย่งฐานลูกค้า 2 จีหรือไม่ เขายืนยันคำตอบเดิมว่า ความร่วมมือกับทีโอทีถือเป็นข้อเสนอแบบ Win-Win คือได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เอไอเอสออกมาผลักดันในเรื่องนี้อย่างจริงจัง.

http://www.thairath.co.th/content/574167

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.