Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 CAT จับมือ กสทช. แก้ปัญหาการเปลี่ยนผ่านการให้บริการจากระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลได้ง่ายขึ้น ใช้เงินลงทุนถึงหลักล้านบาท แต่หากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนลดลงเหลือเพียงรายละ 50,000 บาท ด้วยการใช้ไฟเบอร์ ออปติก ของ กสท โทรคมนาคม

ประเด็นหลัก


19 ม.ค.59 นายมานพ โตการค้า ประธาน ชมรมโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวีไทยแลนด์ (CABSAT) กล่าวว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น(LCO) ทั่วประเทศให้เปลี่ยนผ่านการให้บริการสัญญาณเคเบิ้ลทีวีระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง จึงได้ลงนามร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดตัว โครงการ 3 ประสาน ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้ประสานงานให้โครงการเกิดขึ้น

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเพื่อต้องการแก้ปัญหาการเปลี่ยนผ่านการให้บริการจากระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่มีผู้ประกอบการรายกลางและเล็กประมาณ 200 ราย ไม่สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดังกล่าวได้ เนื่องจากติดปัญหาด้านการลงทุนในการสร้างสถานีรับส่งสัญญาณดิจิตอลที่ต้องใช้เงินลงทุนถึงหลักล้านบาท แต่หากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนลดลงเหลือเพียงรายละ 50,000 บาท ด้วยการใช้ไฟเบอร์ ออปติก ของ กสท โทรคมนาคม ในการเชื่อมสถานีส่งสัญญาณ ของ LCO เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ LCO ที่ยังไม่มีความพร้อมในการให้บริการระบบดิจิตอลสามารถใช้โครงข่ายไฟเบอร์ เพื่อเชื่อมสัญญาณและเปิดให้บริการให้บริการสัญญาณเคเบิลทีวีในระบบดิจิตอลได้ทันที




________________________________




19 ม.ค.59 นายมานพ โตการค้า ประธาน ชมรมโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวีไทยแลนด์ (CABSAT) กล่าวว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบกิจการเคเบิลท้องถิ่น(LCO) ทั่วประเทศให้เปลี่ยนผ่านการให้บริการสัญญาณเคเบิ้ลทีวีระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง จึงได้ลงนามร่วมกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดตัว โครงการ 3 ประสาน ซึ่งมีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้ประสานงานให้โครงการเกิดขึ้น

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเพื่อต้องการแก้ปัญหาการเปลี่ยนผ่านการให้บริการจากระบบอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลได้ง่ายขึ้น จากเดิมที่มีผู้ประกอบการรายกลางและเล็กประมาณ 200 ราย ไม่สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดังกล่าวได้ เนื่องจากติดปัญหาด้านการลงทุนในการสร้างสถานีรับส่งสัญญาณดิจิตอลที่ต้องใช้เงินลงทุนถึงหลักล้านบาท แต่หากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนลดลงเหลือเพียงรายละ 50,000 บาท ด้วยการใช้ไฟเบอร์ ออปติก ของ กสท โทรคมนาคม ในการเชื่อมสถานีส่งสัญญาณ ของ LCO เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ LCO ที่ยังไม่มีความพร้อมในการให้บริการระบบดิจิตอลสามารถใช้โครงข่ายไฟเบอร์ เพื่อเชื่อมสัญญาณและเปิดให้บริการให้บริการสัญญาณเคเบิลทีวีในระบบดิจิตอลได้ทันที

สำหรับการเริ่มโครงการจากนี้ จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อหาข้อสรุปกับ LCO ว่า จะจับกลุ่มรวมตัวกันได้อย่างไร เพื่อให้ผู้ประกอบการหลายๆ รายรวมตัวกันในการใช้สถานีรับส่งสัญญาณดิจิตอลร่วมกันบ้าง และพื้นที่ใดที่ไฟเบอร์ออปติกของ กสท โทรคมนาคม เข้าถึงบ้าง โดยจะเน้นทำเฉพาะพื้นที่ที่ กสท โทรคมนาคม มีไฟเบอร์ออปติกอยู่แล้ว เพราะโครงการนี้ ไม่ได้เป็นโครงการที่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่เป็นเหมือนโครงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน จากนั้น จะเริ่มทำโครงการที่ละเฟส โดยเฟสแรกจะเริ่มที่ภาคอีสานก่อน เพราะเป็นภาคที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดประมาณ 100 ราย

นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ กสท โทรคมนาคม และ LCO สามารถหารายได้เพิ่มเติมจากการเปิดให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กับสมาชิกควบคู่ไปกับการให้บริการเคเบิ้ลทีวีได้อีกด้วย ขณะเดียวกัน CABSAT ซึ่งมีสมาชิกเป็น LCO ที่มีโครงข่าย สายเคเบิ้ลทีวีเป็นของตนเองกระจายอยู่ตามจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านทั่วประเทศ สามารถส่งเสริมการต่อยอดธุรกิจของ กสท โทรคมนาคม ซึ่งต้องการขยายฐานผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรวมถึงบริการอื่นๆ เข้าถึงผู้ใช้ในครัวเรือนทั่วประเทศผ่านโครงข่าย ลาสไมล์ ของ LCO ได้อย่างกว้างขวาง โดยการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตของ กสท โทรคมนาคม จะมีความร่วมมือสนับสนุนจาก LCO ในด้านการตลาดและการติดตั้ง รวมถึงการสนับสนุนบริการหลังการขาย

"หากผู้ประกอบการแต่ละรายลงทุนเอง ก็จะมีสถานีถึง 200 สถานี แต่หากรวมตัวกันก็จะช่วยลดต้นทุน สถานีก็จะลดลงเหลือไม่ถึง 100 สถานี ก็จะสามารถแข่งขันได้ และโมเดลนี้ เราไม่ได้เพิ่งคิด เราทำเหมือนกับประเทศเกาหลี ใต้หวัน ซึ่งเขาจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ขณะที่ เราเองก็จะช่วย กสท โทรคมนาคม ในการทำการตลาดบริการอินเทอร์เน็ตให้ ถ้าราคาและบริการของเขาสู้กับคนอื่นได้ ยังไงลูกค้าก็ต้องเลือกเขา ที่สำคัญคือ กสท โทรคมนาคม เอง ก็ต้องจัดอบรมเรื่องการติดตั้ง ซ่อมบำรุงอินเตอร์เน็ตให้กับพวกเราด้วยจะได้สะดวกในการให้บริการ" นายมานพ กล่าว

ด้าน นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ คณะกรรมการ กสทช.และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท) กล่าวว่า โครงการนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น มีโอกาสในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอลตามประกาศของ กสทช.ว่าด้วยเรื่องกฎมัสแครี่ คือ เคเบิ้ลทีวีทุกรายต้องนำรายการทีวีดิจิตอลไปเผยแพร่ ซึ่งจากการประชุม กสท เมื่อวันที่ 18 ม.ค.58 กล่าวว่า เคเบิ้ลทีวีรายย่อย ยังมีเวลาเหลืออีกประมาณ 6 เดือน ดังนั้น หากเริ่มโครงการนี้ เชื่อว่าการเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอลจะทำได้ทันตามกำหนด

"โครงการนี้ ช่วยให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งผู้ประกอบการดาวเทียม เคเบิ้ล มีการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันพัฒนากิจการเคเบิ้ลท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น จะทำให้เกิดเป็นโครงข่ายเคเบิ้ลท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค เหมือนที่เกาหลี และไต้หวัน ทำสำเร็จมาแล้ว ในขณะเดียวกันเป็นการสนับสนุนรัฐวิสาหกิจ อย่าง กสท โทรคมนาคม ให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำซ้อน เป็นการเพิ่มศักยภาพภาพการแข่งขันในตลาด ของ กสท.โทรคมนาคมด้วย" นายธวัชชัย กล่าว

ด้าน พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการบริษัท และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า กสท โทรคมนาคม มีไฟเบอร์ออปติกทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงผู้ประกอบการดาวเทียม และเคเบิ้ลได้อย่างครอบคลุม ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการได้ใช้ไฟเบอร์ออปติกของกสท สามารถปรับการให้บริการแบบดิจิตอลได้ทันที และทำให้กสท ได้ลูกค้าอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากสมาชิกคู่ไปกับการให้บริการเคเบิ้ลทีวี ด้วย

http://www.naewna.com/business/198329

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.