Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 Grab ได้ประกาศปรับโฉม (รีแบรนด์ดิ้ง) เป็นแกร็บ เพื่อสร้างมิติใหม่ในการให้บริการด้วยความทันสมัย และสามารถรองรับความต้องการใช้งานได้มากขึ้น พร้อมทั้งเปิดให้อัพเดตแอพพลิเคชั่นแล้ว

ประเด็นหลัก

หลังจากประเทศไทยเริ่มมีบริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น...แกร็บแท็กซี่ ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรกๆ ด้วยระยะเวลาราว 2 ปีในไทย ทำให้รูปแบบความสะดวกสบายในการเรียกใช้งานแท็กซี่เช่นนี้ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ล่าสุด แกร็บแท็กซี่ ได้ประกาศปรับโฉม (รีแบรนด์ดิ้ง) เป็นแกร็บ เพื่อสร้างมิติใหม่ในการให้บริการด้วยความทันสมัย และสามารถรองรับความต้องการใช้งานได้มากขึ้น พร้อมทั้งเปิดให้อัพเดตแอพพลิเคชั่นแล้ว


"ภายใต้โฉมใหม่ของแกร็บจะสื่อถึงความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย และความปลอดภัย ซึ่งมาพร้อมกับภาพลักษณ์ในการเป็นชุมชนระบบขนส่งสาธารณะ" นายแอนโทนี่ ตัน ประธานกลุ่มบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ เปิดเผยและกล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นในการคิดค้นบริการแกร็บแท็กซี่ เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจรและความไม่ปลอดภัยของการเดินทางในประเทศมาเลเซีย จากนั้นจึงได้ขยายสู่การให้บริการอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ส่วนจุดเด่นของการเป็นชุมชนระบบขนส่งสาธารณะของแกร็บ คือ การที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ ทั้งจากแกร็บคาร์ แกร็บแท็กซี่ แกร็บไบค์ เป็นต้น





________________________________


จากนี้ให้เรียก 'แกร็บ' ห้ามพลาด 10 เรื่องแอพฯ เรียกรถ ทางเลือกคนสัญจร!

"แกร็บแท็กซี่" (Grabtaxi) ประกาศพลิกโฉมแบรนด์ใหม่เป็น "แกร็บ" (Grab) หลังให้บริการในไทยราว 2 ปี พร้อมตั้งเป้าสู่การเป็นระบบขนส่งสาธารณะระดับโลกที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ท้องถิ่นได้...

หลังจากประเทศไทยเริ่มมีบริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น...แกร็บแท็กซี่ ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรกๆ ด้วยระยะเวลาราว 2 ปีในไทย ทำให้รูปแบบความสะดวกสบายในการเรียกใช้งานแท็กซี่เช่นนี้ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ล่าสุด แกร็บแท็กซี่ ได้ประกาศปรับโฉม (รีแบรนด์ดิ้ง) เป็นแกร็บ เพื่อสร้างมิติใหม่ในการให้บริการด้วยความทันสมัย และสามารถรองรับความต้องการใช้งานได้มากขึ้น พร้อมทั้งเปิดให้อัพเดตแอพพลิเคชั่นแล้ว

"ภายใต้โฉมใหม่ของแกร็บจะสื่อถึงความรวดเร็ว ความสะดวกสบาย และความปลอดภัย ซึ่งมาพร้อมกับภาพลักษณ์ในการเป็นชุมชนระบบขนส่งสาธารณะ" นายแอนโทนี่ ตัน ประธานกลุ่มบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ เปิดเผยและกล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นในการคิดค้นบริการแกร็บแท็กซี่ เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจรและความไม่ปลอดภัยของการเดินทางในประเทศมาเลเซีย จากนั้นจึงได้ขยายสู่การให้บริการอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ส่วนจุดเด่นของการเป็นชุมชนระบบขนส่งสาธารณะของแกร็บ คือ การที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างหลากหลายตามความต้องการ ทั้งจากแกร็บคาร์ แกร็บแท็กซี่ แกร็บไบค์ เป็นต้น

นายแอนโทนี่ กล่าวอีกว่า แกร็บตั้งเป้าสู่การเป็นนวัตกรรมระดับโลกที่เหมาะสมกับการใช้งานในท้องถิ่น ส่วนการเติบโตในปีนี้ คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ในระดับเดียวกับที่ผ่านมาหรือประมาณ 10 เท่าตัวทั้งด้านผู้ใช้งานและผู้ขับ สำหรับประเทศไทย แกร็บแท็กซี่เป็นบริการที่มีผู้ใช้งานสูงเป็นอันดับ 1 ซึ่งสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรถแท็กซี่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ส่วนบริการที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ แกร็บคาร์ และแกร็บไบค์


ตัน ฮุย ลิง (ซ้าย) และแอนโทนี่ ตัน (ขวา) 2 ผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการประกาศปรับโฉมแบรนด์ใหม่แล้ว แต่เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่เคยทำความรู้จักกับผู้ให้บริการรายนี้มากนัก "ไทยรัฐออนไลน์" จึงอาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จักแบบเจาะลึกกับ 10 ข้อ "แกร็บ" บริการชุมชนระบบขนส่งสาธารณะ หลังจากประกาศปรับแบรนด์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 พร้อมกันทั้ง 6 ประเทศ...

1. แกร็บ เปิดให้บริการใน 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย รวม 28 เมือง ซึ่งในประเทศไทยมีให้บริการในกรุงเทพฯ พัทยา เชียงราย ภูเก็ต

2. ปัจจุบันมีผู้เรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นแกร็บ เฉลี่ยวันละ 1.5 ล้านครั้ง และมียอดดาวน์โหลดแอพฯ ทั้งหมด 11 ล้านครั้ง

3. พนักงานขับรถประเภทต่างๆ ของแกร็บมีจำนวนรวมกว่า 200,000 คน จากบริการต่างๆ อาทิ แกร็บแท็กซี่, แกร็บไบค์, แกร็บคาร์ อีโค, แกร็บคาร์ พรีเมียม, แกร็บ เอ็กซ์แอล เป็นต้น

4. บริการล่าสุดที่แกร็บกำลังจะเปิดให้บริการ คือ แกร็บฮิทช์ (GrabHitch) บริการทางเดียวกันไปด้วยกัน, แกร็บเอ็กซ์เพรส (GrabExpress) บริการส่งสินค้าเพื่อรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการใช้งานให้สะดวกยิ่งขึ้น อาทิ แฟลช (Flash) เพียงแตะปุ่มเดียวก็จะสามารถค้นหารถแกร็บแท็กซี่และแกร็บคาร์ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว, แกร็บเพย์ (GrabPay) รองรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต, แกร็บเวิร์ค (GrabWork) สะดวกสำหรับผู้ใช้งานที่มีการเดินทางส่วนตัวและการทำงาน ซึ่งต้องการแยกรายละเอียดการเดินทางให้พร้อมเบิกค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น


ให้บริการภายใต้แนวคิด...ชุมชนขนส่งสาธารณะ

5. ฟีเจอร์แฟลช เปิดให้บริการแล้วในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยจะเปิดตัวในประเทศไทยภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ส่วนแกร็บเพย์คาดว่าจะเปิดให้บริการในไทยและเวียดนามได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เช่นกัน ขณะที่แกร็บเวิร์คและแกร็บเอ็กซ์เพรส พร้อมเปิดให้บริการแล้วในประเทศไทย

6. เป้าหมายหลังจากเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ แกร็บตั้งเป้าสู่การเป็นผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังต้องการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการใช้งาน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนดังกล่าวให้กับผู้ใช้บริการ ผู้ขับขี่ รวมถึงพาร์ตเนอร์

7. อย่างที่บอกไปแล้วว่า แกร็บ ถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการแก้ปัญหาการเดินทางในท้องถิ่น แต่ด้วยโมเดลที่น่าสนใจและสามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี จึงมีการขยายบริการไปสู่ประเทศอื่นๆ ภายใต้เป้าหมายในการมอบความปลอดภัยให้ผู้ใช้บริการ รวมไปถึงพนักงานขับรถของแกร็บทุกประเภท

8. บริการของแกร็บยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยแกร็บคาร์มีอัตราการเติบโตราว 35% ต่อเดือน แกร็บไบค์ 75% ต่อเดือน

9. แกร็บยืนยันว่าจะไม่ระดมทุนเพิ่ม แต่ยินดีเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนที่สนใจ โดยที่ผ่านมาแกร็บมีงบประมาณจากการระดมทุนแล้วกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 25,000 ล้านบาท) ซึ่งจะยังขยายบริการให้ครอบคลุมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด

10. เทคโนโลยีที่แกร็บใช้เพื่อการให้บริการ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบบิ๊กดาต้า โดยใช้งบในการวิจัยและพัฒนาราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 3,600 ล้านบาท) โดยปัจจุบันมีศูนย์วิจัยและพัฒนา 3 แห่ง สิงคโปร์, ซีแอตเติล, ปักกิ่ง ขณะเดียวกันก็ใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ของอะเมซอนในการจัดเก็บข้อมูลด้วย

ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับการเดินทางในยุคดิจิตอล...!




http://www.thairath.co.th/content/569464

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.