Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2559 MONO จ่ายค่าประมูลทีวีดิจิ ทัลงวดที่ 3 บริษัทพร้อมจ่ายตามเวลาที่ กสทช.กำหนดแสดงจุดยืนว่า มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจนี้ต่อ ประกอบกับปัจจุบันช่องโมโน 29มีเรตติ้งอันดับ 5 ของช่องทีวีดิจิทัล

ประเด็นหลัก

"โมโน" พร้อมจ่ายงวดที่ 3

ส่วนนายนวมิ นทร์ ประสพเนตร ผู้ช่วยประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่องโมโน 29 กล่าวว่าหาก กสทช.มีมติให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลคืนไลเซนส์ได้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ที่เป็นธรรม ทั้งผู้ประกอบธุรกิจและ กสทช. อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้คืนใบอนุญาตจริงก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน หรืองบฯโฆษณา เพราะช่องที่คืนใบอนุญาตอาจไม่ได้เป็นช่องที่มีงบฯโฆษณากระจายเข้าไป ไม่ได้เรตติ้ง เนื่องจากคอนเทนต์ไม่น่าสนใจ และสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือจำนวนผู้เล่นและช่องทีวีดิจิทัลลดลง

"การจ่ายค่าประมูลทีวีดิจิ ทัลงวดที่ 3 บริษัทพร้อมจ่ายตามเวลาที่ กสทช.กำหนดแสดงจุดยืนว่า มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจนี้ต่อ ประกอบกับปัจจุบันช่องโมโน 29มีเรตติ้งอันดับ 5 ของช่องทีวีดิจิทัล"


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิทัลรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง ในส่วนงบฯโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัลในปีนี้เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีเดียเอเยนซี่และสินค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น ทำให้งบฯโฆษณาจากเดิมที่จะกระจายไปหลาย ๆ ช่อง จากการทดลองตลาดของมีเดียเอเยนซี่และสินค้ากลับมากระจุกตัวอยู่เฉพาะช่องที่ มีเรตติ้ง 1 ใน 10 ของทีวีดิจิทัล หรือช่องที่มีแคแร็กเตอร์และกลุ่มผู้ชมที่ชัดเจนเท่านั้น









_____________________________________________________




รุมค้านใช้ม.44-คืนไลเซนส์ทีวี หวั่นกระทบประมูลรัฐทั้งระบบ



นักวิชาการรุมค้านไอเดีย ชง "คสช."ไฟเขียวคืน "ไลเซนส์ทีวีดิจิทัล" ชี้รัฐเสียประโยชน์ กระทบประมูลงานภาครัฐทั้งระบบ ย้ำไม่อยู่ในอำนาจ "กสทช." ต้องให้ศาลตัดสิน แนะหาช่องใช้เงินกองทุน กสทช. อุดหนุนสร้างระบบเรตติ้ง-พัฒนาคอนเทนต์ ช่องโมโน 29 ระบุต้องเป็นธรรมกับรายอื่น โชว์ฟอร์มเหนือพร้อมจ่ายเงินงวด 3

นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ได้เตรียมนำข้อเสนอของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล 24 ช่องที่ได้จากการประชุมร่วมกัน 3 ครั้ง โดยในการประชุมครั้งสุดท้าย (3 ก.พ. 2559) มีผู้ประกอบการบางรายเสนอให้สามารถคืนใบอนุญาตประกอบกิจการได้ โดยไม่ต้องจ่ายเงินประมูลส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าอำนาจของ กสทช. จึงจะรวบรวมเข้าบอร์ด กสทช. (10 ก.พ.) ก่อนทำหนังสือให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาออกคำสั่งพิเศษต่อไป

เสนอบอร์ด กสทช 10 ก.พ.นี้

"บางช่องขาดทุนจนอยู่ไม่ไหว อยู่ไปก็ตาย จึงขอคืนไลเซนส์ แต่ขอไม่จ่ายเงินค่าประมูลส่วนที่เหลือ เพราะตามกฎการประมูล ถ้าจะคืนช่องต้องจ่ายเงินงวดที่เหลือให้ครบ เท่ากับตอนนี้จะตายอยู่แล้ว แต่ กสทช.มาดึงไม่ให้ตาย ต้องรวบรวม ส่งให้คสช.ปลดล็อกให้ รวมถึงการแจกคูปองส่วนลดให้ประชาชนเพิ่มด้วย แต่คสช.จะช่วยหรือไม่ช่วยแค่ไหน ก็แล้วพิจารณา"

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนออื่น ๆ ที่อยู่ในอำนาจของ กสทช. จะดำเนินการให้ทันทีเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ เช่น การลดอัตราเงินสมทบที่เอกชนเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กสทช. และให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำช่องสัญญาณทีวีดิจิทัลทั้งหมดไปแพร่ภาพบนทีวี แพลตฟอร์มอื่นตามกฎมัสต์แครี่ เป็นต้น

ค้าน : ผลประโยชน์รัฐต้องมาก่อน

ด้าน แหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ตัวแทนหน่วยงานรัฐที่เข้าประชุมไม่เห็นด้วยกับการเยียวยาที่กระทบผลประโยชน์ รัฐเหมือนที่เคยได้ทำหนังสือตอบข้อซักถามของ กสทช.เมื่อ เม.ย. 2558 ว่า การเลื่อนเวลาจ่ายเงินประมูลขัดเงื่อนไขที่ กสทช.ประกาศไว้ หากแก้ไขได้จะเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย

ขณะที่นายมานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการเปลี่ยนผ่านตาม แผนงานของ กสทช. จึงจำเป็นต้องได้รับการเยียวยา แต่ต้องไม่กระทบผลประโยชน์รัฐ

"ถ้าจะเสนอให้ คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ให้คืนไลเซนส์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินงวดที่เหลือ น่ากังวลเรื่องผลประโยชน์รัฐบาลเพราะเงินที่สามารถนำไปพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้สูญเสียไป ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ทั้งการใช้ ม.44 บ่อยเกินไป ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ เพราะก่อนการประมูล เอกชนต้องศึกษา และประเมินความเสี่ยงมาแล้วในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นที่คาดการณ์กันทั่วไปว่า ธุรกิจนี้ 5-7 ปีแรกจะต้องขาดทุนแน่"

คืนไลเซนส์ผลกระทบรุงรัง

นอก จากนี้ การเปิดทางให้คืนไลเซนส์ได้จะทำให้มีผลกระทบตามมาอีกมาก เช่น ผู้ที่แพ้การประมูลจะฟ้องร้องได้ว่า มีการแก้กฎที่ทำให้เสียโอกาส หรือแม้แต่คนที่ประกอบกิจการอยู่ก็เสียเปรียบ หากมีการนำช่องที่ได้คืนนำกลับไปประมูลใหม่ เพราะเชื่อว่าราคาน่าจะลดลง เนื่องจากได้เห็นความเป็นจริงของตลาดแล้ว รวมถึงการบริหารจัดการช่องที่คืนกลับมาว่าควรใช้แนวทางใดเพื่อสร้างสมดุล ระหว่างข้อกฎหมาย ผลประโยชน์รัฐ และไม่สร้างความกดดันให้ช่องที่ยังเหลืออยู่มากเกินไป

"แนวทางที่ กสทช.ควรทำคือ การเร่งประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ ดึงคนเข้ามารับชม และแจกคูปองส่วนลดส่วนสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเพิ่ม รวมถึงการนำเงินกองทุนวิจัยและพัฒนาของ กสทช. มาสนับสนุนการสำรวจความนิยมของช่องรายการ (วัดเรตติ้ง) และส่งเสริมการพัฒนาคอนเทนต์ที่มีคุณภาพดึงคนดู อาทิ จ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาอบรมให้ผู้ผลิตรายการหรืออุดหนุนเงินเพื่อ ลดภาระตามกฎมัสต์แครี่"

ไม่เข้าข่าย "บรรเทาความเสียหาย"

นาย ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามหลักของกฎหมายปกครองระบุเหตุที่ภาครัฐต้องบรรเทาความเสียหาย มี 3 ข้อ คือ 1.มาจากเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความผิดใครที่ทำให้เกิดเหตุขึ้น 2.เหตุที่ไม่อาจคาดหมายได้ และ 3.เหตุที่เกิดจากการกระทำผิดของหน่วยงานรัฐ ขณะที่การขาดทุนคือความเสี่ยงทางธุรกิจ จากปัญหาของทีวีดิจิทัล มีส่วนที่เป็นไปได้คือ เกิดจาก กสทช.เป็นผู้ทำให้ผู้ประกอบการต้องขาดทุนหรือมีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีกรณีที่หน่วยงานรัฐตัดสินใจเอง มีแต่ให้ศาลตัดสินใจ ดังนั้นบรรดาข้ออ้างของเอกชนที่ระบุว่าได้รับความเสียหายจากการประเมิน ธุรกิจผิดเพราะ กสทช. ไม่ทำตามแผนหรือทำล่าช้าเป็นเหตุให้ฟ้องร้องได้ แต่ไม่ใช่อำนาจ กสทช.ที่จะตัดสินใจเอง หากฟ้องร้องกันแล้ว สุดท้ายเอกชนยังต้องจ่ายเงินประมูลส่วนที่เหลือแต่ได้รับการเยียวยาทดแทนใน ลักษณะหักกลบลบหนี้กัน แต่ถ้าเป็นกรณีที่ กสทช.มองว่าตนเองทำผิดจึงต้องเยียวยาตาม พ.ร.บ.กสทช. กำหนดให้กรรมการต้องเป็นคนรับผิดชอบ เพราะเงินประมูลถือเป็นเงินรัฐ

"แนว ทางการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล กสทช.ควรหาช่องทางใช้กฎหมายปกติในการแก้ไข ไม่ควรใช้ทางพิเศษอย่าง ม.44 เพราะกระทบการประมูลภาครัฐอื่น ๆ ไม่อย่างนั้นต่อไปการประมูลงานภาครัฐก็ไม่มีผลผูกพันระหว่างหน่วยงานรัฐกับ ผู้เข้าประมูล"

"โมโน" พร้อมจ่ายงวดที่ 3

ส่วนนายนวมิ นทร์ ประสพเนตร ผู้ช่วยประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่องโมโน 29 กล่าวว่าหาก กสทช.มีมติให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลคืนไลเซนส์ได้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ที่เป็นธรรม ทั้งผู้ประกอบธุรกิจและ กสทช. อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้คืนใบอนุญาตจริงก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน หรืองบฯโฆษณา เพราะช่องที่คืนใบอนุญาตอาจไม่ได้เป็นช่องที่มีงบฯโฆษณากระจายเข้าไป ไม่ได้เรตติ้ง เนื่องจากคอนเทนต์ไม่น่าสนใจ และสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือจำนวนผู้เล่นและช่องทีวีดิจิทัลลดลง

"การจ่ายค่าประมูลทีวีดิจิ ทัลงวดที่ 3 บริษัทพร้อมจ่ายตามเวลาที่ กสทช.กำหนดแสดงจุดยืนว่า มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจนี้ต่อ ประกอบกับปัจจุบันช่องโมโน 29มีเรตติ้งอันดับ 5 ของช่องทีวีดิจิทัล"

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิทัลรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง ในส่วนงบฯโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัลในปีนี้เริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีเดียเอเยนซี่และสินค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น ทำให้งบฯโฆษณาจากเดิมที่จะกระจายไปหลาย ๆ ช่อง จากการทดลองตลาดของมีเดียเอเยนซี่และสินค้ากลับมากระจุกตัวอยู่เฉพาะช่องที่ มีเรตติ้ง 1 ใน 10 ของทีวีดิจิทัล หรือช่องที่มีแคแร็กเตอร์และกลุ่มผู้ชมที่ชัดเจนเท่านั้น

ประมูล 24 ช่องแบ่งจ่าย 6 ปี

สำหรับ การประมูล 24 ช่องทีวีดิจิทัล เมื่อ ธ.ค. 2556 สิ้นสุดการประมูลรวมเป็นเงินที่จะต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด 50,862 ล้านบาท สูงกว่าราคาประเมินคลื่นความถี่เบื้องต้นของทุกช่องที่มีมูลค่า 15,190 ล้านบาทถึง 3 เท่าตัวส่วนการชำระเงินค่าประมูล แบ่งเป็นรายปีรวม 6 งวด เริ่มจากงวดแรกก่อนได้รับใบอนุญาต 50% ของราคาตั้งต้นประมูลของแต่ละช่อง รวมกับ 10% ของส่วนเกินราคาตั้งต้นช่อง โดยปีแรก กสทช.ได้รับชำระมาทั้งหมด 11,162 ล้านบาท และได้นำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการสนับสนุนการแจกคูปองส่วนลดมูลค่า 690 บาทให้ประชาชน ขณะที่การจ่ายเงินงวด 2 ต้องจ่าย 30% ของราคาตั้งต้นประมูลของแต่ละช่อง รวมกับ 10% ของส่วนเกินราคาตั้งต้นช่อง รวมเป็นเงิน 8,124 ล้านบาท เมื่อ 25 พ.ค. 2558 แต่ปรากฏว่า บริษัท ไทยทีวีจำกัด เจ้าของช่องไทยทีวี และเอ็มวีทีวีแฟมิลี่ ไม่ชำระเงินงวดนี้รวม 288.472 ล้านบาท พร้อมประกาศขอคืนใบอนุญาตและยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง

ส่วนค่า งวดที่ 3 และ 4 มีมูลค่าเท่ากัน คือ 8,653 ล้านบาท แบ่งเป็น 10% ของราคาตั้งต้นประมูลของแต่ละช่อง รวมกับ 20% ของส่วนเกินราคาตั้งต้นช่อง ส่วนงวดปีที่ 5 และ 6 จะเท่ากันคือมีมูลค่า 7,134 ล้านบาท เหลือเฉพาะ 20% ของส่วนเกินราคาตั้งต้นช่อง

มีรายงานข่าวว่า ขณะนี้มีบางกลุ่มพยายามเคลื่อนไหวผลักดันให้ กสทช.เสนอทางออกในการแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัล โดยให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 เปิดทางให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ประสบปัญหา หรือไม่ต้องการดำเนินธุรกิจต่อไป สามารถขอยุติการดำเนินการได้ โดยไม่ต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องส่งมอบให้รัฐตามเงื่อนไขการประมูล เพราะมองว่าหากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไปอีก นอกจากจะแก้ไขปัญหายากขึ้นแล้วจะยิ่งทำให้ภาคธุรกิจประสบปัญหา

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454905902

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.